3 พฤศจิกายน 2566 ดาวพฤหัสบดีใกล้โลกที่สุดในรอบปี สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า โดยดาวพฤหัสบดีจะโคจรมาอยู่ในตำแหน่งตรงข้ามดวงอาทิตย์ (Jupiter Opposition) หมายถึง ตำแหน่งที่ดวงอาทิตย์ โลก และดาวพฤหัสบดี เรียงอยู่ในเส้นตรงเดียวกัน มีโลกอยู่ตรงกลาง ส่งผลให้ดาวพฤหัสบดีอยู่ในตำแหน่งใกล้โลกที่สุดในรอบปี ห่างจากโลกประมาณ 595 ล้านกิโลเมตร
ดาราศาสตร์ยกระดับคุณภาพชีวิตผู้พิการ จากเทคโนโลยีดาราศาสตร์สู่การพัฒนากายอุปกรณ์
สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (NARIT) ให้ความสำคัญอย่างยิ่งในการพัฒนาและสร้างเครื่องมือและอุปกรณ์ทางดาราศาสตร์ด้วยตัวเอง เพื่อยกระดับความสามารถงานวิจัยและวิศวกรรม ปรับเปลี่ยนจากการเป็นผู้ซื้อและพึ่งพาเทคโนโลยีจากต่างประเทศ เป็นผู้ออกแบบและสร้างอุปกรณ์ทางดาราศาสตร์ระดับสูง
ดาวหางนีโอไวส์ จะเข้าใกล้โลกมากที่สุดในรอบเกือบ 7 พันปี
เหล่านักดาราศาสตร์และนักดูดาวทั่วโลกต่างกำลังรอชมปรากฏการณ์ที่จะเกิดขึ้น "ครั้งเดียวในชั่วชีวิต" ที่ดาวหางนีโอไวส์ (NEOWISE) หรือ C/2020 F3 เคลื่อนเข้าใกล้โลกมากที่สุดในรอบ 6,800 ปี ดาวหางนีโอไวส์ เป็นหนึ่งในดาวหางเพียงไม่กี่ดวงในศตวรรษที่ 21 ที่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่าในขณะที่มันกำลังเคลื่อนเข้าใกล้ดวงอาทิตย์ และในวันที่ 23 ก.ค.นี้ จะเคลื่อนเข้าใกล้โลกที่สุด โดยอยู่ห่างออกไปราว 103 ล้านกิโลเมตร
14 ก.ค. 63 ชวนชม “ดาวพฤหัสบดี” ใกล้โลกที่สุดในรอบปี !!
14 กรกฎาคม 2563 สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ ชวนชม “ดาวพฤหัสบดีใกล้โลกที่สุดในรอบปี” ปรากฏสว่างเด่นชัด ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ นานตลอดคืนถึงรุ่งเช้า หากท้องฟ้าใสไร้เมฆฝนสังเกตได้ด้วยตาเปล่าทั่วไทย
“NARIT” ชวนส่งผลงานร่วมประกวดภาพถ่ายทางดาราศาสตร์ หัวข้อ “มหัศจรรย์ภาพถ่ายดาราศาสตร์”
สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ ชวนส่งผลงานร่วมประกวดภาพถ่ายทางดาราศาสตร์ หัวข้อ “มหัศจรรย์ภาพถ่ายดาราศาสตร์” ประเภทปรากฏการณ์ทางดาราศาสตร์ เช่น ปรากฏการณ์สุริยุปราคา จันทรุปราคา ฝนดาวตก การบังกันของวัตถุในระบบสุริยะ การเกิดคอนจังชันของวัตถุในระบบสุริยะแต่ไม่รวมถึงปรากฏการณ์การขึ้น - ตกของดวงอาทิตย์ และดวงจันทร์ การเกิดเฟสของดวงจันทร์ เป็นต้น ทั้งนี้ต้องไม่รวมถึงปรากฏการณ์ทางอุตุนิยมวิทยา เช่น ฟ้าฝ่า เมฆสี หรือการเกิดรุ้ง (หมายเหตุ : สามารถส่งภาพปรากฏการณ์ทางดาราศาสตร์ที่ถ่ายจากต่างประเทศได้) เป็นต้น