ข่าวปลอม-ข่าวลวง (Fake News) แม้จะไม่ใช่ปัญหาใหม่ เพราะมีมาตั้งแต่มนุษย์เริ่มอยู่กันเป็นสังคมและสื่อสารระหว่างกัน แต่ด้วยเทคโนโลยีที่ก้าวหน้า อินเทอร์เน็ต-สื่อสังคมออนไลน์ ทำให้ปัญหาดังกล่าวทวีความรุนแรงขึ้นและส่งผลกระทบในหลายด้าน โดยเฉพาะประเด็นสุขภาพ เช่น การโฆษณาชวนเชื่อหลอกขายเครื่องสำอาง ยาและอาหารเสริม อวดอ้างสรรพคุณวิเสษสารพัดอย่าง ยิ่งปัจจุบันที่โลกเผชิญวิกฤต "โควิด-19"ข่าวปลอมก็ยิ่งเพิ่มจำนวนและทวีความซับซ้อนมากขึ้น ตั้งแต่เรื่องของสารพัดวิธีรักษาโควิด ไปจนถึงคำแนะนำไม่ให้ฉีดวัคซีนด้วยเหตุผลต่างๆ นานา ซึ่งเป็นอุปสรรคต่อความพยายามในการควบคุมโรค
10 จุดสังเกต “ข่าวปลอม” ลดกระจายข้อมูลเท็จ
70% ของข่าวสารที่แพร่กระจายบนโซเชียลมีเดีย คือ ข่าวปลอม เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันให้ประชาชนได้รู้ทันข่าวปลอม เฟซบุ๊ก จึงได้แนะเคล็ดลับ 10 ข้อในการสังเกต "ข่าวปลอม" เพื่อให้ผู้ใช้ร่วมกันหยุดการแพร่กระจายของข่าวปลอม