มาตรการการควบคุมโรคลักษณะ ‘บับเบิ้ลแอนด์ซีล’ (Bubble and Seal)

จุดเริ่มต้นของมาตรการ Bubble & Seal ต้องย้อนกลับไปช่วงปลายเดือนมกราคมต่อกุมภาพันธ์ 2564 ที่มีการระบาดในกลุ่มแรงงานข้ามชาติที่ จ.สมุทรสาคร โดย Seal ใช้กับโรงงานที่พนักงานสามารถพักในโรงงานได้ ส่วน Bubble ใช้กับโรงงานที่พนักงานพักอยู่นอกโรงงาน แต่จะควบคุมให้พนักงานไป-กลับโรงงาน-หอพักเท่านั้น 

ความแตกต่างที่สำคัญระหว่างเรือนจำกับโรงงานคือความแออัดและระยะเวลาที่อยู่ร่วมกัน เพราะผู้ต้องขังไม่สามารถเว้นระยะห่างได้ และยังต้องอยู่ร่วมกันในห้องขังเป็นเวลานาน ทำให้ท้ายที่สุดแล้วอาจเกิดการระบาดในเรือนจำจนกว่าจะถึงระดับภูมิคุ้มกันหมู่ประมาณ 70% ในแดนนั้นๆ มาตรการ Bubble & Seal จึงแค่ลดจำนวนผู้ป่วยที่ต้องรายงานเท่านั้น

มาตรการการควบคุมโรคลักษณะ ‘บับเบิ้ลแอนด์ซีล’ (Bubble and Seal) คือ การให้แรงงานอยู่ในพื้นที่เดียวกันเพื่อไม่ให้มีการเคลื่อนย้ายออกไปสู่ภายนอก ควบคู่ไปกับการตรวจหาเชื้อ หากพบผู้ป่วยที่มีอาการ จะส่งต่อไปยังสถานพยาบาลเพื่อทำการรักษา

นายแพทย์อนุรักษ์ สารภาพ
รองนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดสงขลา

นายแพทย์อนุรักษ์ สารภาพ ยังกล่าวอีกว่า การที่แรงงานพม่าอยู่ร่วมกันห้ามออกไปยังพื้นที่ต่างๆ ก็เพื่อลดอัตราการแพร่กระจายเชื้อฯ ออกสู่ชุมชนภายนอก เนื่องจากวัตถุประสงค์หลักของโรงงาน คือการแก้ปัญหาการแพร่ระบาดของเชื้อโรคฯ ไม่ใช่การปิดโรงงาน เนื่องจากหากปิดโรงงานจะทำให้คนงานเหมือนผึ้งแตกรังและขยายตัวไปหลากหลายพื้นที่ทำให้เสี่ยงต่อการกระจายเชื้อในวงกว้าง

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *