นวัตกรรมจากนักวิจัย ม.สงขลานครินทร์ ในสถานการณ์การแพร่ระบาดโรคโควิด-19

สำหรับสถานการณ์ที่ผ่านมาเกิดเป็นวิกฤตที่เรียกว่าโควิด19 ทำให้อย่างเกิดการเปลี่ยนแปลงไป ทั้งเรื่องของการดำเนินชีวิต การศึกษา สังคม สภาพเศรษฐกิจ ย่อมเปลี่ยนแปลงไปภายใต้การใช้ชีวิตวิถีใหม่ new normal ที่ปัจจุบันเราคุ้นเคยกันในตอนนี้ เพระช่วงที่ผ่านมาหลายหน่วยงาน หลายสถานประกอบการ work from home ทำงานที่บ้านกันมากขึ้น ได้เรียนรู้สิ่งใหม่ๆในช่วงที่ผ่านมาด้วย ในสถานการณ์ที่เกิดวิกฤตที่เรียกได้ว่าเป็นวิกฤตระดับโลก ยังมีกลุ่มคนที่ยังต้องพัฒนานวัตกรรม สิ่งประดิษฐ์ใหม่ๆมาตอบสนอง อำนวยความสะดวกในช่วงโควิด19 

BuddyNews ได้รวบรวมนำเสนอผลงานวิจัย สิ่งประดิษฐ์ นวัตกรรม ที่เกิดขึ้นจากมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ยกตัวอย่างเช่น ชุดตรวจคัดกรองการติดเชื้อไวรัส (PSU COVID-19), ระบบตรวจจับอุณภูมิร่างกายและคัดกรองอาการไข้ด้วยภาพถ่ายความร้อน, หุ่นยนต์ขนส่งตรวจวัดไข้ “ADA Robot”, แผ่นกรองเส้นใยนาโน คุณภาพใกล้เคียง N95 หรือแม้กระทั่งการนำตรวจเจลและสเปรย์แอลกอฮอล์ไม่ได้มาตรฐาน และเป็นอันตราย เป็นต้น

นับว่าเป็นความร่วมมือของนักวิจัย และนักประดิษฐ์ที่พยายามคิดค้น สร้างสรรค์เพื่อที่จะเป็นสิ่งแบ่งเบาการปฏิบัติงานของทีมแพทย์ พยาบาล ที่ต้องปฏิบัติหน้าที่ในการเป็นด่านหน้า ตรวจหาเชื้อโควิด19  

  • ชุดตรวจคัดกรองการติดเชื้อไวรัส (PSU COVID-19)

สามารถช่วยคัดกรองเบื้องต้นในผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยง การตรวจมีปริมาตรน้อย ประมาณ 15-20 ไมโครลิตร (1-2 หยด) ใช้ได้กับตัวอย่างเลือดที่เจาะจากปลายนิ้ว พลาสมาหรือซีรัม ซึ่งในเลือดมีปริมาณของเชื้อไวรัสที่น้อยมาก จึงลดความเสี่ยงในการติดเชื้อของบุคลากร ชุดตรวจมีความไวและความจำเพาะสูง มีความคงตัวสูง สามารถเก็บรักษาได้ที่อุณหภูมิห้องเป็นเวลาหลายเดือน และเพื่อบุคลากรที่ทำหน้าที่เก็บตัวอย่างลดความเสี่ยงสูงในการติดเชื้อโควิด-19 โดยใช้เวลาในตรวจประมาณ 15-20 นาที

  • หุ่นยนต์ควบคุมจากระยะไกลผ่านเครือข่ายโทรศัพท์มือถือ “ADA Robot” เป็นการพัฒนาหุ่นยนต์ให้เจ้าหน้าที่สามารถบังคับจากระยะไกลได้จากทุกสถานที่ เพื่อลําเลียงอาหารและยาตามเส้นทางที่ต้องการ ซึ่งบนตัวหุ่นยนต์ได้ติดตั้งอุปกรณ์สื่อสารเพื่อให้แพทย์และผู้ป่วย พูดคุยกันได้ทั้งภาพและเสียง พร้อมระบบตรวจวัดอุณหภูมิของคนไข้ ลดโอกาส การสัมผัสและลดความเสี่ยงในการติดเชื้อ ทําให้ทีมแพทย์ พยาบาล สามารถดูแลผู้ป่วยได้อย่างทั่วถึง
  • เครื่องวัดอุณหภูมิระยะไกลด้วยแสงอินฟราเรด จากการพัฒนาอุปกรณ์เซ็นเซอร์ขนาดกะทัดรัดที่สามารถใช้งานนอกสถานที่ได้ โดยผู้ที่ต้องการวัดอุณหภูมิสามารถเดินเข้าหาตัวเครื่องด้วยตนเอง โดยทิ้งระยะประมาณ 2 – 4 เซนติเมตร เพื่อให้เซ็นเซอร์ของเครื่องทำงานโดยส่งสัญญาณไปยังเทอร์โมมิเตอร์วัดไข้อินฟราเรด และผู้วัดอุณหภูมิสามารถอ่านค่าอุณหภูมิร่างกายได้ด้วยตัวเอง
  • กล่องยูวีฆ่าเชื้อโรคในธนบัตร มีกระบวนการฆ่าเชื่อในธนบัตรโดยใช้กล่องรังสีอัลตราไวโอเลตหรือรังสี UV ในรูปแบบของ UVC มีการใช้ฟิวส์ป้องกันอันตรายหากกระแสไฟฟ้าลัดวงจร และใส่แผ่นฟรอยในกล่องเพื่อเป็นการสะท้อนรังสียูวีให้กระจายทั่วถึง มีระบบนิรภัยคือแสงจะส่องได้ต่อเมื่อปิดกล่องเท่านั้น จะอันตรายเมื่อสัมผัสกับร่างกายและสายตา จึงออกแบบอุปกรณ์โดยทำเป็นกล่อง เมื่อจะใช้ให้ใส่ธนบัตรแล้วปิดฝา ใช้เวลาฆ่าเชื้อ 15 วินาที
  • เครื่องพ่นสเปรย์ทำความสะอาดไฮโปคลอรัสด้วยเทคนิคไฟฟ้าเคมี เป็น 1 ในนวัตกรรมที่ ใช้ส่วนประกอบง่ายๆ เช่น น้ำประปา เกลือแกง ผนวกกับเทคนิคทางเคมีไฟฟ้า ออกมาเป็น กรดไฮโปคลอรัส บนเครื่องพ่นสเปรย์ละอองขนาดจิ๋ว เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการฆ่าเชื้อ เพิ่มประสิทธิภาพในการสัมผัสกับเชื้อโรคได้ดีขึ้นทำให้สามารถเพิ่มประสิทธิภาพการฆ่าเชื้อโรคต่างๆได้ดี
  • แผ่นกรอง “Sci-Mask Filter” ได้พัฒนาเป็นแผ่นกรองเส้นใยเพิ่มประสิทธิภาพหน้ากากผ้าคุณภาพใกล้เคียง N95 (Sci-Mask Filter) และมีราคาถูกกว่าท้องตลาด 2-3 เท่า มีประสิทธิภาพในการกรองที่สูง ทั้งการกรองอนุภาคและการกรองไวรัสเทียบเท่าใกล้เคียงกับหน้ากาก N95 และที่สำคัญมีคุณสมบัติ Super hydrophobic ซึ่งจะไม่ยอมให้ละอองน้ำหรือละอองลอยสามารถซึมผ่านแผ่นกรองได้

ในช่วงเวลาที่มีการแพร่ระบาดของโควิด-19 ภาคใต้เป็นอันดับต้นๆของประเทศที่มีจำนวนผู้ติดเชื้อจำนวนมาก เนื่องจากมีทั้งผู้ที่เดินทางกลับมาจากต่างประเทศ จากการไปประกอบพิธีทางศาสนา และผู้ที่เดินทางมาจากกรุงเทพมหานคร ซึ่งในพื้นที่ภาคใต้โรงพยาบาลสงขลานครินทร์ เป็นหน่วยงานที่ดูแลผู้ป่วยจากเชื้อไวรัสโควิด-19 ได้เปิดโรงพยาบาลสนามต้นแบบการจัดสถานที่เพื่อดูแลพักฟื้นผู้ป่วย COVID-19 นั่นคือโรงพยาบาลสงขลานครินทร์สาขา 2 (สวนประวัติศาสตร์พลเอกเปรม ติณสูลานนท์) และโรงพยาบาลสงขลานครินทร์สนามจังหวัดภูเก็ต อีกด้วย