รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา เป็นประธานเปิดตัวโปรแกรมฟื้นฟูสมรรถภาพผู้มีอาการ Post Covid Syndrome ด้วยศาสตร์การแพทย์แผนไทยและการแพทย์ผสมผสาน จัดโดยมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ร่วมกับ เครือโรงแรม La Vela เขาหลัก จังหวัดพังงา และสมาคมโรงแรมที่พักส่งเสริมสุขภาพอันดามันและอ่าวไทย เพื่อหวังสร้างรายได้จากการท่องเที่ยวเชิงส่งเสริมสุขภาพให้กับประเทศไทย
ภาวะ Long COVID เกิดจากความผิดปกติภายในร่างกายหลังติดเชื้อโควิด-19 เนื่องจากร่างกายยังฟื้นฟูไม่เต็มที่ มีโอกาสเกิดขึ้นได้ 30-50% จากจำนวนผู้ติดเชื้อโควิด-19 ที่รักษาหายแล้ว โดยเฉพาะผู้ที่มีอาการป่วยรุนแรงและมีโอกาสเกิดขึ้นนานกว่า 12 สัปดาห์ โดยข้อมูลจากกรมการแพทย์พบว่าส่วนใหญ่ผู้ที่มีภาวะ Long COVID ได้รับผลกระทบระยะยาวกับระบบทางเดินหายใจ ผลกระทบทางด้านจิตใจ ระบบประสาท ดังนั้นควรหมั่นสังเกตอาการ ดูแลรักษาร่างกายและเสริมภูมิคุ้มกันด้วยอาหารที่มีประโยชน์ เพื่อฟื้นฟูสุขภาพร่างกายให้แข็งแรง
เครื่องผลิตน้ำยาฆ่าเชื้อที่มีประสิทธิภาพสูง นวัตกรรมจากนักวิจัยคณะวิทยาศาสตร์ ม.สงขลานครินทร์ ที่ได้รับการพัฒนาร่วมกับภาคเอกชนสู่อุปกรณ์ผลิตกรดไฮโปคลอรัสสำหรับฆ่าเชื้อโรคแบบใช้ในครัวเรือน KIKOWA@HOME โดยอาศัยน้ำเปล่าสะอาดและเกลือแกงผ่านระบบเทคโนโลยีทางเคมีไฟฟ้าที่ใช้วัสดุผสมระดับนาโนที่มีลักษณะเฉพาะสามารถผลิตน้ำยาฆ่าเชื้อได้ตลอดเวลา ปลอดภัยปราศจากสารเคมีและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
เมื่อเดือนมีนาคมมีรายงานพบหญิงชาวเบลเยียม อายุ 90 ปี ได้รับการตรวจหาเชื้อพบว่าติดเชื้อโควิด-19 และเสียชีวิตในเวลาต่อมา นักวิทยาศาสตร์จึงได้นำตัวอย่างจากระบบทางเดินหายใจไปตรวจหาลำดับพันธุกรรม พบว่าหญิงรายดังกล่าวติดเชื้อ 2 สายพันธุ์ คือสายพันธุ์อัลฟ่า และเบต้า ส่วนในประเทศไทยจากการลงพื้นที่ตรวจวิเคราะห์ตัวอย่างแรงงานจากแคมป์ก่อสร้างขนาดใหญ่แห่งหนึ่งในพื้นที่กรุงเทพมหานคร ของกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข พบตัวอย่างที่มีการติดเชื้อร่วมของทั้ง 2 สายพันธุ์ คือสายพันธุ์อัลฟ่า และเดลตาจำนวน 7 ตัวอย่าง ทำให้แพทย์และนักวิจัยได้ตั้งข้อสันนิฐานถึงการกลายพันธุ์หรือการก่อให้เกิดอาการที่รุนแรงกว่าการติดสายพันธุ์เดียวหรือไม่
จุดเริ่มต้นของมาตรการ Bubble & Seal ต้องย้อนกลับไปช่วงปลายเดือนมกราคมต่อกุมภาพันธ์ 2564 ที่มีการระบาดในกลุ่มแรงงานข้ามชาติที่ จ.สมุทรสาคร โดย Seal ใช้กับโรงงานที่พนักงานสามารถพักในโรงงานได้ ส่วน Bubble ใช้กับโรงงานที่พนักงานพักอยู่นอกโรงงาน แต่จะควบคุมให้พนักงานไป-กลับโรงงาน-หอพักเท่านั้น
สำหรับผู้ที่เตรียมตัวเพื่อฉีดวัคซีนในกรณีรับประทานยาประจำตัว สามารับประทานได้ตามปกติ ยกเว้นยาลดการปวดข้อ ยากดภูมิคุ้มกัน ควรปรึกษาแพทย์เจ้าของไข้ เนื่องจากจะทำให้เม็ดเลือดขาวต่ำ เพราะเมื่อได้รับวัคซีนระบบภูมิคุ้มกันจะเริ่มทำงานโดยการสร้างแอนติบอดี เม็ดเลือดขาวจะเข้าไปจับเชื้อโรคที่บุกรุกและทำการจดจำ และเม็ดเลือดขาวจะผลิตแอนติบอดีขึ้นมาเพื่อต่อสู้กับโรค ฉะนั้นหากมีภาวะเม็ดเลือดขาวต่ำ เมื่อฉีดวัคซีนโควิด-19 เข้าไปก็ไม่เกิดประโยชน์ ฉะนั้นต้องรักษารอให้เม็ดเลือดขาวกลับมาอยู่ในภาวะปกติถึงจะฉีดวัคซีนได้ โดยกลไกธรรมชาติของร่างกายเมื่อได้รับเชื้อก่อโรคจะสร้างภูมิคุ้มกันเพื่อต่อสู้กับเชื้อโรคนั้นๆ และระบบภูมิคุ้มกันจะสามารถจดจำเชื้อโรคนั้นได้ ในผู้ใหญ่ต้องฉีด 2 ครั้ง เพื่อเป็นการกระตุ้นการสร้างภูมิคุ้มกันให้เพียงพอ
ศาสตราจารย์ ดร.เสาวลักษณ์ พงษ์ไพจิตร อาจารย์ประจำภาควิชาจุลชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ ม.อ. กล่าวว่า เชื้อราดำที่พบในประเทศอินเดีย เรียกว่า เชื้อมิวคอร์ไมโคซิส ลักษณะเป็นเส้นฝอยสีเทา-ดำ เจริญอิสระอยู่ในธรรมชาติมีสปอร์ล่องลอยอยู่ในอากาศสามารถพบได้ทั่วไป ปกติไม่ใช่เชื้อราที่เป็นอันตรายต่อคนที่ร่างกายปกติแข็งแรง แต่จะส่งผลกระทบต่อผู้ที่มีระบบภูมิคุ้มกันร่างกายที่อ่อนแอ หรือผู้ที่รับประทานยาสเตียรอยด์เพื่อรักษาอาการอักเสบในปอดที่มีผลกดภูมิคุ้มกัน โดยก่อนหน้านี้สหรัฐอเมริกาเคยพบเชื้อราเช่นกัน
กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข เผยแนวปฏิบัติในการออกหนังสือรับรองการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันกรณีโรคโควิด 19 เพื่อใช้สำหรับการเดินทางระหว่างประเทศ (เล่มเหลืองโควิด) ในผู้ที่รับการฉีดวัคซีนครบถ้วน โดยสามารถขอรับหนังสือรับรองดังกล่าวได้ที่ 4 หน่วยงานในสังกัดกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข
ศาสตราจารย์ นพ.วีระศักดิ์ จงสู่วิวัฒน์วงศ์ สาขาวิชาระบาดวิทยา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ กล่าวถึงการใช้วัคซีนป้องกัน Covid-19 ในประเทศไทยว่า ปัจจุบันเราคงต้องใช้วัคซีน Sinovac ที่ผลิตจากประเทศจีนเป็นหลักในการป้องกันโควิด 19 ไปอีกระยะหนึ่งกว่าที่จะได้วัคซีนชนิดอื่นๆ เช่น AstraZeneca และ Pfizer เข้ามาเป็นตัวหลัก เพราะทั่วโลกยังขาดแคลนวัคซีนอยู่ และประเทศผู้ผลิตยังคงต้องใช้ฉีดในประเทศตนเองให้ทั่วถึงก่อน อีกทั้งกำลังผลิตที่เชื่อถือได้ที่เรายังติดต่อได้อยู่ขณะนี้ก็ยังเป็นจากประเทศจีน
การเข้ารับวัคซีนป้องกันโควิด-19 ตามแผนการฉีดวัคซีนของประเทศไทย จะเริ่มฉีดวัคซีนระยะที่ 2 ในกลุ่มผู้สูงอายุ (60 ปีขึ้นไป) และกลุ่มผู้ป่วย 7 โรคเสี่ยง เพื่อช่วยลดความรุนแรงของการป่วยหากติดเชื้อ ลดความเสี่ยงต่อการติดเชื้อ และสร้างภูมิคุ้มกันหมู่ให้กับสังคมไทย โดยทางโรงพยาบาลสงขลานครินทร์ได้วางแนวทางสำหรับการจัดการระบบการฉีดวัคซีนโควิด-19 เป็นที่เรียบร้อย โดยเน้นย้ำสำหรับผู้ลงทะเบียนผ่าน “หมอพร้อม” ที่แจ้งความประสงค์รับวัคซีนที่โรงพยาบาลสงขลานครินทร์ สามารถเข้ารับวัคซีนในวันที่ 7 มิถุนายน 2564 ณ ศูนย์กีฬา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์