กรมพัฒนาพลังงานทดแทนฯ เดินหน้าสานต่อจัดกิจกรรม “มหกรรมรวมพลคนรักษ์พลังงาน 65” ส่งเสริมการนำพลังงานจากธรรมชาติมาใช้ให้เกิดประโยชน์มากที่สุด

กรมพัฒนาพลังงานทดแทน เดินหน้าสานต่อจัดกิจกรรม “รวมพลังคนไทย ลดใช้พลังงาน หาร 2” ในส่วนภูมิภาค ทั้งภาคกลาง อีสานและใต้ รณรงค์ให้ความรู้การประหยัดพลังงานอย่างง่ายให้กับประชาชน พร้อมชูโครงการฉลากประหยัดพลังงานช่วยประหยัดเงินระดับครัวเรือน วันนี้ (26 พฤษภาคม 2565) ดร.ประเสริฐ สินสุขประเสริฐ อธิบดีกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน (พพ.) กระทรวงพลังงาน เป็นประธานในกิจกรรมเปิดบ้านพลังงาน ประจำปี พ.ศ.2565 และกิจกรรม “รวมพลังคนไทย ลดใช้พลังงาน หาร 2”


ดร.ประเสริฐ สินสุขประเสริฐ เผยว่า รัฐบาลได้ให้ความสำคัญกับการประหยัดพลังงาน โดยประกาศให้การประหยัดพลังงานเป็นวาระสำคัญของชาติ พพ. ซึ่งเป็นหน่วยงานหลักที่มีบทบาท หน้าที่ในการส่งเสริมการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพและการประหยัดพลังงาน จึงได้จัดกิจกรรมรณรงค์การประหยัดพลังงาน “รวมพลังคนไทย ลดใช้พลังงาน หาร 2” ขึ้น ร่วมกับกิจกรรม Open House เปิดบ้านพลังงาน ของศูนย์บริการวิชาการที่ 1 จังหวัดปทุมธานี เพื่อให้หน่วยงานภาครัฐ เอกชน สถาบันการศึกษา และประชาชนทั่วไปได้รับความรู้เกี่ยวกับการใช้งานเทคโนโลยีด้านพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน

การจัดงานดังกล่าว มุ่งให้ความรู้ด้านพลังงานและนวัตกรรมเทคโนโลยีพลังงาน ซึ่งภายในงานจัดให้มีกิจกรรมต่างๆ ประกอบด้วย การจัดนิทรรศการเผยแพร่ให้ความรู้เรื่องการประหยัดพลังงาน เช่น วิธี “ประหยัดไฟง่ายๆ ลดค่าไฟ 10%” การใช้รถให้ประหยัดพลังงาน ด้วยเคล็ดลับ “ขับ… อย่างถูกต้อง ประหยัดน้ำมัน” บูธนิทรรศการด้านพลังงานจากกลุ่มวิสาหกิจ องค์กร และผู้ประกอบการต่างๆ เป็นต้น

ซึ่งเป็นการส่งเสริมให้ประชาชนประหยัดพลังงาน เป็นสิ่งที่ไม่มีค่าใช้จ่ายในการลงทุน ทุกคนสามารถทำได้ทันที และเห็นผลได้อย่างรวดเร็ว และหากประชาชนสามารถพึ่งตนเองโดยใช้ทรัพยากรในท้องถิ่นนำมาผลิตพลังงานทดแทนได้อย่างเหมาะสม ก่อให้เกิดการลดรายจ่ายและเพิ่มโอกาสในการสร้างรายได้อย่างยั่งยืน อีกทั้งยังสามารถผลิตพลังงานทดแทนได้ โดยใช้นวัตกรรมเทคโนโลยีพลังงาน ก็จะส่งผลให้ภาระทางด้านพลังงานโดยรวมของประเทศลดลง

ทั้งนี้ พพ.ได้กระจายการจัดกิจกรรมในณูปแบบดังกล่าวไปทั่วทุกภูมิภาคทั่วประเทศ ด้วยแนวคิด “พลังงานเพื่อชุมชน” โดยในที่ 26 พฤษภาคม 2565 วันเดียวกันนี้ได้จัดกิจกรรมพร้อมกันขึ้นใน 3 ภูมิภาค ประกอบด้วยภาคกลาง ภาคอีสาน และภาคใต้ โดยภาคกลางจัดขึ้นที่ศูนย์บริการวิชาการที่ 1 จังหวัดปทุมธานี ภาคอีสานจัดขึ้นที่ศูนย์บริการวิชาการที่ 4 จังหวัดหนองคาย และภาคใต้จัดขึ้นที่ศูนย์บริการวิชาการที่ 10 จังหวัดสงขลา และในเดือนมิถุนายนจะจัดกิจกรรมที่ศูนย์บริการวิชาการในส่วนภูมิภาคอีก 3 แห่ง ได้แก่ จังหวัดชอนแก่น มหาสารคาม และนครศรีธรรมราช ซึ่งจะจัดขึ้นครบทุกศูนย์บริการวิชาการ รวม 10 ศูนย์ทั่วประเทศ

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *