เครียดไหม? มาทดสอบความเครียดกับ ห้องวิจัยสัญญานชีวภาพ Biosignal Lab – PSU คณะวิทยาศาสตร์ ม.อ.

ห้องวิจัยสัญญานชีวภาพ Biosignal Lab – PSU คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ขอเชิญนักศึกษา บุคลากรเข้ารับการบริการ “ทดสอบและฝึกลดความเครียด (Biofeedback Training)” สำหรับนักศึกษา บุคคลทั่วไป และผู้มีปัญหาสุขภาพจากความเครียดหรือวิตกกังวล เปิดทำการทุกวันจันทร์ – วันศุกร์ เวลา 09.00 – 16.00 น. ณ ML204/1 ห้องวิจัยสัญญาณชีวภาพ (Biosignal Laboratory) คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ โดยผู้สนใจสามารถนัดหมายและสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมที่ https://lin.ee/09OWhbrX หรือประสานงานผ่านอาจารย์ผู้รับผิดชอบโครงการ ดร.ดนิตา อธิวิวัฒน์ หลักสูตรสรีรวิทยา คณะวิทยาศาสตร์ ม.อ.

ดร.ดนิตา อธิวิวัฒน์ หลักสูตรสรีระวิทยา สาขาวิทยาศาสตร์สุขภาพและวิทยาศาสตร์ประยุกต์ คณะวิทยาศาสตร์ ม.อ. เล่าว่า การทดสอบความเครียดกับ ห้องวิจัยสัญญานชีวภาพ Biosignal Lab – PSU เริ่มต้นจากการรับนักศึกษาคณะวิทยาศาสตร์ คณบดีฯมีนโยบายดูแลนักศึกษา เริ่มโครงการมีนักศึกษานอกจากคณะวิทย์ ติดต่อมาขอเข้าร่วมโครงการ จัดมาปีนึงแล้วเข้าสู่ปีที่สอง เปิดกว้างขึ้นให้บุคลากรที่สนใจ ให้ทำแบบประเมินวัดความเครียดทั่วๆไป และจะติดอิเล็คโตรดตัวนำไฟฟ้าที่แขนและขา สำหรับการวัดคลื่นไฟฟ้าหัวใจ แล้วมีหมวกใช้สวมที่มีอิเล็คโตรดวัดคลื่นไฟฟ้าสมอง วัดในช่วงปกติ คือนั่งเฉยๆและให้ตัวกระตุ้นความเครียดเข้าไปเพื่อดูว่าเค้าตอบสนองอย่างไร เป็นการคิดเลขในใจโดยไม่ใช้เครื่องมือ และเอาสัญญาณไปวิเคราะห์ ประเมินผลออกมาเป็น ผลทดสอบจะจัดให้หลังจากนักศึกษากลับไปแล้วหรือผู้เข้าร่วมกลับไปแล้ว ประมาณแล้วแต่ว่าใช้เวลาพอสมควร จะจัดส่งผลทดสอบให้

โดยจะวัดช่วงพัก ช่วงปกติ กับช่วงที่มีการกระตุ้นถ้าเป็นคนปกติ ผ่อนคลาย จะมีค่าดัชนีความเครียดในช่วงประมาณนี้ และนำค่าของนักศึกษาหรือผู้เข้าทดสอบไปเทียบดูว่าอยู่ในช่วงปกติมั้ย ในช่วงค่าเฉลี่ยของคนทั่วไปหรือไม่ เมื่อไม่ใช่ตัวกระตุ้นความเครียดก็ควรจะอยู่ในช่วงเฉลี่ยของประชากรประมาณ ช่วงกระตุ้นความเครียดบางทีกระตุ้นไม่เท่ากัน บางคนอาจจะขึ้นจากค่าปกตินิดหน่อย บางคนอาจจะขึ้นสูงไป ซึ่งการอ่านค่า หากค่าไม่สูงแสดงว่าคุณอยู่ในค่าเฉลี่ย ความเครียดอยู่ในระดับค่าเฉลี่ยของคนทั่วไป แต่ถ้าเกินจากค่าศูนย์คือเลยค่าปกติไปในช่วงที่ 1 เลยไปอีก เป็นช่วงระดับที่สองขึ้นไป ผลการทดสอบที่ผ่านมา ปีที่ผ่านมาค่อนข้างน่ากังวล ในขณะที่เราไม่ได้ตัวกระตุ้นความเครียดเลยนักศึกษาก็มีค่าที่เบี่ยงเบนจากค่าปกติของคนทั่วไปแล้ว น่าจะมีระดับความเครียดที่ไม่ได้อยู่ในค่าเฉลี่ย

การวัดค่อนข้างเป็นรูปธรรม แม่นยำกว่าความรู้สึกที่ประเมิน หรือว่าแม้กระทั่งแบบสอบถามที่เราอาจเคยทำว่าเราเครียดมั้ย หรือเรามีความรู้ยังไงที่ผ่านมา แบบสอบถามเป็นตัววัดที่น่าเชื่อถือระดับนึง แต่ว่าขึ้นอยู่กับคำตอบของผู้ที่ใช่ บางคนอาจไม่ให้คำตอบที่แท้จริง หรือบางคนอาจไม่ได้รู้จัก รู้ใจตัวเองเท่าที่ควร ผลการทดสอบก็ไม่แม่นยำเท่ากับการใช้คลื่นจับสัญญาณจากร่างกายซึ่งไม่โกหกแน่นอน ก็คือเปรียบเทียบให้ใครหลายคนทำ บางครั้งเราต้องไปดูภาพยนตร์ที่น่ากลัว แล้วเราไม่อยากบอกเพื่อน แต่เราลองเอาสัญญาณมาวัดก็ปรากฎว่า สัญญาณร่างกายจะฟ้องว่ามีการตอบสนองที่เพิ่มขึ้น ความกลัวเกิดขึ้น

ทั้งนี้ยังมีนักศึกษาบางราย นอกจากวัดความเครียดแล้วยังมีเรื่องมาปรึกษาอีกด้วย ถ้าดูแล้วน่ากังวลจะแนะนำให้เค้าไปปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ หรือว่าบางคนถ้าอยากลดความเครียด ก็มีบริการแล้วแต่ความสมัครใจ อยากจะลดให้มัน ลดความเครียดให้ดีกว่านี้ เรามีบริการเรียกว่าไบโอฟีดแบ็ก ฝึกลดความเครียด เราจะมองเห็นสัญญาณในเวลาจริงๆ เลยในขณะที่เราลดลงโดยใช้วิธีการ ยกตัวอย่างเช่นการฝึกหายใจเพื่อลดความเครียด

การทอดสอบดังกล่าวจะรับช่วงอายุ 18-35 ปี ทางคณะฯให้ความสำคัญของ นศ.ก่อน ทั้งปริญญาตรีและโท เพราะบุคลากรเราค่อนข้างจำกัด ตัวฝึกวัดเราจะเห็นตัวสัญญาณ โดยเวลาจริงไม่ต้องรอวิเคราะห์จะเห็นว่าดัชนีอยู่ระดับไหน แล้วก็ระหว่างที่วัดจะให้ฝึกการหายใจ เช่น การหายใจ ปกติ 10 กว่าครั้งต่อนาทีให้ลดลงเหลือ 6 ครั้งต่อนาที ขึ้นอยู่กับแต่ละคน ไม่เท่ากันว่าแต่ละคนควรจะลดลงเหลือเท่าไหร่ ฝึกอย่างนี้ ใช้เวลาประมาณ 15 นาทีเบื้องต้นแล้วดูว่าค่าเป็นยังไง แต่ถ้าได้ผลจริงๆต้องมาหลายครั้ง สัปดาห์ละ 3 ครั้ง ระยะเวลา 1 เดือนขึ้นอยู่กับความของผู้เข้าร่วมด้วยว่าเค้าจะเข้าร่วมโครงการนี้ ต่อหรือเปล่า บางคนก็รู้ผลแล้วไปหาวิธีอื่นกัน ได้ฝึกเอง และลดความเครียดเอง ฝึกทำสมาธิแต่มีรายละเอียดมากกว่านั้น คือเห็น ณ ตอนนั้นเลย ถ้าทำซ้ำๆเป็นระยะเวลาหนึ่งสัปดาห์เราอาจจะวัดเหมือนตอนวัดครั้งแรกดูจะได้ค่าตัวเลขเทียบกับคนสองหมื่นคนนั้นออกมาอีกครั้งว่าวิธีการที่ใช้ สำหรับคนๆนี้ได้ผลมั้ย เทียบกับค่าเริ่มต้นก่อนที่จะฝึก

การหายใจที่ช้าลง ระบบร่างกายเราสัมพันธ์กันหมดเลย การหายใจจะมีผลต่ออัตราการเต้นของหัวใจ หายใจเข้าหัวใจเราจะเต้นเร็ว หายใจออกหัวใจเราจะเต้นช้า ยิ่งเราหายใจช้าจะไปเพิ่มการทำงานของระบบประสาทที่ทำงานมากขึ้นในสภาวะผ่อนคลาย เราเรียกภาษาทางวิชาการว่าระบบประสาทพาราซิมพาติก ที่ทำงานมากขึ้นในช่วงที่เรารีแล็กซ์ ที่เราพยายามให้หายใจช้าลงเพื่อให้ระบบประสาททำงานเด่นมากขึ้น และฝึกให้หัวใจเต้นช้าลง

คอร์สระยะสั้นให้ทำภายในวันนั้นเลย วันเดียวกัน วัดเสร็จแล้วทำไบโอซีดแบ็คต่อเลย น่าจะ 15 นาที ถ้าให้เห็นผลจริงๆต้องใช้ระยะเวลาอย่างที่บอกคือเป็น 1 เดือน แต่ไม่ใช่ทุกวัน คือสัปดาห์ละ 3 ครั้ง

ผู้สนใจต้องลงทะเบียนก่อน ต้องจองล่วงหน้า เนื่องจากมีข้อจำกัดในการให้บริการ ผู็สนใจต้องจองเวลาว่าจะมาช่วงเวลาไหน เช้า บ่าย แล้วแต่ความสะดวก ช่องทางการติดต่อสามารถแสกนคิวอาร์โค้ดที่แนบไว้ในภาพข้างบน จะมีเจ้าหน้าที่คอยดูแล และผู้ที่ติดต่อเข้ามาสามารถแอดไลน์แล้วจองคิวได้เลย ก่อนทดสอบมีข้อปฏิบัติตัวว่า ห้ามดื่มเครื่องดื่มต่างๆ คาเฟอีน เพราะมีผลต่อความเครียด มีผลทำให้ร่างกายถูกกระตุ้นมากขึ้น ผลประเมินจะออกมาว่ามีความเครียด ทั้งที่คาเฟอีนไม่ได้มีผลต่อความเครียดโดยแท้จริง อาจเป็นเพราะว่าได้รับประทานเข้าไป หรือมีเรื่องการสระผมมาก่อน โดยไม่ใช้ครีมนวด เพราะเราใช้หมวกคลื่นไฟฟ้าสมองที่มีน้ำมันเยอะ

ควรสระผมในวันนัดหมาย แต่ไม่ใช้ครีมนวดจัดแต่งผม โดยจะใช้เวลาในการประเมินมากสุดไม่เกิน 2 ชม. มีการพูดคุย สอบถาม ไม่เกิน 2 ชม. ตั้งแต่ใส่อุปกรณ์ไม่เกินชม.เพราะใช้เวลาในการเซ็ตอุปกรณ์ ตอนทดสอบต้องตื่นไม่งั้นประเมินไม่ได้ รับทดสอบได้ไม่เกิน 3 คนต่อวัน อยู่ที่ว่ามีช่วงวันว่างตอนไหนบ้าง ถ้ามีสารบางอย่างต้องแจ้งเจ้าหน้าที่ก่อนทดสอบหรือการกินยาก็ต้องแจ้งด้วย ไม่งั้นการประเมินไม่เที่ยงตรง หรือยาบางชนิดอาจจะต้องรอนัดครั้งต่อไป

สำหรับนักศึกษา บุคคลทั่วไป และผู้มีปัญหาสุขภาพจากความเครียดหรือวิตกกังวล เปิดทำการทุกวันจันทร์ – วันศุกร์ เวลา 09.00 – 16.00 น. ณ ML204/1 ห้องวิจัยสัญญาณชีวภาพ (Biosignal Laboratory) คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ โดยผู้สนใจสามารถนัดหมายและสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมที่ https://lin.ee/09OWhbrX หรือประสานงานผ่านอาจารย์ผู้รับผิดชอบโครงการ ดร.ดนิตา อธิวิวัฒน์ หลักสูตรสรีรวิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *