Author: admin

Home / admin

‘LUNATIQUE’ นิทรรศการศิลปะ จินตนาการ ความงดงามยามราตรี และอิทธิพลครอบงำจากดวงจันทร์

ชุดผลงานสื่อสะท้อนถึงจินตนาการภาพความงดงามในยามราตรี (Lunar) บริวารดวงเดียวของโลก ที่ยังมีโลกคู่ขนานอย่าง (Lunatic) รากศัพท์จากภาษาละติน ที่หมายถึงอิทธิพลครอบงำจากดวงจันทร์จนทำให้ผู้คนเกิดการเจ็บป่วยด้านจิตใจ ความบ้าคลั่ง เรื่องราวความผิดปกติ และปรากฏการณ์แปลกประหลาด จนนักปรัชญาชาวกรีกและโรมัน ทั้งฮิปโปเครตีส อริสโตเติล และพลินีผู้อาวุโส ต่างตั้งข้อสังเกตว่า มนุษย์มีสมองเป็นอวัยวะชุ่มน้ำ เมื่อดวงจันทร์มีผลต่อน้ำขึ้นน้ำลง ย่อมต้องมีผลต่อร่างกายของมนุษย์ไม่แตกต่างกันและด้วยเหตุนี้มนุษย์จึงเสี่ยงต่อ "ปรากฏการณ์ทางจันทรคติ" (Lunar Lunacy Effect) หรือ "ปรากฏการณ์ทรานซิลวาเนีย" (Transylvania Effect) ที่ปรากฏอยู่ทั่วยุโรปจนถึงยุคกลาง ว่ากันว่าปรากฏการณ์นี้ส่งผลให้เกิดการกลายร่างเป็นมนุษย์หมาป่าหรือแวมไพร์ในช่วงพระจันทร์เต็มดวง

หาดใหญ่จัดอีเวนต์อย่างไร ไม่ต้องปิดถนนสายหลัก? สรุปความจากวงคุยธุรกิจสร้างสรรค์

ฟังหลายมุมมอง "จัดอีเวนต์อย่างไร ไม่ต้องปิดถนนสายหลัก" จาก 6 วิทยากรด้านเศรษฐกิจสร้างสรรค์

ยางพาราเทอร์โมพลาสติก

รู้จัก ‘ยางพาราเทอร์โมพลาสติก’ นวัตกรรมเพิ่มมูลค่ายาง แก้ปัญหาขยะพลาสติก

แนวคิด 'ยางพาราเทอร์โมพลาสติก' เพิ่มมูลค่ายาง กระตุ้นเศรษฐกิจภาคใต้ ลดปัญหาขยะพลาสติก พัฒนาต่อยอดเป็นอุตสาหกรรมจักสาน

นักศึกษานิติศาสตร์ ม.อ. ตั้งโต๊ะล่ารายชื่อ พ.ร.บ.นิรโทษกรรมประชาชน ไม่แบ่งสี-ฝ่าย หวังสังคมให้โอกาสคนเห็นต่าง

วันนี้ (13 ก.พ. 2567) เวลา 17:00 น. ที่ลานถนนคนเดินนักศึกษา ม.อ. หรือ PSU-Bizmall นักศึกษาคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (ม.อ.) ในฐานะตัวแทนจากกลุ่มนักกฎหมายอาสาเพื่อสิทธิมนุษยชนภาคใต้ (Law Long Beach) ตั้งโต๊ะล่ารายชื่อประชาชน เพื่อเสนอกฎหมายร่างพระราชบัญญัติ...

สำรวจ ตรุษจีน หาดใหญ่ ฟังเสียงวันที่เมืองกำลังผันแปร

วันตรุษจีน คือวันขึ้นปีใหม่ตามปฏิทินจันทรคติ และในปี พ.ศ. 2567 นี้ตรงกับวันเสาร์ที่ 10 กุมภาพันธ์ 2567 เทศกาลตรุษจีนถือเป็นการเฉลิมฉลอง พบปะญาติ-ครอบครัว และเซ่นไหว้เทพเจ้า บรรพบุรุษตามความเชื่อตามประเพณีของผู้มีเชื้อสายจีน  ‘สถานีวิทยุ ม.อ.หาดใหญ่’ ลงพื้นที่ในช่วงเย็นของเมืองหาดใหญ่บริเวณตลาดกิมหยง วัดฉื่อฉาง และตลาดโก้งโค้ง

ทะเลสาบสงขลา-ไทยลากูน? มากกว่าเปลี่ยนชื่อคือองค์ความรู้ และชีวิตบนฐานทรัพยากร

สรุปประเด็นหลายข้อถกเถียงจากเรื่องชื่อทะเลสาบสงขลา ถึงองค์ความรู้และคำถามใหญ่อย่างวิถีชีวิตบนฐานทรัพยากร และอนาคตของภาคใต้ฝั่งตะวันออกของประเทศ

ม.อ. จับมือภาครัฐ-เอกชนแสดงเทคโนโลยี นวัตกรรมต่อยอดโอกาสเรียนรู้ ยกระดับเศรษฐกิจภาคใต้

บรรยากาศวันแรกของงาน SITE2024 - Southern Innovation and Technology Expo ที่รวบรวมเทคโนโลยีและนวัตกรรม พร้อมโครงงานวิจัยกว่า 200 โครงงาน พร้อมช่องทางเพิ่มโอกาสขยายธุรกิจ และพบกับผู้เชี่ยวชาญ นักวิจัย แลกเปลี่ยนเรียนรู้ การบรรยายในหัวข้อต่าง ๆ โดยมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (ม.อ.) ร่วมกับหน่วยงานภาครัฐและเอกชนกว่า 350 ราย ระหว่างวันที่ 1-4 กุมภาพันธ์ 2567 ณ ศูนย์ประชุมนานาชาติฉลองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

“น้ำมันไบโอดีเซลจากจุลินทรีย์ไขมันสูง” ผลพลอยได้จากสิ่งเหลือทิ้งโรงงานปาล์ม ผลงานชิ้นเยี่ยมของ”นักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ”คนล่าสุดของ ม.สงขลานครินทร์

ศ.ดร.เบญจมาส เชียรศิลป์ อาจารย์ประจำคณะอุตสาหกรรมเกษตร ม.สงขลานครินทร์ อดีตนักเรียนทุนวิทยาศาสตร์ที่ชอบเรียนฟิสิกส์ เคมี ชีววิทยา เลือกเรียนสาขาวิศวกรรมเคมีเพราะไม่ต้องการทิ้งศาสตร์ใดศาสตร์หนึ่งที่ชอบ และต่อปริญญาเอกเฉพาะทางด้านเทคโนโลยีชีวภาพสนใจการใช้จุลินทรีย์เพื่อจัดการของเสียหรือวัสดุเหลือทิ้งจากโรงงานปาล์มซึ่งเป็นพืชเศรษฐกิจของภาคใต้ ความสนใจและความเชี่ยวชาญของอาจารย์เบญจมาสกลายเป็นงานวิจัยการใช้ประโยชน์จากน้ำทิ้งจากโรงงานปาล์มซึ่งยังมีสารอาหารที่สามารถเลี้ยงจุลินทรีย์ได้ โดยแต่เดิมอาจใช้ประโยชน์เพียงแค่การทำไบโอแก๊ส อาจารย์เบญจมาสใช้น้ำทิ้งจากโรงงานเลี้ยงยีสต์ไขมันสูงแล้วนำยีสต์ไปสกัดน้ำมันไบโอดีเซล หลังจากนั้นได้เกิดการใช้ประโยชน์จากน้ำทิ้งเพื่อเลี้ยงยีสต์ไขมันกันอย่างแพร่หลาย

หลักสูตรการจัดการระบบกิจการฮาลาล ม.อ.(Non Degree) รับสมัครนักเรียน จบแล้วเพิ่มโอกาสทำงาน ยกระดับการเรียนรู้ระบบกิจการฮาลาลครบวงจร มุ่งสู่ผู้เชี่ยวชาญการจัดการระบบฮาลาล

สถาบันฮาลาล ม.สงขลานครินทร์ เปิดหลักสูตร Non Degree เรียนรู้การจัดการระบบกิจการฮาลาลโดยแบ่งการเรียนการสอนเป็น 2 รูปแบบได้แก่ ภาคทฤษฎีเรียน ณ ม.สงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ระยะเวลา 2 เดือน ณ อาคารศูนย์การเรียนรู้ภาคปฏิบัติสถาบันฮาลาล ม.อ. และภาคปฏิบัติ ณ สำนักงานคณะกรรมการอิสลาม จังหวัดสมุทรปราการอีก 1 เดือนรวมระยะเวลาทั้งสิ้น 3 เดือน

นวัตกรรมยางพารา ม.อ.ก้าวอย่างมั่นคงสู่อนาคต มุ่งจับมือภาคเอกชนร่วมพัฒนางานวิจัยต่อยอดเชิงพาณิชย์และสนับสนุนชุมชนแปรรูปผลิตภัณฑ์ยาง

มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์จับมือบริษัท North East Rubber (NER) ลงนามความร่วมมือต่อยอดฐานงานวิจัยนวัตกรรมยางพาราเพื่อผลิตอุตสากรรมยางพาราเชิงพานิชย์ อาจารย์อัยยพร ขจรไชยกุล ที่ปรึกษารองอธิการบดีฝ่ายวิจัยและนวัตกรรม มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เล่าความเป็นมาของการจับมือร่วมกับภาคเอกชนอย่างเช่น NER ว่าเกิดจากมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ผลิตงานวิจัยยางพาราจำนวนมากและพร้อมจะพัฒนาร่วมกับภาคเอกชนโดยใช้ฐานงานวิจัยที่มีอยู่แล้ว โดยมีเป้าหมายสำคัญเพื่อยกระดับอุตสาหกรรมยางต้นน้ำที่ประสบปัญหากลไกราคาที่ไม่สามารถควบคุมได้ให้เป็นอุตสาหกรรมแปรรูป เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มกับยางพาราต้นน้ำให้ใช้ประโยชน์ได้อย่างเต็มศักยภาพ รวมทั้งมีเป้าหมายสนับสนุนให้กลุ่มวิสาหกิจ ชุมชน มีศักยภาพผลิตสินค้านวัตกรรมยางพาราโดยใช้งานวิจัยของมหาวิทยาลัย