การวิจัยสร้างกระบวนการเรียนรู้ร่วมกันลดความขัดแย้งในชุมชน

ดร.พิเชตวุฒิ นิลละออ คณะศิลปศาสตร์และวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์และคณะ  เข้าพัฒนาคุณภาพชีวิตและสร้างความเข้มแข็งให้ชุมชนในเขตพื้นที่ 4 หมู่บ้าน ขององค์การบริหารส่วนตำบลมะขามเตี้ย อำเภอเมือง จังหวัดสุราษฎร์ธานี ซึ่งเป็นที่ตั้งของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตสุราษฎร์ธานี ตามแนวทางพันธกิจสัมพันธ์มหาวิทยาลัยกับสังคม โดยประเด็นสำคัญที่นำมาเป็นโจทย์ ได้แก่
การพัฒนาศักยภาพวิทยากรกระบวนการชุมชน การจัดการความรู้ การจัดการขยะและสิ่งแวดล้อม การพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชนและการส่งเสริมเสริมเศรษฐกิจฐานราก การส่งเสริมคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ เป็นต้น โดย
ได้มีการดำเนินการใน 2 โครงการสำคัญ ได้แก่

การส่งเสริมคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ โดยการพัฒนาระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์บนแผนที่ออนไลน์โดยมีการสร้างเว็บแอพพลิเคชั่นเพื่อการเข้าถึงข้อมูลโดยสามารถดูแผนที่การระบุตำแหน่งและการประเมินคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุได้ มีการพัฒนาระบบติดตามตรวจสอบกิจกรรมเพื่อติดตามและวิเคราะห์พฤติกรรม การใช้ชีวิตประจำวันรวมถึงการดูแลอย่างใกล้ชิด และ พัฒนาโปรแกรมการใช้เวลาว่างเพื่อส่งเสริมคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นโดยผ่านกิจกรรมในรูปแบบต่างๆ

นอกจากนั้น ยังมีโครงการที่อยู่ระหว่างการดำเนินการ คือ โครงการการพัฒนาพื้นที่เกาะกลางบางทะลุ ตำบลมะขามเตี้ย อำเภอเมือง จังหวัดสุราษฎร์ธานี โดยการมีส่วนร่วมของชุมชน เช่น ระบบนิเวศน์บนบกและระบบนิเวศในน้ำ พัฒนาศักยภาพด้านการบริหารจัดการองค์กรชุมชน พัฒนาศักยภาพของผู้นำเยาวชน สร้างระบบการจัดการทรัพยากรของชุมชนเพื่อแก้ปัญหาผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการใช้ประโยชน์
แบบไม่ระมัดระวัง เพื่อพัฒนาเกาะกลางบางทะลุให้เป็นพื้นที่สมัยใหม่ เพื่อประโยชน์ทั้งในการท่องเที่ยว การค้าขาย การออกกำลังกาย และการพักผ่อนหย่อนใจ

อย่างไรก็ตาม เพื่อให้การพัฒนาพื้นที่ดังกล่าวเป็นไปอย่างยั่งยืน ลดปัญหาจากการดัดแปลงหรือทำลายสิ่งแวดล้อมซึ่งจะส่งผลกระทบโดยตรงต่อการพึ่งพาทรัพยากรของชาวบ้านในการดำรงชีวิต
ที่ใช้ประโยชน์จากพื้นที่เกาะกลางบางทะลุที่เป็นแหล่งสมุนไพรรักษาโรคจากภูมิปัญญาชาวบ้าน และแหล่ง
เตยปาหนันใช้สำหรับสานเสื่อ  เพิ่มการมีส่วนร่วมของประชาชน และลดความขัดแย้งระหว่างประชาชน
ผู้ได้รับผลกระทบกับผู้บริหารท้องถิ่น

มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ จึงต้องเข้าสร้างกระบวนการเรียนรู้ที่จะทำให้ผู้นำและประชาชนได้หันมาสนใจเรื่องนี้อย่างจริงจัง ทั้งเรื่องของการเปลี่ยนแปลงสิ่งแวดล้อมอันเนื่องมาจากโครงการพัฒนาต่างๆ และการใช้แบบไม่ระมัดระวังและผลกระทบที่เกิดขึ้นต่อประชาชน ความรู้เกี่ยวกับระบบการจัดการทรัพยากร
ที่ประชาชนจะร่วมกับหน่วยราชการที่เกี่ยวข้อง ผู้นำท้องถิ่น สร้างขึ้นมาเพื่อดูแลทรัพยากรธรรมชาติบนเกาะกลางบางทะลุไม่ให้เสื่อมโทรมมากกว่าที่เป็นอยู่ และสามารถฟื้นฟูในส่วนที่พอจะฟื้นฟูได้ เพื่อให้ประชาชนสามารถพึ่งพาทรัพยากรต่อไปได้อย่างยั่งยืน ซึ่งการเกิดกระบวนการเรียนรู้ร่วมกันดังกล่าวจำเป็นต้องอาศัยกระบวนการวิจัยเข้ามาดำเนินการ