Tag: ขยะทะเล

Home / ขยะทะเล

ปัญหาขยะทะเลและอันตรายจากไมโครพลาสติก

ปัญหาขยะทะเลยังคงเป็นปัญหาที่ทั่วโลกยังคงให้ความสำคัญ ส่วนใหญ่เกิดจากกิจกรรมของมนุษย์ที่เจตนาและไม่เจตนาทิ้งขยะบนบกลงสู่ทะเลหรือแม่น้ำ ขยะเหล่านี้จะถูกพัดพาลงสู่ทะเลโดยกระแสลมและกระแสน้ำ ดังนั้นขยะทะเลจึงถูกพบในพื้นที่ทั่วทุกทะเลทั่วโลก สำหรับประเทศไทยได้มีเดินหน้าแก้ปัญหาขยะพลาสติกในทะเลอย่างจริงจัง โดยการดำเนินการด้านต่างๆ เช่น จัดทำ Roadmap การจัดการขยะพลาสติก พ.ศ. 2561 - 2573 โดยตั้งเป้าเลิกใช้พลาสติกหุ้มฝาขวดน้ำดื่ม พลาสติกผสมสารอ็อกโซ่ และไมโครบีดส์ ภายในปี 2562 การเลิกใช้ถุงพลาสติกหูหิ้ว ที่มีความหนาน้อยกว่า 36 ไมครอน กล่องโฟมใส่อาหาร หลอดและแก้วพลาสติกชนิดบางแบบใช้ครั้งเดียว ภายในปี 2565 รวมถึงการนำขยะพลาสติกเป้าหมาย กลับมาใช้ใหม่ ร้อยละ 100 ภายในปี 2570 เป็นต้น

80% ของขยะทะเลมาจากแผ่นดิน

ขยะที่เห็นอยู่ทุกวันนี้เกิดมนุษย์ทั้งสิ้น ภาพที่เห็นทั่วไปตามชายหาดชายฝั่ง ขยะจำนวนมากถูกคลื่นซัดพัดพาขึ้นมาในยามเช้า และถูกพัดกลับลงไปในทะเล อีกครั้ง ก่อนจะถูกคลื่นซัดพัดกลับขึ้นมากองบนฝั่งอีกครั้ง เป็นวัฏจักรหมุนเวียนไปเช่นนี้อย่างไม่มีวันจบสิ้น และมีแนวโน้มว่าขยะจะมีปริมาณเพิ่มมากขึ้นทุกปี ในช่วงเวลาที่ชายหาดสวยงามสะอาดตา แต่ภายใต้ท้องทะเลแห่งนั้นมีขยะนานาประเภทล่องลอยอยู่มากเพียงใด และขยะเหล่านั้นมันได้สร้างความเสียหายกับระบบนิเวศวิทยาใต้ท้องทะเลไปมากแค่ไหน

กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ติดตั้งทุ่นดักขยะ บริเวณปากคลองสำคัญของสงขลา 10 สายเพื่อดักขยะก่อนลงทะเล

คุณราตรี สุขสุวรรณ์ ผู้อำนวยศูนย์วิจัยทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งอ่าวไทยตอนล่าง สงขลา อธิบายรายละเอียดว่าทุ่นดักขยะทะเลเป็นส่วนหนึ่งของโครงการบริหารจัดการขยะทะเลบริเวณอภาคใต้ฝั่งอ่าวไทยและโครงการบริหารจัดการขยะทะเลจังหวัดสงขลา ทุ่นดักขยะจะดักขยะจากคลองสำคัญของจังหวัดสงขลา ได้แก่ คลองระโนด คลองแดน คลองตะเครียะ คลองปากรอ คลองปากบาง-ภูมี คลองบางกล่ำ คลองบางเหรียง คลองอู่ตะเภา คลองนาทวี คลองนาทับ-จะนะ โดยทุ่นจะทำหน้าที่ในการดักขยะเพื่อไม่ให้ลงทะเล และจะมีการเก็บข้อมูลปริมาณขยะ ที่มาของขยะ เพื่อนำไปสู่การบริหารจัดการแก้ปัญหาขยะทะเลตั้งแต่ต้นทาง โดยจะมีการติดตั้งทุ่นแล้วเสร็จทั้งหมดในวันที่ 9 ก.ค.2563