การติดเชื้อของระบบกระดูกและข้อ – พญ.นิสาลักษณ์ อุโพธิ์

การผ่าตัดเข้าไปในข้อจะมีการล้างสิ่งสกปรกออกมา แล้วล้างให้สะอาด จากนั้นรอผลเพาะเชื้อและให้ยาปฏิชีวนะตามหลัง แต่ถ้าเป็นการติดเชื้อตรงกระดูกที่แข็งจะมีการเปิดเข้าไปเพื่อที่จะนำส่วนที่ติดเชื้อออก เนื่องจากการติดเชื้อไปนานๆจะส่งผลให้กระดูกตาย

พญ.นิสาลักษณ์ อุโพธิ์
ภาควิชาออร์โธปิดิกส์และเวชศาสตร์ฟื้นฟู
คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

โรคกระดูกอักเสบติดเชื้อ เป็นการอักเสบและติดเชื้อที่บริเวณกระดูก ไขกระดูก (Bone marrow) และกล้ามเนื้อที่อยู่โดยรอบ อาจเกิดจากการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันที่มีมาแต่กำเนิดทำงานบกพร่อง นอกจากนี้โรคที่มีความผิดปกติในกระบวนการสร้างและสลายกระดูกอื่นๆ

สาเหตุของโรคกระดูกอักเสบติดเชื้อ

70-80% ของผู้ป่วยโรคนี้ เกิดจากเชื้อสแตฟฟิโลคอคคัส ออเรียส  (Staphylococcus aureus) ซึ่งทำให้เกิดการอักเสบและเชื้ออาจเข้าสู่ร่างกายได้หลายทาง ได้แก่

  • เข้าทางเนื้อเยื่อ 
  • ทางแผลกดทับ 
  • ทางหลอดเลือด  
  • ทางแผลผ่าตัด 
  • เข้าทางกระดูกโดยตรง 
  • จากการผ่าตัดโดยมีการปนเปื้อนเชื้อ 
  • มีกระดูกหักแบบเปิด 
  • บาดเจ็บจากอุบัติเหตุ เช่น แผลถูกปืนยิง เป็นต้น 
  • จากกระแสเลือดโดยการติดเชื้อที่ทอนซิล (Tonsils) 
  • เป็นฝี 
  • ทางเดินหายใจส่วนบน ได้แก่ จมูก คอหอย 
  • การติดเชื้อที่อาจเกิดจากการรับประทานอาหารไม่เพียงพอ 

สำหรับกลุ่มคนที่เสี่ยงต่อการติดเชื้อจนทำให้เกิดโรคกระดูกอักเสบติดเชื้อ ได้แก่

  • ผู้สูงอายุ 
  • คนอ้วน 
  • ผู้ที่มีภูมิต้านทานต่ำ 
  • ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง เช่น โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ (Rheumatoid arthritis) โรคเบาหวาน (Diabetes Mellitus: DM) 
  • ผู้ป่วยที่ใช้ยาสเตียรอยด์ (Steroids) หรือใช้ยากดภูมิต้านทานเป็นเวลานาน 
  • ผู้ป่วยที่ผ่าตัดแล้วมีแผลติดเชื้อภายใน 30 วัน

อาการของผู้ป่วยโรคกระดูกอักเสบติดเชื้อ

  • มีไข้สูง 
  • มีอาการปวด 
  • ผิวหนังบวม แดง ร้อน 
  • ขยับเคลื่อนไหวไม่ได้ 
  • เมื่อเข้าสู่ระยะเรื้อรังจะมีกระดูกตาย

ในการรักษาโรคนี้ จะต้องให้กระดูกที่อักเสบได้พัก และมีการจ่ายยาหรือสารอาหารเพื่อรักษากระดูก

  • ให้ยาปฏิชีวนะ 
  • ให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำ 
  • ให้เลือดหากมีอาการซีดมาก 
  • ให้อาหารที่มีแคลอรีสูง รวมทั้งโปรตีนและวิตามินสูง