สธ.สงขลา เตือนประชาชนระวังถูกสุนัข แมวกัดหรือข่วน เน้นย้ำมาตรการ 5 ย ลดความเสี่ยงโรคพิษสุนัขบ้า

สุนัขบ้า (Rabies) หรือโรคกลัวน้ำ (Hydrophobia) เป็นโรคติดเชื้อของระบบประสาทส่วนกลาง ที่มีอันตรายร้ายแรงถึงชีวิต พบในสัตว์เลือดอุ่นทุกชนิด ทั้งสัตว์เลี้ยงและสัตว์ป่าและยังติดต่อมาสู่คน พาหะนำโรคที่สำคัญคือสุนัข รองลงมาคือแมว และสัตว์เลี้ยงพวกโค กระบือ สุกร ม้า และสัตว์ป่าที่เลี้ยงลูกด้วยนม สาเหตุการติดเชื้อที่สำคัญที่สุดคือ การถูกสัตว์ทีมีเชื้อพิษสุนัขบ้า ข่วน เลีย หรือน้ำลายสัตว์กระเด็นเข้าแผลรอยขีดข่วน เยื่อบุตา จมูก ปาก เชื้อจะยังคงอยู่บริเวณนั้นระยะหนึ่ง โดยเพิ่มจำนวนในกล้ามเนื้อ ก่อนจะผ่านเข้าสู่เส้นประสาทส่วนปลายไขสันหลังและเข้าสู่สมอง  มีการแบ่งตัวในสมอง พร้อมทำลายเซลล์สมอง และปล่อยเชื้อกลับสู่ระบบขับถ่ายต่าง ๆ เช่น ต่อมน้ำลาย น้ำปัสสาวะ น้ำตา ตามแขนงประสาทต่าง ๆ ทำให้เกิดอาการบางรายเกิดอาการช้านานเกิน 1 ปี บางรายเกิดอาการเร็วเพียง 4 วันเท่านั้น แต่โดยเฉลี่ย 3 สัปดาห์ถึง 4 เดือน ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับจำนวนเชื้อที่เข้าไป บาดแผลใหญ่ ลึก หรือมีหลายแผล ตำแหน่งที่เชื้อเข้าไป ถ้าอยู่ใกล้สมองมาก เชื้อก็จะเดินทางไปถึงสมองได้เร็ว นอกจากนั้น สามารถติดต่อจากการกินได้ถ้ามีบาดแผลภายในช่องปากและหลอดอาหาร ซึ่งจะพบกรณีสัตว์ กินเนื้อสัตว์ที่ป่วยตายใหม่ ๆ  สุนัขและแมวที่ป่วยสามารถแพร่เชื้อได้ก่อนแสดงอาการ เพราะเชื้อจะออกมาในน้ำลายเป็นระยะ ประมาณ 1-7 วันก่อนแสดงอาการ

อ่านต่อ →