หากใครที่ได้ติดตามซีรีส์ ละคร ภาพยนตร์ของแต่ละประเทศ บางเรื่องจะมีการจัดมุมกล้อง ฉากอาหาร ซึ่งดูแล้วเชื่อว่าหลายๆคนต้องเกิดอาการหิว หรือมีความสนใจเมนูต่างๆในเรื่อง ยกตัวอย่าง ซีรีส์เกาหลีที่ตอนนี้มีอิทธิพลด้านอาหารในไทยมากขึ้น ไม่ว่าจะอยู่ในวัยไหนก็มีความชื่นชอบอาหารเกาหลีหรืออาหารต่างชาติมากขึ้น
การดึงดูดจากอาหารในซีรีส์นั้นเรียกได้ว่าเป็นวิธีการอย่างหนึ่งที่สามารถดึงดูดและสร้างการมีส่วนร่วมทำให้ผู้คนค่อย ๆ ซึมซับรับเอาสิ่งสิ่งนั้นไป โดยที่ไม่ต้องไปบังคับกันเลย อย่างวัฒนธรรมอาหารเกาหลีที่เข้ามาแบบเราไม่รู้ตัว รู้อีกทีคือมองไปทางไหนก็เห็นแต่กลิ่นอายเกาหลี ส่วนหนึ่งเพราะรัฐบาลเกาหลีใช้ Soft Power เป็นกลยุทธ์ในการกระตุ้นเศรษฐกิจและพัฒนาประเทศด้วย 4 อย่าง ได้แก่
- เครื่องสำอาง
- อาหาร
- ศิลปิน K-Pop
- ซีรีส์และภาพยนตร์
จะเห็นว่ารัฐบาลเกาหลีให้ความสำคัญกับ “ธุรกิจทางวัฒนธรรม” จนนับเป็น 1 ใน 5 อุตสาหกรรมที่สร้างรายได้หลักให้กับประเทศอย่างต่อเนื่อง ถึงขั้นบรรจุเป็นกรอบกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมอุตสาหกรรมทางวัฒนธรรมปี 1999
อย่างที่เราเห็นกันว่าอาหารเกาหลีแฝงมาในซีรีส์ทุกแนว เป็นการเผยแพร่วัฒนธรรมการกินแฝงมาด้วยแทบทุกเรื่อง ถ้าย้อนกลับไปปี 2561 ละครไทยเองก็ไม่รับความนิยมจากการแฝงเรื่องของอาหารไทย อย่างเรื่อง “บุพเพสันนิวาส” ที่แม่หญิงการะเกดทำให้พี่หมื่นได้ลองชิม ไม่ว่าจะเป็นมะม่วงน้ำปลาหวาน หรือหมูโสร่ง รวมทั้งฝีมือของแม่มะลิหรือท้าวทองกีบม้าที่ทำเมนูขนมหวานอย่างทองหยิบ ทองหยอด ฝอยทอง ก็พลอยให้คนดูคันไม้คันมืออยากลองทำเมนูดังกล่าวพร้อมถ่ายรูปอวดกันบนโซเชียลเรียกยอดไลค์ปังๆแทบทุกแอปพลิเคชั่น
เห็นได้ว่าอิทธิพลด้านอาหารของแต่ล่ะชาติมีผลมากในด้านเผยแพร่วัฒธรรมของแต่ล่ะชาติ แถมยังทำให้คนรุ่นใหม่ได้ฝึกลองการทำอาหารเรียกได้ว่าเป็นการฝึกทักษะเฉพาะตัวกันไปเลย เผลอๆอาจจะหารายได้จากเมนูอาหารในซีรีส์ ละคร ภาพยนตร์ต่างๆได้อีกด้วย