รศ.ดร.นพ.ศรัญญู ชูศรี ผู้ช่วยคณบดีคณะแพทยศาสตร์ ฝ่ายโรงพยาบาล แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคติดเชื้อ ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ ม.สงขลานครินทร์ กล่าวว่า ไวรัสโควิด-19 สายพันธุ์สายพันใหม่โอมิครอน (Omicron) ซึ่งเป็นสายพันธุ์ล่าสุดที่มีการระบาดในขณะนี้นั้น ยังคงต้องรอข้อมูลจากผลการทดลองจากหลอดทดลองสักระยะหนึ่ง โดยการใช้กลไกทางระบาดวิทยาในการประเมินว่าการติดเชื้อชนิดนี้อาการรุนแรงมากกว่าการติดเชื้อสายพันธุ์เดิมหรือไม่ ถือเป็นการเปรียบเทียบในเชิงระบาดวิทยา เบื้องต้นข้อมูลทางลักษณะพันธุกรรมที่บ่งชี้ถึงลักษณะหนามแหลมที่ทำให้เกิดการติดเชื้อ มีการเปลี่ยนแปลงไปโดยมีแนวโน้มทำให้การติดเชื้อง่ายขึ้นในหลอดทดลอง ที่มีข้อมูลสำคัญคือ ข้อมูลด้านเชิงพันธุศาสตร์ เมื่อเปรียบเทียบการเปลี่ยนแปลงทางพันธุกรรมของไวรัสชนิดเดิมซึ่งระบาดมากที่สุดขณะนี้คือเดลต้ากับโอมิครอนว่ามีการเปลี่ยนแปลงหรือไม่ สามารถศึกษาได้ 2 แบบคือการศึกษาเพียงบางส่วนของสารพันธุกรรมและการศึกษาทั้งหมดของสารพันธุกรรม เรียกว่า “จีโนม” สามารถช่วยให้ได้ข้อมูลเพิ่มมากขึ้น ข้อมูลทางด้านคลินิค ประกอบด้วยข้อมูลด้านไวรัสวิทยาคือการทดลองในหลอดทดลองว่าเชื้อสามารถติดกับเซลล์ที่สร้างขึ้นมาได้หรือไม่ หากติดได้มากขึ้นจะมีแนวโน้มแพร่ได้มากขึ้น โอกาสติดง่ายขึ้น แล้วผู้ป่วยที่ติดเชื้อมีอาการอย่างไร อัตราเสียชีวิตเท่าไหร่ อัตราการนอนโรงพยาบาล การเจ็บป่วยแบบรุนแรงเท่าไหร่ต้องเก็บข้อมูลเพิ่มเติม และข้อมูลทางระบาดวิทยาจำนวนผู้ที่มีการติดเชื้อมากขึ้นหรือเปล่า สัดส่วนเท่าไหร่ของการติดเชื้อโควิดทั้งหมด