ประเทศไทยพบผู้ที่เป็นโรคโลหิตจางธาลัสซีเมียประมาณ 630,000 คน และมีผู้ที่เป็นพาหะถึงร้อยละ 30-40 หรือประมาณ 18-24 ล้านคน ทั้งนี้พบว่าผู้ที่เป็นพาหะแต่งงานกันและมีความผิดปกติชนิดเดียวกัน ทำให้มีโอกาสที่ลูกจะเป็นโรคโลหิตจางธาลัสซีเมียได้ การรักษาโรคโลหิตจางธาลัสซีเมียที่มีอาการน้อยจนถึงขั้นรุนแรง จำเป็นต้องได้รับการให้เลือดอย่างสม่ำเสมอ ซึ่งจะทำให้เกิดภาวะเหล็กเกินได้ ภาวะเหล็กเกินมีผลเสียต่ออวัยวะภายใน ได้แก่ ตับ หัวใจ ตับอ่อนและต่อมไร้ท่อ การกำจัดเหล็กเกินเพื่อลดภาวะแทรกซ้อนดังกล่าว ผู้ป่วยโรคนี้จึงจำเป็นต้องได้รับยาขับเหล็กเกิน