นายแพทย์สุวรรณชัย วัฒนายิ่งเจริญชัย อธิบดีกรมอนามัย กล่าวว่า ช่วงหน้าฝน พ่อแม่ ผู้ปกครอง ต้องดูแลสุขภาพเด็กเล็กเป็นพิเศษ เนื่องจากเสี่ยงป่วยโรคไข้หวัด ไข้หวัดใหญ่ ตาแดง และอาหารเป็นพิษ พ่อแม่จึงต้องคอยเฝ้าระวังสังเกตอาการของเด็ก ซึ่งโรคติดต่อที่พบได้บ่อยในเด็กในช่วงหน้าฝน คือ โรคไข้หวัด และไข้หวัดใหญ่ โดยอาการจะมีไข้สูงเฉียบพลัน หนาวสั่น ปวดศีรษะ ไอ จาม หรือมีน้ำมูกไหล อีกทั้งโรคโควิด- 19 ยังคงต้องเฝ้าระวังอย่างต่อเนื่อง การดูแลไม่ให้ป่วยง่ายพ่อแม่ควรสร้างภูมิคุ้มกันที่ดีให้กับเด็ก
กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข แนะ 4 ประเภทอาหาร เพื่อเป็นทางเลือกช่วยเลิกบุหรี่ได้สำเร็จ พร้อมชี้อาหารบางชนิดกระตุ้นความอยากบุหรี่ ควรเลี่ยง นายแพทย์สุวรรณชัย วัฒนายิ่งเจริญชัย อธิบดีกรมอนามัย กล่าวว่า บุหรี่เป็นปัจจัยเสี่ยงที่สําคัญของโรคหลอดเลือดหัวใจ โรคหลอดเลือดสมองตีบ โรคถุงลมโป่งพอง และเป็นสาเหตุสําคัญของโรคมะเร็งปอด ผู้ที่อยากเลิกบุหรี่ จึงต้องเริ่มจากการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม อาจใช้การบำบัดทางการแพทย์ร่วมกับการเลือกกินอาหารที่มีส่วนช่วยให้การเลิกบุหรี่ประสบความสำเร็จได้ มี 4 ประเภท
วันนี้ (9 มีนาคม 2565) ศูนย์อนามัยที่ 12 ยะลา จัดประชุมพัฒนาศักยภาพ การสร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพ และนวัตกรรมการสร้างเสริมสุขภาพสำหรับพระภิกษุสงฆ์ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาศักยภาพภิกษุในพื้นที่เขต 12 ซึ่งเป็นผู้นำทางจิตวิญญาณและผู้นำด้านสุขภาวะของชุมชนให้มีศักยภาพในการสร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพด้วยตนเอง สามารถดูแลสุขอนามัยของตนเองได้ สอดคล้องกับธรรมนูญสุขภาพพระสงฆ์แห่งชาติ ทราบแนวทางการขับเคลื่อนวัด สู่วัดส่งเสริมสุขภาพ ตามมาตรฐานใหม่ของกรมอนามัย ปี 2565 โดยมีกลุ่มเป้าหมายผู้เข้าร่วมประชุม เป็นภิกษุ/ ผู้รับผิดชอบงานด้านวัดจาก 7 จังหวัดภาคใต้ตอนล่าง จำนวน 70 รูป/คน
นายแพทย์สุวรรณชัย วัฒนายิ่งเจริญชัย อธิบดีกรมอนามัย กล่าวว่า ลองโควิด (Long COVID) หรือ Post COVID-19 Syndrome คือ ภาวะของคนที่หายจากโควิด-19 แล้วแต่ยังต้องเผชิญกับอาการที่หลงเหลืออยู่ ซึ่งอาการลองโควิดมีโอกาสเกิดขึ้นได้ 30 – 50 เปอร์เซ็นต์ จากจำนวนผู้ติดเชื้อโควิด-19 ที่รักษาหายแล้ว โดยเฉพาะ ผู้ที่มีอาการป่วยรุนแรง ดังนั้น ผู้ป่วยลองโควิด-19 ควรดูแลสุขภาพร่างกายให้แข็งแรงและสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคของตนเองอยู่เสมอ ด้วยการกินอาหารที่ดีมีประโยชน์ครบ 5 หมู่ ปรุงสุก สะอาด เน้นอาหารย่อยง่าย เนื่องจากอาจมีความผิดปกติของระบบทางเดินอาหาร และหากมีอาการเบื่ออาหาร ควรแบ่งอาหารเป็นมื้อย่อย ๆ หลาย ๆ มื้อ เพื่อรักษาระดับน้ำตาลในเลือดให้คงที่ตลอดวัน ไม่ให้ร่างกายอ่อนล้า อ่อนเพลีย และควรเลือกกินอาหารที่มีโปรตีน เช่น เนื้อสัตว์ ไข่ นม เนยแข็ง ถั่วต่าง ๆ เต้าหู้ รวมทั้งบริโภคอาหารที่มีจุลินทรีย์สุขภาพ หรือโพรไบโอติกส์ (Probiotics)
นายแพทย์สุวรรณชัย วัฒนายิ่งเจริญชัย อธิบดีกรมอนามัย กล่าวว่า หลังจากมีกระแสในการกิน “ปลาหมึกชอต” คือการนำปลาหมึกตัวเล็ก สด ๆ เอาหัวจุ่มลงไปในแก้วที่บรรจุน้ำจิ้ม เพื่อให้หมึกดูดเอาน้ำจิ้มซีฟู้ดเข้าตัว จากนั้นกินปลาหมึกโดยกัดส่วนหัว แล้วค่อยกัดหรือหั่นส่วนลำตัวกินต่อ หรือหากปลาหมึกตัวเล็กพอ ก็อาจจะเอาเข้าปากกินทั้งตัวนั้น ซึ่งพฤติกรรมการกินดังกล่าวอาจจะเสี่ยงได้รับเชื้ออหิวาต์เทียม หรือ Vibrio parahaemolyticus ที่เป็นเชื้อแบคทีเรียที่พบได้ตามโคลนตมในทะเลหรือตามชายฝั่งต่าง ๆ เมื่อกินสัตว์ทะเลที่ปนเปื้อนเชื้อเข้าไป ก็จะทำให้เกิดอาการปวดท้อง ท้องเสีย มีอาการอาหารเป็นพิษ หากรุนแรงมาก ๆ ก็อาจส่งผลให้เกิดอาการกระเพาะอาหารและลำไส้อักเสบได้อีกด้วย นอกจากเชื้อแบคทีเรียแล้ว ปลาหมึกหรือสัตว์ทะเลอื่น ๆ เช่น กุ้ง หรือหอย ก็อาจจะมีพยาธิอาศัยอยู่ด้วยไม่ว่าจะเป็นพยาธิตัวกลม ในกลุ่มพยาธิอะนิซาคิส (Anisakis spp.) พยาธิตัวตืดในกลุ่มพยาธิตืดปลา (Diphyllobothrium) เป็นพยาธิที่พบในปลาทะเลเขตอบอุ่น และเขตร้อน
นายแพทย์สุวรรณชัย วัฒนายิ่งเจริญชัย อธิบดีกรมอนามัย กล่าวว่า จากสถานการณ์การแพร่ระบาดโรคโควิด-19 มีแนวโน้มพบผู้ติดเชื้อชะลอลง ทำให้ศูนย์แยกกักตัวในชุมชน (Community Isolation) บางพื้นที่เริ่มปิดลง เนื่องจากโรงพยาบาลสนาม หรือโรงพยาบาลในเขต อำเภอ หรือจังหวัด มีเตียงรองรับผู้ป่วยโควิด-19 เพียงพอ รวมถึงหน่วยบริการสาธารณสุขสามารถจัดบริการแยกกักตัวที่บ้าน (Home Isolation) ได้เพียงพอเช่นกัน โดยก่อนที่จะคืนพื้นที่นั้นต้องทำความสะอาดและฆ่าเชื้อ ทั้งอุปกรณ์และสถานที่ต่างๆ ตั้งแต่บริเวณพื้นทางเดิน โดยทำความสะอาดด้วยน้ำผงซักฟอกหรือน้ำยาทำความสะอาด และฆ่าเชื้อด้วยน้ำยาที่มีส่วนผสมของโซเดียมไฮโปคลอไรท์เข้มข้น 0.1 เปอร์เซ็นต์ และเช็ดทำความสะอาดบริเวณที่มีการสัมผัสร่วม เช่น โต๊ะ เก้าอี้ ที่จับประตูด้วยแอลกอฮอล์ 70 เปอร์เซ็นต์ หรือน้ำยาที่มีส่วนผสมของโซเดียมไฮโปคลอไรท์เข้มข้น 0.1 เปอร์เซ็นต์
กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข เผยกินทุเรียนมาก จะทำให้ได้รับพลังงานสูง ย้ำควรกินในปริมาณที่พอเหมาะ ไม่ควรกินทุเรียนเกินวันละ 2 เม็ด ไม่กินถี่ทุกวัน และกินผลไม้ให้หลากหลายชนิดในแต่ละวัน รวมทั้งออกกำลังกายเป็นประจำทุกวัน เพื่อช่วยเผาพลาญพลังงานส่วนเกิน
เพราะการแปรงฟันเป็นวิธีการดูแลสุขภาพช่องปากและฟันอย่างแรก ๆ ที่ได้รับการสอนมาตั้งแต่เด็ก และเราก็ใช้วิธีนี้จนโตเป็นผู้ใหญ่ คุณรู้หรือไม่? ว่าการแปรงฟันก่อนนอน มีความจำเป็นและสำคัญแค่ไหน? ส่วนใครที่ไม่ชอบแปรงฟันก่อนนอน ต้องระวังโรคฟันผุให้ดี เพราะปัญหาเล็กๆ อาจจะกลายเป็นเรื่องใหญ่ได้