เมื่อเดือนมีนาคมมีรายงานพบหญิงชาวเบลเยียม อายุ 90 ปี ได้รับการตรวจหาเชื้อพบว่าติดเชื้อโควิด-19 และเสียชีวิตในเวลาต่อมา นักวิทยาศาสตร์จึงได้นำตัวอย่างจากระบบทางเดินหายใจไปตรวจหาลำดับพันธุกรรม พบว่าหญิงรายดังกล่าวติดเชื้อ 2 สายพันธุ์ คือสายพันธุ์อัลฟ่า และเบต้า ส่วนในประเทศไทยจากการลงพื้นที่ตรวจวิเคราะห์ตัวอย่างแรงงานจากแคมป์ก่อสร้างขนาดใหญ่แห่งหนึ่งในพื้นที่กรุงเทพมหานคร ของกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข พบตัวอย่างที่มีการติดเชื้อร่วมของทั้ง 2 สายพันธุ์ คือสายพันธุ์อัลฟ่า และเดลตาจำนวน 7 ตัวอย่าง ทำให้แพทย์และนักวิจัยได้ตั้งข้อสันนิฐานถึงการกลายพันธุ์หรือการก่อให้เกิดอาการที่รุนแรงกว่าการติดสายพันธุ์เดียวหรือไม่
การติดเชื้อโควิด-19 2 สายพันธุ์ว่า มีโอกาสเกิดขึ้นได้ แต่พบได้น้อยส่วนเรื่องความรุนแรงของการนั้นยังไม่มีข้อมูลที่ระบุได้ว่าจะรุนแรงกว่าการติดเชื้อ 1 สายพันธุ์ เพราะเมื่อเชื้อไวรัสเข้าสู่ร่างกายมนุษย์ อยู่ในร่างกายของมนุษย์ ในสิ่งแวดล้อมเดียวกัน ไวรัสอาจจะมีการถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรม ในทางวิทยาศาสตร์คือความไม่แน่นอน แต่อย่างไรก็ตามยังไม่มีการศึกษาเรื่องการติดเชื้อลูกผสม ยังคงต้องศึกษานัยยะสำคัญเรื่องความรุนแรงของโรค แต่มีความเป็นไปได้เนื่องจากไวรัสมีการเปลี่ยนแปลงทางพันธุกรรมอย่างอิสระ
รศ.ดร.นพ.ศรัญญู ชูศรี
ผู้ช่วยคณบดีคณะแพทยศาสตร์ ฝ่ายโรงพยาบาล
และแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคติดเชื้อ ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ ม.สงขลานครินทร์
การติดเชื้อโควิด-19 2 สายพันธุ์หรือแบบผสม พบในหลายประเทศโดยพบครั้งแรกที่ประเทศบลาซิล ต่อมาที่ประเทศเบลเยียม ส่วนที่ประเทศไทยพบตัวอย่างจากแคมป์ก่อสร้างขนาดใหญ่แห่งหนึ่งในพื้นที่กรุงเทพมหานคร โดยผู้ติดเชื้อดังกล่าวมีอาการไม่รุนแรง และได้รับการดูแลตามมาตรฐานกระทรวงสาธารณสุข
ประเทศไทยพบมีการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 3 สายพันธุ์ คือสายพันธุ์อัลฟา สายพันธุ์เดลตา และสายพันธุ์เบตา โดยสายพันธุ์เดลตาและเบตามีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ส่วนสายพันธุ์อัลฟา มีแนวโน้มลดลง ซึ่งสายพันธุ์เบตาส่วนใหญ่ยังพบในพื้นที่ภาคใต้