สคร.12 สงขลา ร่วมณรงค์ วันงดสูบบุหรี่โลก 2566 เน้นย้ำ “บุหรี่ไฟฟ้ามีสารพิษ เสพติด อันตราย”
สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 12 จังหวัดสงขลา ร่วมรณรงค์ เนื่องในวันงดสูบบุหรี่โลก 31 พฤษภาคม 2566 โดยองค์การอนามัยโลกได้กำหนดประเด็นของการรณรงค์ไว้ว่า “Grow food, not tobacco” เพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์ปัญหาในปัจจุบันที่ประเทศไทยเกิดการแพร่ระบาดของบุหรี่ไฟฟ้า โดยเฉพาะในกลุ่มเด็กและเยาวชน ดังนั้น มูลนิธิรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่ และภาคีเครือข่ายควบคุมการบริโภคยาสูบ จึงกำหนดคำขวัญรณรงค์วันงดสูบบุหรี่โลก ประจำปี 2566 คือ “บุหรี่ไฟฟ้ามีสารพิษ เสพติด อันตราย”
สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 12 จังหวัดสงขลา ร่วมรณรงค์ เนื่องในวันงดสูบบุหรี่โลก 31 พฤษภาคม 2566 โดยองค์การอนามัยโลกได้กำหนดประเด็นของการรณรงค์ไว้ว่า “Grow food, not tobacco” เพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์ปัญหาในปัจจุบันที่ประเทศไทยเกิดการแพร่ระบาดของบุหรี่ไฟฟ้า โดยเฉพาะในกลุ่มเด็กและเยาวชน ดังนั้น มูลนิธิรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่ และภาคีเครือข่ายควบคุมการบริโภคยาสูบ จึงกำหนดคำขวัญรณรงค์วันงดสูบบุหรี่โลก ประจำปี 2566 คือ “บุหรี่ไฟฟ้ามีสารพิษ เสพติด อันตราย”
ข้อมูลจากสำนักงานสถิติแห่งชาติ ปี 2564 ที่สำรวจพบคนไทยอายุ 15 ปีขึ้นไป สูบบุหรี่ไฟฟ้าเกือบ 80,000 คน และในจำนวนนี้มากกว่าครึ่งเป็นเยาวชนอายุ 15-24 ปี จะเห็นได้ว่าบุหรี่ไฟฟ้าจะกลายเป็นที่นิยมเพิ่มขึ้น ประเทศไทยจำเป็นต้องคงมาตรการห้ามนำเข้าและขายบุหรี่ไฟฟ้าที่เข้มแข็งต่อไป เนื่องจากเหตุผลสำคัญ 9 เหตุผล ดังนี้ 1.เป้าหมายของผู้ผลิตบุหรี่ไฟฟ้า คือ เด็กและเยาวชน 2.บุหรี่ไฟฟ้าเป็นต้นทางของการสูบบุหรี่ธรรมดาของเด็กและเยาวชน 3.บุหรี่ไฟฟ้าเป็นอันตราย ทำลายสุขภาพ 4.นิโคติน ทำให้เสพติด อันตรายเกินคาด 5.บุหรี่ไฟฟ้าไม่ได้ช่วยให้เลิกบุหรี่ได้จริง 6.บุหรี่ไฟฟ้าส่งผลเสียต่อสังคมมากกว่าผลดี 7.บุหรี่ไฟฟ้าจะทำให้ไทยถอยหลังในการควบคุมยาสูบ 8.การห้ามจำหน่ายบุหรี่ไฟฟ้า คือ มาตรการสำคัญ ในการปกป้องเด็กจากการตกเป็นเหยื่อ 9.ควรยึดนโยบาย “ปลอดภัยไว้ก่อน” เพราะชีวิตคนไทยมีค่าเกินกว่าจะเอาไปเสี่ยง
นายแพทย์เฉลิมพล โอสถพรมมา ผู้อำนวยการสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 12 จังหวัดสงขลา กล่าวถึงอันตรายต่อสุขภาพของบุหรี่ไฟฟ้า ว่า บุหรี่ไฟฟ้าเป็นผลิตภัณฑ์เสพยาสูบ หรือเสพนิโคตินที่ใช้การทำให้สารน้ำเกิดความร้อน และระเหย เป็นไอน้ำมาให้สูด/สูบ โดยที่ไม่เกิดควันจากการเผาไหม้ ผลิตภัณฑ์บุหรี่ไฟฟ้าในตลาดมากกว่าร้อยละ 95 มีสารนิโคตินเป็นส่วนผสมอยู่ในน้ำยาบุหรี่ไฟฟ้า การสูบบุหรี่ไฟฟ้าทำให้ติดสารนิโคตินได้ และในส่วนละอองควัน ที่สูดเข้าปอดนอกจากมีสารนิโคตินแล้ว ยังพบสารเคมีจำนวนมากที่ใช้ในกระบวนการผลิตและปรุงแต่งกลิ่นรส เช่น แอลดีไฮด์ โพลีไซคลิค อะชิโตนและโครเมียม ซึ่งสารเคมีเหล่านั้นล้วนแต่เป็นอันตรายต่อร่างกาย รวมทั้งเป็นสารก่อให้เกิดมะเร็ง
สารนิโคติน ที่มีอยู่ในบุหรี่ไฟฟ้ามีผลต่อสุขภาพ ดังนี้ 1.ระบบประสาทส่วนกลาง : ทำให้เกิดอาการ เวียนหัววิงเวียนรบกวนการนอนหลับผิดปกติ ปวดหัว และมีความเสี่ยงต่อการไหลเวียนของเลือด 2.ระบบ ทางเดินอาหาร : อาจทำให้เกิดแผลในกระเพาะอาหาร โรคท้องร่วง คลื่นไส้ ปากแห้ง กรดไหลย้อนอาหาร ไม่ย่อย และโรคมะเร็ง 3.ระบบกล้ามเนื้อ : การเสื่อมของกระดูกสันหลัง ปวดข้อ และการสั่นของร่างกาย 4.ระบบหัวใจและหลอดเลือด : เกิดภาวะหลอดเลือดแข็ง และเพิ่มการเกาะเป็นก้อนในกระแสเลือด อัตราการ เต้นของหัวใจผันผวน ความดันโลหิตเพิ่มขึ้น โรคหลอดเลือดหัวใจ หัวใจเต้นเร็ว และหัวใจเต้นผิดจังหวะ 5.ระบบหายใจ : หายใจถี่ โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง หลอดลมหดเกร็ง และโรคมะเร็ง
เนื่องในวันที่ 31 พฤษภาคม 2566 เป็นวันงดสูบบุหรี่โลก สคร.12 สงขลา ร่วมรณรงค์ “บุหรี่ไฟฟ้ามีสารพิษ เสพติด อันตราย” ขอเน้นย้ำไปยังประชาชน โดยเฉพาะกลุ่มเด็กและเยาวชนว่า บุหรี่ไฟฟ้าทำลายสุขภาพ อย่าหลงเชื่อหรือตกเป็นเหยื่อโฆษณาชวนเชื่อ เพราะการสูบบุหรี่ไฟฟ้าทำให้เกิดการเสพติดสารนิโคตินเช่นเดียวกับการสูบบุหรี่ทั่วไป ประชาชนสามารถสอบถามเพิ่มเติมได้ที่กองงานคณะกรรมการควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ กรมควบคุมโรค 0 2590 3850 หรือสายด่วนกรมควบคุมโรค โทร.1422