วันนี้ (9 มีนาคม 2565) ศูนย์อนามัยที่ 12 ยะลา จัดประชุมพัฒนาศักยภาพ การสร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพ และนวัตกรรมการสร้างเสริมสุขภาพสำหรับพระภิกษุสงฆ์ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาศักยภาพภิกษุในพื้นที่เขต 12 ซึ่งเป็นผู้นำทางจิตวิญญาณและผู้นำด้านสุขภาวะของชุมชนให้มีศักยภาพในการสร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพด้วยตนเอง สามารถดูแลสุขอนามัยของตนเองได้ สอดคล้องกับธรรมนูญสุขภาพพระสงฆ์แห่งชาติ ทราบแนวทางการขับเคลื่อนวัด สู่วัดส่งเสริมสุขภาพ ตามมาตรฐานใหม่ของกรมอนามัย ปี 2565 โดยมีกลุ่มเป้าหมายผู้เข้าร่วมประชุม เป็นภิกษุ/ ผู้รับผิดชอบงานด้านวัดจาก 7 จังหวัดภาคใต้ตอนล่าง จำนวน 70 รูป/คน
ข้อมูลจาก สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ ในเดือนกุมภาพันธ์ 2565 พบว่า ประเทศไทยมีวัดจำนวน 42,889 วัด เป็นวัดในเขตสุขภาพที่ 12 จำนวน 1,123 วัด คิดเป็นร้อยละ 2.62 ของประเทศไทย จากข้อมูลสำนักผู้สูงอายุกรมอนามัยพบว่า มากกว่าร้อยละ 50 ของพระสงฆ์เป็นผู้สูงอายุและมีแนวโน้มเป็นผู้สูงอายุมากขึ้น มีพฤติกรรมเสี่ยงต่อสิ่งที่เป็นสาเหตุของการเกิดโรค หากไม่มีกระบวนการส่งเสริมและดูแลพระสงฆ์ด้านสุขภาพ จะส่งผลให้พระสงฆ์ ผู้สืบทอดพระพุทธศาสนา และการเป็นแบบอย่างที่ดีให้แก่ชุมชนในการดูแลสุขภาพตนเอง สิ่งแวดล้อม รวมถึงการพัฒนาสุขภาวะของชุมชน อ่อนแอลง
โดยในปี 2560 มีการประกาศธรรมนูญสุขภาพพระสงฆ์แห่งชาติ พุทธศักราช 2560 ขึ้นภายใต้มติมหาเถรสมาคม เมื่อวันที่ ๒๐ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ เรื่อง การดําเนินงานพระสงฆ์กับการพัฒนาสุขภาวะที่กําหนดให้ ดำเนินการวัดส่งเสริมสุขภาพและ ธรรมนูญสุขภาพพระสงฆ์แห่งชาติ เพื่อเป็นกรอบและแนวทางการ ส่งเสริมสุขภาวะพระสงฆ์ทั่วประเทศ ซึ่งมีเป้าหมายขับเคลื่อน 3 ประเด็นสำคัญ คือ 1. พระสงฆ์กับการดูแลสุขภาพตนเอง ตามหลักพระธรรมวินัย 2. ชุมชนและสังคมกับการดูแลอุปัฏฐากพระสงฆ์ที่ถูกต้องตามหลักพระธรรมวินัย และ 3. บทบาทพระสงฆ์ในการเป็นผู้นําด้านสุขภาวะของชุมชนและสังคม โดยยึดหลักการสําคัญคือ การใช้ทางธรรมนําทางโลก การขับเคลื่อนการพัฒนาสุขภาวะพระสงฆ์จะส่งผลต่อความเชื่อมโยงระหว่างวัดกับชุมชน ทำให้พระแข็งแรง วัดมั่นคง ชุมชนเป็นสุข
กรมอนามัย จึงมีการดำเนินงานโครงการวัดส่งเสริมสุขภาพ โดยเน้นการพัฒนาวัดให้เอื้อต่อการส่งเสริมสุขภาพ และอนามัยสิ่งแวดล้อม โดยใช้หลัก “5 ร. ” คือ สะอาดร่มรื่น สงบร่มเย็น สุขภาพร่วมสร้าง ศิลปะร่วมจิตวิญญาณ และ ชาวประชาร่วมพัฒนา โดยใน ปี 2564 เขตสุขภาพที่ 12 มีวัดส่งเสริม-สุขภาพผ่านเกณฑ์ประเมิน จำนวน 976 วัด และมีการพัฒนาต่อยอด วัดส่งเสริมสุขภาพสู่วัดรอบรู้ด้านสุขภาพ จำนวน 7 วัด มีการพัฒนาพระคิลานุปัฎฐาก หรือพระอาสาสมัครประจำวัด จำนวน 251 รูป สำหรับปี 2565 โครงการพระสงฆ์กับการพัฒนาสุขภาวะ มีกิจกรรมสำคัญ ได้แก่ การอบรมพระคิลานุปัฏฐาก (พระ อสว.) การเยี่ยมเสริมพลังและประเมินผลการดำเนินงานวัดส่งเสริมสุขภาพและ พระคิลานุปัฏฐาก ในพื้นที่ 7 จังหวัดภาคใต้ การคัดเลือกผลงานวัดส่งเสริมสุขภาพ วัดรอบรู้ พระคิลาดีเด่น การจัดอบรมออนไลน์ การใช้งานระบบ health temple การเข้าเรียนพระคิลาแบบออนไลน์ และพฤติกรรมพึงประสงค์ และการจัดประชุมพัฒนาศักยภาพเรื่องความรอบรู้ด้านสุขภาพและนวัตกรรมการส่งเสริมสุขภาพสำหรับภิกษุสงฆ์ โดยมีเป้าหมายคือ พระสงฆ์ มีพฤติกรรมสุขภาพที่พึงประสงค์ ร้อยละ 15 มีพระคิลานุปัฏฐาก 1 รูป/1 ตำบล วัดส่งเสริมสุขภาพผ่านเกณฑ์ (ร้อยละ 60) และ มีวัดส่งเสริมสุขภาพสู่วัดรอบรู้ด้านสุขภาพ อย่างน้อย จังหวัดละ 1 วัด
ดังนั้น เพื่อให้เกิดการพัฒนาความรอบรู้ด้านสุขภาพและวัดส่งเสริมสุขภาพ ศูนย์อนามัยที่ 12 ยะลา จึงจัดโครงการพระสงฆ์กับการพัฒนาสุขภาวะ เขตสุขภาพที่ 12 ในกิจกรรม จัดประชุมพัฒนาศักยภาพความรอบรู้ด้านสุขภาพและนวัตกรรมการส่งเสริมสุขภาพ สำหรับภิกษุสงฆ์ โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนาศักยภาพ ภิกษุในพื้นที่เขต 12 ซึ่งเป็นผู้นำทางจิตวิญญาณและผู้นำด้านสุขภาวะของชุมชนให้มีศักยภาพในการสร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพด้วยตนเอง สามารถดูแลสุขภาพอนามัยของตนเองได้ สอดคล้องกับธรมนูญสุขภาพพระสงฆ์แห่งชาติ ทราบแนวทางการขับเคลื่อนวัด สู่วัดส่งเสริมสุขภาพ ตามมาตรฐานใหม่ของกรมอนามัย ปี 2565 มีกลุ่มเป้าหมายผู้เข้าร่วมประชุม คือตัวแทนจากวัดที่ได้รับโล่หรือเกียรติบัตร ภิกษุ และผู้รับผิดชอบงานด้านวัด จาก 7 จังหวัดภาคใต้ รวมจำนวน 80 รูป/คน การประชุม ประกอบด้วย การบรรยาย สาธิต และมอบโล่วัดส่งเสริมสุขภาพดีเด่นระดับจังหวัด ระดับเขต มอบเกียรติบัตรวัดรอบรู้ดีเด่นระดับเขต มอบโล่พระคิลานุปัฏฐากดีเด่นระดับเขตและมอบเกียรติบัตรพระคิลานุปัฏฐากดีเด่นระดับจังหวัด/ ผู้เข้าร่วมการประชุม เป็นภิกษุแกนนำด้านการพัฒนาวัดส่งเสริมสุขภาพหรือผู้แทน จากวัดในเขตสุขภาพที่ 12 และผู้รับผิดชอบงานด้านพระสงฆ์ ในพื้นที่ จำนวน 70 รูป /คน
กรมอนามัยได้มีการพัฒนาวัด ให้เป็นวัดส่งเสริมสุขภาพโดยใช้หลัก 5 ร. คือ
ร. สะอาดร่มรื่น ได้แก่ อาคารสถานที่ บริเวณและสภาพแวดล้อมภายในวัดสะอาด และมีการป้องกันควบคุมโรค
ร. สงบร่มเย็น ได้แก่ มีการเทศนา ปฏิบัติธรรม ทำบุญ จัดกิจกรรมและสิ่งแวดล้อมให้เอื้อต่อการส่งเสริมสุขภาพ
ร. สุขภาพร่วมสร้าง ได้แก่ มีกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพบุคลากรในวัด การบริโภคอาหาร การดูแลช่องปาก การออกกำลังกายและมีระบบการดูแลและส่งต่อเมื่อเจ็บป่วย
ร. ศิลปะร่วมจิต (วิญญาณ) ได้แก่ การดำรงรักษาสืบสานศิลปะ วัฒนธรรม ประเพณีและภูมิปัญญาและกิจกรรมที่เอื้อต่อการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ
และ ร. ชาวประชาร่วมพัฒนา ได้แก่ การให้ประชาชนมีส่วนร่วมเข้าเป็นคณะกรรมการดำเนินงานในการพัฒนาสู่วัดส่งเสริมสุขภาพ ให้สามารถบริหารจัดการสุขภาพได้ด้วยตนเอง
สำหรับโครงการพระสงฆ์กับการพัฒนาสุขภาวะ เขตสุขภาพที่ 12 กิจกรรมจัดประชุมพัฒนาศักยภาพเรื่องความรอบรู้ด้านสุขภาพ และนวัตกรรมการส่งเสริมสุขภาพสำหรับภิกษุสงฆ์ เป็นโครงการสำคัญ ในการขับเคลื่อน “ยุทธศาสตร์การดำเนินงานพระสงฆ์กับการพัฒนาสุขภาวะ” ภายใต้ธรรมนูญสุขภาพพระสงฆ์ ผลักดันให้ทุกวัดเป็นวัดส่งเสริมสุขภาพ ขับเคลื่อนการดำเนินงานความรอบรู้ด้านสุขภาพของพระสงฆ์ ช่วยให้พระสงฆ์ ซึ่งเป็นผู้นำด้านจิตวิญญาณและเป็นผู้นำด้านสุขภาวะของชุมชน ใด้มีความรู้ ความเข้าใจ มีทักษะในการดูแลสุขภาพอนามัยของตัวเองและประชาชนในชุมชน รวมทั้งวัด มีการจัดสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาพ เป็นศูนย์กลางขับเคลื่อนสุขภาวะชุมชนเกิด ชุมชนรอบรู้ด้านสุขภาพ เกิดสังคมแห่งความเอื้ออาทร ระหว่างวัดกับชุมชน ทำให้ “พระแข็งแรง วัดมั่นคง ชุมชนเป็นสุข