ก่อนเข้ารับการฉีด หากเด็กมีอาการป่วย มีไข้ ร่างกายอ่อนเพลีย ควรรักษาอาการให้หายจนกว่าจะเป็นปกติ สำหรับเด็กที่มีโรคประจำตัวรุนแรง อาการยังไม่คงที่ อาจมีอันตรายถึงชีวิตควรเข้ารับการประเมินอาการจากแพทย์ประจำตัวก่อนเข้ารับการฉีด ส่วนอาการที่พบได้หลังฉีดวัคซีนไฟเซอร์ คือ ปวด บวม แดง เฉพาะที่ ปวดศีรษะ อ่อนเพลีย เป็นไข้ จึงจำเป็นต้องสังเกตอาการหลังการฉีดอย่างน้อย 30 นาที ในสถานที่ฉีดวัคซีนด้วยเสมอ และอาการดังกล่าว สามารถหายได้เองเมื่อรับประทานยาลดไข้และพักผ่อนให้เพียงพอ หลังฉีดวัคซีน 1 สัปดาห์ ผู้ปกครองควรดูแลไม่ให้บุตรหลานออกกำลังกาย ปีนป่าย ว่ายน้ำ หรือกิจกรรมที่ใช้แรงมาก เป็นระยะเวลา 7 วัน เพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนหากเกิดกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ และหากเกิดอาการรุนแรงหลังรับวัคซีน ได้แก่ เจ็บหน้าอก หายใจเร็ว เหนื่อยง่าย ใจสั่น ไข้สูงมากกว่า 39 องศาเซลเซียส ปวดหัวรุนแรง อาเจียนทานอาหารไม่ได้หรือซึมไม่รู้สึกตัว ควรพบแพทย์ทันที หรือโทร 1669 เพื่อรับบริการทางการแพทย์ฉุกเฉิน ซึ่งในแต่ละพื้นที่ได้เตรียมความพร้อมของบุคลากรทางการแพทย์และกุมารแพทย์ในการตรวจวินิจฉัย รักษาและการติดตามผลข้างเคียงหลังการฉีดวัคซีน จึงขอให้ผู้ปกครองมั่นใจในเรื่องของความปลอดภัย ตามนโยบายการฉีดวัคซีนให้เด็กถ้วนหน้าให้ดีที่สุด ที่ยึดประโยชน์ของผู้ปกครองและประชาชนไทยทุกคนเป็นสำคัญ
กรมควบคุมโรค เตือนปชช.ระวังป่วยโรคไข้หวัดใหญ่ กลุ่มเสี่ยงควรรีบฉีดวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่
จากการเฝ้าระวังของกรมควบคุมโรค สถานการณ์โรคไข้หวัดใหญ่ในปีนี้ ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม - 28 ธันวาคม 2564 พบผู้ป่วย 10,384 ราย ไม่มีผู้เสียชีวิต กลุ่มอายุที่พบป่วยมากที่สุดคือ กลุ่มเด็กแรกเกิด - 4 ปี รองลงมาคือกลุ่มอายุ 25-34 ปี และกลุ่มอายุ 15-24 ปี จังหวัดที่มีอัตราป่วยสูงสุด 5 อันดับแรก ได้แก่ อุบลราชธานี พิษณุโลก เชียงราย น่าน และตาก ตามลำดับ
กรมควบคุมโรค เตือน”ปลายฝนต้นหนาวนี้ นักท่องเที่ยวเข้าป่ากางเต็นท์-เกษตรกร ระวังตัวไรอ่อนกัด เสี่ยงป่วยด้วยโรคไข้รากสาดใหญ่”
จากการเฝ้าระวังของกรมควบคุมโรค สถานการณ์ “โรคไข้รากสาดใหญ่” หรือ “โรคสครับไทฟัส” (Scrub typhus) ในปีนี้ ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม - 27 ต.ค. 64 มีรายงานพบผู้ป่วยโรคไข้รากสาดใหญ่ 2,506 ราย พบผู้เสียชีวิต 1 ราย ภาคที่มีจำนวนผู้ป่วยสูงสุด คือ ภาคเหนือ โดยพบว่าเครือข่ายบริการสุขภาพเขต 1 พบผู้ป่วยสูงสุด จำนวน 1,246 ราย
การปฏิบัติตนเมื่อออกจากโรงพยาบาลไปพักฟื้นที่บ้าน
โรคโควิด-19 รักษาหายแล้ว ต้องทำอย่างไร มีอะไรบ้างที่ต้องระวัง คนไข้โควิด-19 ส่วนใหญ่ที่รักษาตัวที่โรงพยาบาล, โรงพยาบาลสนาม, Hospitel หรือสถานที่รักษาตัวผู้ป่วยโควิด-19 ต่าง ๆ เมื่อคุณหมออนุญาตให้กลับบ้านส่วนใหญ่จะไม่มีอาการ หรือถ้ามีจะพบอาการเพียงเล็กน้อย มักเป็นผู้ที่ได้รับการรักษาอย่างน้อย 14 วัน โดยมีใบรับรองแพทย์ยืนยันการรักษา โดยกลุ่มนี้ไม่จำเป็นต้องตรวจหาเชื้อก่อนกลับบ้านหรือกลับไปทำงาน
กรมควบคุมโรค “เตือนเล่นน้ำทะเลช่วงหน้าฝน เสี่ยงพบแมงกะพรุนพิษ”
จากการเฝ้าระวังของกรมควบคุมโรค สถานการณ์การบาดเจ็บรุนแรง หมดสติ และเสียชีวิตจากพิษแมงกะพรุนกล่อง ระหว่างปี 2542 - 2563 มีจำนวนทั้งสิ้น 47 ราย โดยในสัปดาห์ที่ผ่านมา มีรายงานพบผู้เสียชีวิตจากการถูกแมงกะพรุนพิษ จำนวน 1 ราย เป็นนักท่องเที่ยวต่างชาติลงเล่นน้ำทะเลนอกตาข่ายกั้นขณะฝนตกที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี
กรมควบคุมโรค เตือนระวังป่วยโรคไข้เลือดออก แนะช่วงหยุดอยู่บ้านขอให้กำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย
กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข เตือนประชาชนช่วงหน้าฝนนี้ อาจมีน้ำขังตามภาชนะหรือวัสดุต่างๆ ซึ่งจะเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ของลูกน้ำยุงลาย ทำให้เสี่ยงป่วยด้วยโรคไข้เลือดออก ขอความร่วมมือประชาชนช่วยกันกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายตามภาชนะหรือวัสดุต่างๆ บริเวณรอบตัวบ้าน ที่มีน้ำท่วมขังหลังจากฝนตก โดยถือโอกาสช่วงที่ต้องหยุดอยู่บ้านเนื่องจากสถานการณ์ของโรคโควิด 19 สำรวจแหล่งน้ำขังที่เป็นแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย พร้อมแนะประชาชน เก็บบ้าน เก็บขยะ เก็บน้ำ ตามมาตรการปราบยุงลาย “3 เก็บ ป้องกัน 3 โรค”
กรมควบคุมโรค ติดตามสถานการณ์ “โรคลัมปี สกิน” อย่างใกล้ชิด ยืนยันโรคนี้ยังไม่ถือเป็นโรคติดต่อจากสัตว์สู่คน
กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ติดตามสถานการณ์ “โรคลัมปี สกิน” อย่างใกล้ชิด พร้อมชี้แจงประเด็นหนังสือราชการแจ้งผู้บริหารสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 1-12 และสถาบันป้องกันโรคเขตเมือง เกี่ยวกับ “โรคลัมปี สกิน” ที่ระบาดในโค กระบือ เป็นการตอกย้ำความพร้อมให้หน่วยงานสนับสนุนกรมปศุสัตว์เพื่อประสิทธิภาพการป้องกันควบคุมโรคในสัตว์สำเร็จโดยเร็ว หวั่นเชื้ออาจติดมาสู่คนได้ หลังมีรายงานพบผู้ป่วยที่อียิปต์ จึงต้องวางระบบเฝ้าระวัง รับมือในอนาคตอย่างทันท่วงที ยืนยันโรคนี้ยังไม่ถือเป็นโรคติดต่อจากสัตว์สู่คน
กรมควบคุมโรค ขอความร่วมมือประชาชนเคร่งครัดมาตรการ D-M-H-T-T-A แม้ฉีดวัคซีนแล้ว และมีประกาศผ่อนคลายมาตรการควบคุมโรค
กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ขอความร่วมมือประชาชนเคร่งครัดมาตรการ D-M-H-T-T-A อย่างต่อเนื่อง แม้จะฉีดวัคซีนไปแล้ว และมีประกาศผ่อนคลายมาตรการควบคุมโรคในสถานที่ 5 ประเภทในเขตกรุงเทพมหานคร เมื่อออกไปทำธุระส่วนตัวนอกบ้านขอให้สวมหน้ากาก 100% ล้างมือบ่อยๆ และเว้นระยะห่าง รวมถึงหลีกเลี่ยงการสัมผัสจุดเสี่ยงที่สัมผัสร่วมกันบ่อยๆ เพื่อป้องกันโรคโควิด 19 และลดโอกาสการติดเชื้อ
กรมควบคุมโรค เผยแนวปฏิบัติในการออกหนังสือรับรองการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันกรณีโรคโควิด 19 เพื่อใช้สำหรับการเดินทางระหว่างประเทศ
กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข เผยแนวปฏิบัติในการออกหนังสือรับรองการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันกรณีโรคโควิด 19 เพื่อใช้สำหรับการเดินทางระหว่างประเทศ (เล่มเหลืองโควิด) ในผู้ที่รับการฉีดวัคซีนครบถ้วน โดยสามารถขอรับหนังสือรับรองดังกล่าวได้ที่ 4 หน่วยงานในสังกัดกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข
กรมควบคุมโรค เตือนประชาชนระมัดระวังอันตรายจากการเก็บเห็ดป่ามารับประทาน
จากการเฝ้าระวังของกรมควบคุมโรค สถานการณ์โรคอาหารเป็นพิษจากการรับประทานเห็ดพิษ ปี 2564 (วันที่ 1 มกราคม - 16 พฤษภาคม 2564) พบผู้ป่วยแล้ว จำนวน 121 ราย ยังไม่มีรายงานผู้เสียชีวิต ซึ่งโรคดังกล่าวจะพบผู้ป่วยจำนวนมากในช่วงฤดูฝน (พฤษภาคม-ตุลาคม) ของทุกปี โดยจากข้อมูลย้อนหลังในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา (ปี 2559-2563) พบผู้ป่วยเฉพาะในเดือนมิถุนายน จำนวน 235, 173, 878, 202 และ 528 ราย ตามลำดับ
- 1
- 2