เปิดแล้ว นิทรรศการ “Ocean Warming” ณ พิพิธภัณฑสถานธรรมชาติวิทยา ๕๐ พรรษา สยามบรมราชกุมารี

สถานวิจัยสมุทรศาสตร์ชายฝั่งและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ร่วมกับพิพิธภัณฑสถานธรรมชาติวิทยา ๕๐ พรรษา สยามบรมราชกุมารี จัดแสดงนิทรรศการ “Ocean Warming” ณ พิพิธภัณฑสถานธรรมชาติวิทยา ๕๐ พรรษา สยามบรมราชกุมารี บริเวณโถงชั้นลอย โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างความตระหนักเรื่องผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศต่อระบบนิเวศชายฝั่งให้กับบุคคลทั่วไป

วันนี้ (10 ตุลาคม 2562) มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ร่วมกับพิพิธภัณฑสถานธรรมชาติวิทยา 50 พรรษาสยามบรมราชกุมารีจัดแสดงนิทรรศการ “Ocean Warming” ณ พิพิธภัณฑสถานธรรมชาติวิทยา 50 พรรษาสยามบรมราชกุมารี บริเวณโถงชั้นลอย โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างความตระหนักเรื่องผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศต่อระบบนิเวศชายฝั่งให้กับบุคคลทั่วไปโดยอ้างอิงจากผลงานวิจัยที่นักวิจัยสังกัดสถานวิจัยสมุทรศาสตร์ชายฝั่งและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศทำการศึกษาในพื้นที่ภาคใต้ของประเทศไทยโดยได้ทำการเปิดให้เข้าชมเป็นกรณีพิเศษไปแล้วในช่วงสัปดาห์วิทยาศาสตร์แห่งชาติประจำปี 2562 โดยมีเยาวชนและผู้เข้าชมรวมทั้งสิ้น 27,677 คน

การเปิดนิทรรศการอย่างเป็นทางการ ร่วมกับการจัดบรรยายพิเศษในหัวข้อ “Ocean warming: from global to local Scale ” เพื่อสื่อสารให้เห็นถึงความสำคัญของปัญหาการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิน้ำทะเลทั้งในระดับโลกและในประเทศไทย โดยมี รศ.ดร.สุชนา ชวนิชย์ อาจารย์ผู้เชี่ยวชาญด้านวิทยาศาสตร์ทางทะเลจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและทูตแห่งมหาสมุทรเพื่อความยั่งยืนแห่งภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ขององค์การสหประชาชาติบรรยายร่วมกับ ผศ.ดร.พิมพ์ชนก บัวเพชรตร, ดร.สุธินี สินุธก และ ดร.เมธิณี อยู่เจริญ นักวิจัยผู้เชี่ยวชาญ สาขาชีววิทยาทางทะเลของสถานวิจัยสมุทรศาสตร์ชายฝั่งและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

โดยมีรองผู้อำนวยการสำนักวิจัยและพัฒนามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กล่าวเปิดงาน และมีผู้สนใจเข้าร่วมงานจากหลากหลายหน่วยงานทั้งนักศึกษาและอาจารย์จากในมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์และจากองค์กรภายนอกอื่นๆ เช่น มหาวิทยาลัยทักษิณ กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ครูและนักเรียนจากโรงเรียนในพื้นที่

สถานวิจัยสมุทรศาสตร์ชายฝั่งและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เป็นหน่วยงานซึ่งเน้นงานวิจัยและพัฒนาองค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ทางทะเล โดยมีนักวิจัยจากหลากหลายหน่วยงานในมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ มาทำงานร่วมกันเป็นทีมและใช้การบูรณาการสาขาวิชาที่แตกต่างกันทั้งด้าน ฟิสิกส์, เคมีชีววิทยาเทคโนโลยีสารสนเทศและสังคมศาสตร์ งานวิจัยของของสถานวิจัยฯ ในปัจจุบันเน้นการศึกษาผลกระทบที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่มีต่อสิ่งมีชีวิตและความหลากหลายทางชีวภาพในบริเวณขายฝั่ง เพื่อเพิ่มความแม่นยำในการทำนายผลที่อาจจะเกิดขึ้นและช่วยในการวางแผนการจัดการทรัพยากร รวมถึงการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของชุมชน โดยมีพื้นที่การศึกษาอยู่ในภาคใต้ของประเทศไทย

นิทรรศการนี้จะมีให้รับชมไปจนถึงสิ้นปี 2563 สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ พิพิธภัณฑสถานธรรมชาติวิทยา 50 พรรษาสยามบรมราชกุมารีโทร 074-288067-8 อีเมล์ psu. rmuseurngrmail. com