กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข รายงานจำนวนผู้ป่วยไข้เลือดออกสะสมของประเทศไทยตั้งแต่ 1 ม.ค.-14 มิ.ย.2566 จำนวนผู้ป่วยสะสม 21,457 ราย ผู้ป่วยรายใหม่ประจำสัปดาห์(ระยะเวลา 7 วัน ) 1,954 าย และเสียชีวิตสะสม 19 ราย จังหวัดที่มีผู้ป่วยสะสมสูงสุด 5 อันดับคือ ตราด น่าน แม่ฮ่องสอน จันทบุรีและสตูล ส่วนจังหวัดสงขลามีผู้ป่วยสะสมตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค.-5 มิ.ย.2566 จำนวน 1,256 ราย เสียชีวิต 2 ราย มีแนวโน้มเจอผู้ป่วยรายใหม่เพิ่มขึ้น
สคร.12 สงขลา แนะสังเกตอาการไข้สูงลอย คลื่นไส้ เบื่ออาหาร และมีเลือดออกตามไรฟัน สงสัยโรคไข้เลือดออกให้รีบพบแพทย์
นายแพทย์เฉลิมพล โอสถพรมมา ผู้อำนวยการสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 12 จังหวัดสงขลา กล่าวถึง สถานการณ์โรคไข้เลือดออก ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม ถึงวันที่ 28 เมษายน 2566 (ข้อมูลจากรายงานสถานการณ์โรคไข้เลือดออก ประจำสัปดาห์ที่ 16 ปี 2566 สคร.12 สงขลา) พบว่า ประเทศไทย มีรายงานผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกสะสม รวม 13,159 ราย อัตราป่วย 19.91 ต่อประชากรแสนคน มีรายงานผู้ป่วยเสียชีวิต 12 ราย สำหรับเขตสุขภาพที่ 12 พบผู้ป่วย 2,216 ราย อัตราป่วย 44.24 ต่อประชากรแสนคน มีรายงานผู้ป่วยเสียชีวิต จำนวน 4 ราย (จังหวัดสงขลา 2 ราย, ตรัง 1 ราย และสตูล 1 ราย)
หมอห่วง ไข้เลือดออกระบาด หลังฝนตกทั่วไทย แนะปชช.อยู่บ้าน อย่าลืมกำจัดลูกน้ำยุงลาย
นพ.สุวรรณชัย วัฒนายิ่งเจริญชัย อธิบดีกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เผยถึง สถานการณ์โรคไข้เลือดออกค่อนข้างน่าเป็นห่วง ในปี 2563 ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม-วันที่ 24 มิถุนายน 2563 มีรายงานผู้ป่วยทั่วประเทศ 14,136 ราย เสียชีวิต 17 ราย จากข้อมูลพบว่าผู้ป่วยกระจายทั่วทุกภูมิภาคของประเทศไทย โดยภูมิภาคที่พบอัตราป่วยสูงสุด คือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง ภาคใต้ และภาคเหนือ ตามลำดับ ส่วนจังหวัดที่พบอัตราป่วยสูงสุด 5 อันดับแรกคือ ระยอง ชัยภูมิ ขอนแก่น อ่างทอง และราชบุรี ตามลำดับ