กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ร่วมมือ ม.สงขลานครินทร์ จัดตั้งศูนย์ตรวจวิเคราะห์สายพันธุ์ไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ในภาคใต้ รองรับการตรวจทุกสายพันธุ์

เมื่อวันที่ 1 ธันวาคมที่ผ่านมา กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ และมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ลงนามบันทึกความร่วมมือทางวิชาการการจัดตั้งศูนย์ตรวจวิเคราะห์สายพันธุ์ไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ในภาคใต้ Center for Emerging SARS-CoV-2 Lineage Investigation in Southern Thailand (CESLIST) หวังพัฒนาขีดความสามารถในการวิเคราะห์วิจัยสายพันธุ์เชื้อโควิด-19 ในภาคใต้ โดยวางเป้าในการสุ่มตรวจตัวอย่างเดือนละ 300 ตัวอย่าง

ศ.ดร.นพ.สุรศักดิ์ สังขทัต ณ อยุธยา รักษาการแทนรองผู้อำนวยการสำนักวิจัยและพัฒนาด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ กล่าวว่า ที่ผ่านมาสถานการณ์การแพร่ระบาดของภาคใต้มีจำนวนยอดผู้ติดเชื้ออย่างต่อเนื่อง ทำให้ศาสตราจารย์นายแพทย์จรัส สุวรรณเวลา นายกสภามหาวิทยาลัย เล็งเห็นว่ามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์มีผู้เชี่ยวชาญที่มีความรู้ความสามาถจากคณะเทคนิคการแพทย์ และคณะแพทยศาสตร์ในการตรวจสอบระดับเบสเชื้อ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการกลายพันธุ์ของโปรตีนหนาม หรือ Spike protein สามารถกลายไปจากสายพันธุ์ที่เป็นต้นแบบมากน้อยเพียงใด และศึกษารายละเอียดเกี่ยวกับสายพันธุ์ไวรัสโคโรนาที่ระบาดในพื้นที่ของภาคใต้ ซึ่งมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์มีห้องปฏิบัติการตรวจสอบระดับเบสของเชื้อด้วยเทคโนโลยีสมัยใหม่ ชื่อว่า Next generation sequencing หรือเครื่อง NGS และโรงพยาบาลสงขลานครินทร์ ภาควิชาพยาธิวิทยา คณะแพทยศาสตร์มีห้องปฏิบัติการและผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีการแพทย์

อีกทั้งทางกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ได้ส่งผู้เชี่ยวชาญในเชิงเทคนิคร่วมวิเคราะห์ข้อมูล จนกระทั่งทีมนักวิเคราะห์สามารถทำการศึกษาเป็นที่สำเร็จ 2 ครั้ง สุ่มตรวจครั้งละประมาณ 300 ตัวอย่าง ตัวอย่าง เป็นการตรวจแบบถอดรหัสพันธุกรรม หรือโฮจีโนม เป็นการตรวจเชื้อขั้นสูงสุดแบบเปลือยตัวไวรัสทั้งตัว ทำให้ทราบว่าเป็นเชื้อสายพันธุ์ใด โดยจะใช้วิธีสุ่มตรวจเพื่อเฝ้าระวังการแพร่ระบาดในพื้นที่ หากพบการติดเชื้อมากกว่า 50 คนขึ้นไป หรือเป็นการระบาดซ้ำ รวมทั้งการรับวัคซีนแล้วมีการติดเชื้อ ซึ่งข้อมูลที่ได้เบื้องต้นจะนำไปใช้ในการวางแผนการให้วัคซีน การวางแผนสกัดกั้นการเดินทางได้โดยมีรายละเอียดมากขึ้น

สำหรับความร่วมมือในการจัดตั้งศูนย์ตรวจวิเคราะห์สายพันธุ์ไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ในภาคใต้ในครั้งนี้ นอกจากจะทำให้การวิเคราะห์ วิจัยสายพันธุ์ไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ในภาคใต้ดำเนินการได้อย่างมีประสิทธิภาพ สอดคล้องกับสถานการณ์ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนาในภาคใต้แล้ว ยังเป็นการพัฒนาบุคลากรและนักวิจัยของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ให้มีความรู้ความเชี่ยวชาญ ได้รับการถ่ายทอดเทคโนโลยีจากกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ซึ่งเป็นหน่วยงานเชี่ยวชาญของประเทศ ทำให้มีความพร้อมในการรับมือกับสถานการณ์การระบาดมากขึ้น

เมื่อวันที่ 1 ธันวาคมที่ผ่านมา กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ และมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ลงนามบันทึกความร่วมมือทางวิชาการการจัดตั้งศูนย์ตรวจวิเคราะห์สายพันธุ์ไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ในภาคใต้ Center for Emerging SARS-CoV-2 Lineage Investigation in Southern Thailand (CESLIST) หวังพัฒนาขีดความสามารถในการวิเคราะห์วิจัยสายพันธุ์เชื้อโควิด-19 ในภาคใต้ โดยวางเป้าในการสุ่มตรวจตัวอย่างเดือนละ 300 ตัวอย่าง

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *