ศูนย์วิจัยและพัฒนาการสัตวแพทย์ภาคใต้ตอนบนพบสุนัขและวัวติดโรคพิษสุนัขบ้า ในจ.สงขลาเตือนประชาชนเฝ้าระวัง พร้อมยึดหลัก 3 ป. ป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า

จากการรายงานโดยศูนย์วิจัยและพัฒนาการสัตวแพทย์ภาคใต้ตอนบน พบโรคพิษสุนัขบ้าในสุนัขพันธุ์ผสม เพศเมีย อายุประมาณ 1 ปี (66J18039) ซึ่งอาศัยอยู่ภายในสำนักสงฆ์ท่าช้าง หมู่ที่ 2 ตำบลบาโหย อำเภอสะบ้าย้อย จังหวัดสงขลา พื้นที่รัศมี 5 กม รอบจุดเกิดโรค ครอบคลุมพื้นที่จังหวัดสงขลาและจังหวัดยะลา ที่มีคลองเทพาเป็นเขตแดนธรรมชาติ มีสุนัขแสดงอาการดุร้าย ไล่กัดคนและสัตว์ระหว่างวันที่ 9-10 พย 2566 โดยพบผู้ถูกสุนัขตัวนี้กัดอย่างน้อย 4 ราย และมีสัตว์ถูกกัดอย่างน้อย 5 ตัว และเมื่อวันที่ 17 พ.ย. 66 รายงานพบโรคพิษสุนัขบ้าในโค พันธุ์ผสมชาโรเล่ส์ เพศเมีย อายุ 3 ปี ในพื้นที่หมู่ 1 ตำบลสะท้อน อำเภอนาทวี จังหวัดสงขลา โคแสดงอาการดุร้าย พุ่งชน วิ่งพล่าน และกลืนน้ำ/อาหารลำบาก และตายหลังแสดงอาการ 5 วัน ทั้งนี้ทางศูนย์ฯและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ลงพื้นที่เพื่อติดตามข้อมูลและเฝ้าระวังอย่างต่อเนื่อง

อ่านต่อ →

 “ญิฮาดในรัฐอิสลาม” ปรุงงานวิจัยเป็นวรรณกรรมเยาวชนเพื่อความเข้าใจญิฮาดที่แท้จริง

ญิฮาดในรัฐอิสลาม ของสามารถ ทองเฝือเล่มนี้ เป็นผลงานวรรณกรรมเล่มที่สองของเขา (เล่มแรกคือญิฮาด) อาจกล่าวได้ว่าเล่มนี้คือความต่อเนื่องเชิงความคิดของเล่มญิฮาด ทั้งสองเล่มเป็นงานวรรณกรรมเชิงวิชาการ มากกว่าจะเป็นวิชาการเชิงวรรณกรรม แม้ผู้เขียนจะเป็นอาจารย์ด้านรัฐศาสตร์ แต่ก็ได้นำวิธีวิทยาวรรณกรรมมาใช้ครอบคลุมโครงสร้างการเล่าเรื่องตลอดทั้งเล่ม

อ่านต่อ →

ม.อ.เชิญ 5 ผู้รับรางวัลโนเบลด้านวิทยาศาสตร์ แพทยศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ ปาฐกถาในโอกาสครบรอบ 55 ปีการสถาปนา ระหว่าง พ.ย.66 – มี.ค.67

มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ร่วมกับ คณะเทคนิคการแพทย์ International Peace Foundation (IPF) และการสนับสนุนของ บริษัท มิตซุย ฟูโดซัง จำกัด โรงแรมดุสิตธานี แอนด์รีสอร์ท ธนาคารกสิกรไทย และ บีเอ็มดับเบิลยู เปิดปาฐกถาพิเศษโดยผู้ได้รับรางวัลโนเบลสาขาการแพทย์ Dr. Sir Richard J. Roberts ในหัวข้อ “เผยแพร่สันติภาพผ่านวิทยาศาสตร์และการพาณิชย์ในประเทศเศรษฐกิจเกิดใหม่” (Spreading Peace through Science and Commerce in Emerging Economies) ภายใต้กิจกรรม JAPAN-ASEAN BRIDGES Event Series ในโอกาสฉลองครบรอบ 50 ปี ความสัมพันธ์ญี่ปุ่น-อาเซียน และในวาระครบรอบ 55 ปี แห่งการสถาปนามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ในปี 2566

อ่านต่อ →

คนไทยตายจากมะเร็งปากมดลูกเกือบ 5000 รายต่อปี รัฐควิกวินฉีดวัคซีนฯให้เด็ก 11-20 ปี 1 ล้านโดส หมอย้ำมะเร็งปากมดลูกป้องกันได้

รายงานสถิติจากสถาบันมะเร็งแห่งชาติ พบว่าเมื่อปี 2565 ประเทศไทยมีผู้ป่วยมะเร็งปากมดลูกรายใหม่ประมาณ 12,956 ราย และเสียชีวิตประมาณ 4700 ราย มะเร็งปากมดลูกเป็นมะเร็งที่เจอมากอันดับสองในผู้หญิงรองจากมะเร็งเต้านมและอันดับ 5 ของมะเร็งห้าอันดับที่คนไทยเป็นมากที่สุดคืออันดับหนึ่งมะเร็งตับและท่อน้ำดี อันดับสองมะเร็งปอด อันดับสามมะเร็งเต้านม อันดับสี่มะเร็งลำไส้ใหญ่และทวาร และอันดับห้ามะเร็งปากมดลูก ตามสถิติประเทศไทยเจอผู้ป่วยมะเร็งรายใหม่เฉลี่ย 140000 รายต่อปี  มะเร็งปากมดลูกเป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ เกิดจากการติดเชื้อ HPV โดยเชื้อนี้มี 200 สายพันธุ์ 14 สายพันธุ์ก่อโรค สายพันธุ์ 16 และ 18 ก่อให้เกิดมะเร็งปากมดลูก การติดเชื้อส่วนใหญ่ไม่มีอาการ

อ่านต่อ →

2nd Anniversary Robotic Surgery PSU ยกระดับเทคโนโลยี การดูแลสุขภาพสู่สากล ด้วยหุ่นยนต์ผ่าตัด เพื่อพี่น้องชาวใต้

2nd Anniversary Robotic Surgery PSU ยกระดับเทคโนโลยี การดูแลสุขภาพสู่สากล ด้วยหุ่นยนต์ผ่าตัด เพื่อพี่น้องชาวใต้ เนื่องในโอกาสครบรอบ 2 ปี การรักษาผู้ป่วยด้วยหุ่นยนต์ผ่าตัด ของทีมแพทย์ โรงพยาบาลสงขลานครินทร์ ซึ่งการผ่าตัดด้วยหุ่นยนต์สามารถช่วยเหลือผู้ป่วยได้เป็นจำนวนมาก ปลอดภัย และทำให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นได้อย่างรวดเร็ว

อ่านต่อ →

3 พฤศจิกายน 2566 ดาวพฤหัสบดีใกล้โลกที่สุดในรอบปี

3 พฤศจิกายน 2566 ดาวพฤหัสบดีใกล้โลกที่สุดในรอบปี สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า โดยดาวพฤหัสบดีจะโคจรมาอยู่ในตำแหน่งตรงข้ามดวงอาทิตย์ (Jupiter Opposition) หมายถึง ตำแหน่งที่ดวงอาทิตย์ โลก และดาวพฤหัสบดี เรียงอยู่ในเส้นตรงเดียวกัน มีโลกอยู่ตรงกลาง ส่งผลให้ดาวพฤหัสบดีอยู่ในตำแหน่งใกล้โลกที่สุดในรอบปี ห่างจากโลกประมาณ 595 ล้านกิโลเมตร

อ่านต่อ →

ม.อ. จับมือ การไฟฟ้านครหลวง ขับเคลื่อนโครงการติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์และสมาร์ทกริดเพื่อการบริหารจัดการพลังงาน 5 วิทยาเขต 11 เมกะวัตต์

มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ร่วมกับ การไฟฟ้านครหลวง ลงนามสัญญาให้บริการติดตั้งและบำรุงรักษาอุปกรณ์ประหยัดพลังงานในระบบการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานทดแทนหรือพลังงานทางเลือก โดยมี ผศ. ดร.นิวัติ แก้วประดับ อธิการบดี มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ พร้อมด้วย นายวิลาศ เฉลยสัตย์ ผู้ว่าการการไฟฟ้านครหลวง ร่วมลงนาม รศ. ดร.วศิน สุวรรณรัตน์ รองอธิการบดีวิทยาเขตหาดใหญ่ และนายจาตุรงค์ สุริยาศศิน รองผู้ว่าการธุรกิจ ลงนามเป็นพยาน ณ ห้องสัมมนา 3 ชั้น 12A อาคาร B การไฟฟ้านครหลวง สำนักงานใหญ่ คลองเตย กรุงเทพฯ เมื่อวันที่ 1 พ.ย. 66

อ่านต่อ →

มูลนิธิโรงพยาบาสงขลานครินทร์ จัดงานแถลงข่าว การวิ่ง “Yensira Run for Life, Miles for Hope” ในวันที่ 5 ธ.ค.66 พร้อมจัดกิจกรรมเพื่อขอบคุณทุกคนที่ทำให้อาคารเย็นศิระ 3 แล้วเสร็จและเป็นที่พักที่พึ่งพิงของผู้ป่วยต่อไป

มูลนิธิโรงพยาบาสงขลานครินทร์ จัดงานแถลงข่าว การวิ่ง “Yensira Run for Life, Miles for Hope” ในวันที่ 5 ธ.ค.66 พร้อมจัดกิจกรรมเพื่อขอบคุณทุกคนที่ทำให้อาคารเย็นศิระ 3 แล้วเสร็จและเป็นที่พักที่พึ่งพิงของผู้ป่วยต่อไป เมื่อวันที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2566  รศ.นพ.เรืองศักดิ์  ลีธนาภรณ์ คณบดีคณะแพทยศาสตร์ พร้อมด้วยผู้บริหาร คณะแพทยศาสตร์ ได้ร่วมงานแถลงข่าวเปิดตัวงานวิ่ง “Yensira Run for Life, Miles for Hope” ณ บริเวณลานเวทีสุขภาพ โรงพยาบาลสงขลานครินทร์ พร้อมด้วยการเชิญคุณ นฤพนธ์  ประธานทิพย์ จากคนอ้วน 100 กิโลกรัม สู่นักวิ่งมาราธอน

อ่านต่อ →

อุตสาหกรรมเกษตร ม.อ. ระดมทีมนักวิจัยผลิตงานวิจัยพร้อมใช้ “พัฒนากระบวนการแปรรูปและผลิตภัณฑ์โกโก้”

ดร.ขวัญหทัย แช่ทอง หัวหน้าโครงการการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ การเพิ่มคุณภาพการละลายและผลดีต่อสุขภาพของผงโกโก้ หนึ่งในสี่กลุ่มงานวิจัยโกโก้ของคณะอุตสาหกรรมเกษตร ม.อ.ซึ่งเป็นงานวิจัยที่ศึกษาวิจัยตั้งแต่กระบวนการหมักเพื่อให้ได้เมล็ดโกโก้แห้งคุณภาพ จนถึงการวิจัยผลพลอยได้จากผลิตภัณฑ์โกโก้ เช่น บรรจุภัณฑ์จากเปลือกหรือใบโกโก้ เล่าให้ฟังว่ากระบวนการผลิตผลิตภัณฑ์โกโก้มีส่วนที่ใช้ประโยชน์ได้เพียง 10 เปอร์เซ็นต์ส่วนที่เหลืออีก 90 เปอร์เซ็นต์เป็นของเหลือทิ้งมูลค่าต่ำ ไม่ว่าจะเป็นเยื่อหุ้มเมล็ด เปลือกผลโกโก้ ใบโกโก้จากการตัดแต่งกิ่งในสวน เป็นต้น แต่กลุ่มงานวิจัยโกโก้ทั้งหมดของคณะอุตสาหกรรมเกษตร คำนึงถึงความยั่งยืนและการใช้ประโยชน์จากทุกส่วนของโกโก้ให้ได้มากที่สุด ประกอบด้วยกลุ่มงานวิจัยสี่กลุ่ม

อ่านต่อ →

สงขลา เตรียมยื่น ขอ GI เส้นใยตาลโตนดและผลิตภันฑ์ตาลโตนดคาบสมุทรสทิงพระ

ภาคใต้เป็นแหล่งที่มีต้นตาลโตนดมากแห่งหนึ่ง โดยเฉพาะบริเวณพื้นที่ราบทางฝั่งตะวันออกตั้งแต่จังหวัดชุมพร เรื่อยมาจนถึงปัตตานี ต้นตาลขึ้นได้ดีตามท้องทุ่งทั่วไป โดยชาวบ้านนิยมปลูกกันตามคันนาเป็นส่วนมาก ในท้องที่บางแห่งมีต้นตาลมากเป็นพิเศษ และกระจายอยู่ทั่วไป เช่น บริเวณอำเภอสทิงพระ จังหวัดสงขลา ด้วยความหนาแน่นของต้นตาล ปรากฏในหลายท้องที่เช่นนี้ทำให้ชาวใต้โดยทั่วไปโดยเฉพาะผู้ที่อยู่ในท้องที่นั้นๆ รู้จักเอาส่วนต่างๆ ของต้นตาลมาใช้ประโยชน์ อย่างกว้างขวาง และสืบต่อกันเรื่อยมาไม่ว่าจะเป็น ลำต้น ผล งวง ใบ ราก เมล็ด ทางตาล และใยตาล จนกลายเป็นวัฒนธรรมชาวบ้าน ปัจจุบันผู้รู้ทั้งหลาย เรียกว่า “วัฒนธรรมตาลโตนด” หลายลักษณะซึ่งน่าสนใจไม่น้อยในที่นี้จะขอกล่าวถึงเฉพาะการใช้ประโยชน์จาก “ใยตาล” ในลักษณะของ “หัตถกรรมใยตาล ” เท่านั้น

อ่านต่อ →