ดร.สายัณห์ ทองศรี ผู้ประสานงานเครือข่ายอนุรักษ์และฟื้นฟูทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง กล่าวในรายการแลบ้านแลเมือง ถึงกรณีที่ชมรมดำน้ำสมิหลา ดำน้ำสำรวจใต้ทะเลเพื่อทำการตรวจสอบความอุดมสมบูรณ์ พื้นที่บริเวณเกาะหนู เกาะแมว และพื้นที่โดยรอบ เบื้องต้นพบว่าปะการังในบริเวณดังกล่าวมีสภาพเสื่อมโทรม ปะการังระดับล่างที่อยู่แนวพื้นได้รับความเสียหายจำนวนมาก เต็มไปด้วยดิน ตะกอน โคลน บางจุดพบว่ามีขยะทะเล คาดว่าตะกอนดิน น่าจะเกิดมาจากการนำดินตะกอนโคลนจากโครงการขุดลอกทะเลสาบสงขลา ซึ่งจากข้อมูลโครงการดังกล่าวต้องนำดินโคลนไปทิ้ง ห่างออกไปประมาณ 10-12 ไมล์ทะเล นั่นคือตะกอนดินดังกล่าวโดนนำมาทิ้งในพื้นที่ที่ไม่ควรทิ้ง
จากมาตรการของกรมทรัพยากรทะเลและชายฝั่ง ในการกำหนดร่างมาตรการคุมครองพื้นที่ จึงเลือกพื้นที่เกาะหนู เกาะแมว จังหวัดสงขลา เพื่อยกระดับให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการบริหาร ถือว่าเป็นส่วนสำคัญไม่ว่าจะเป็นป่าชายเลน ปะการัง โดยในอนาคตจะนำไปสู่การการเป็นแหล่งท่องเที่ยวโดยชุมชนมีส่วนร่วมในการออกแบบการท่องเที่ยว ปลูกจิตสำนึกให้รักในพื้นที่ท้องถิ่นของตัวเอง
“พื้นที่เกาะหนูมีถ้ำที่มีค้างคาวอาศัอยู่ 2 ถ้ำ ถ้ำน้ำที่สวยงามแต่ในช่วงมีมรสุมจะเข้าไปไม่ได้ มีแนวปะการังที่สำรวจพบจำนวนมาก ทั้งปะการังอ่อน หญ้าทะเล ส่วนในพื้นที่เกาะแมว มีโขดหิน ปะการังจาน เป็นที่ที่สมบูรณ์มากเช่นเดียวกัน”
ทั้งนี้หากต้องการส่งเสริมให้พื้นที่เกาะหนู เกาะแมว เป็นแหล่งท่องเที่ยวโดยชุมชน นอกจากเรื่องของดินตะกอนที่ทำลายปะการัง ธรรมชาติในพื้นที่แล้วนั้นนั้น ยังคงมีปัญหาขยะทะเล ที่เป็นปัญหาใหญ่ของชุมชนชายฝั่ง โดยประชาชนในพื้นที่ต้องให้ความร่วมมือในการรักษา อนุรักษ์ รับผิดชอบสังคมร่วมกันไปด้วย
ขอบคุณภาพปะการังจาก : ตัวพ่อ Lifestyle สงขลา