ผู้ประกอบการภาคใต้สนใจคราฟต์เบียร์สายพันธุ์ไทยจากข้าวพื้นเมือง พุ่งเป้านักท่องเที่ยวต่างชาติกำลังซื้อสูง

ผู้ประกอบการภาคใต้สนใจคราฟต์เบียร์สายพันธุ์ไทยจากข้าวพื้นเมือง พุ่งเป้านักท่องเที่ยวต่างชาติกำลังซื้อสูง

ดร.อิสระ แก้วชนสมบูรณ์ และคณะนักวิจัยจากศูนย์นวัตกรรมอย่างยั่งยืน มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ต่อยอดศักยภาพข้าวพื้นเมืองภาคใต้หลายสายพันธุ์ ผลิตเป็นมอลต์คุณภาพเทียบเท่าต่างประเทศ หวังผลิตคราฟต์เบียร์คุณภาพดี ราคาไม่แพง ตอบสนองธุรกิจท่องเที่ยวและนักท่องเที่ยวต่างชาติกำลังซื้อสูง 

ภาคใต้มีข้าวพันธุ์พื้นเมืองหลายสายพันธุ์ ซึ่งบางสายพันธุ์มีศักยภาพเป็นวัตถุดิบผลิตคราฟต์เบียร์คุณภาพร่วมกับการใช้ข้าวบาร์เล่ย์ โดยดร.อิสระ แก้วชนสมบูรณ์ ผู้อำนวยการศูนย์นวัตกรรมอย่างยั่งยืน ม.สงขลานครินทร์เล่าว่า คณะนักวิจัยได้หารือกับกลุ่มผู้ประกอบการท่องเที่ยวภูเก็ตซึ่งสนใจอยากผลิตคราฟท์เบียร์เพื่อกลุ่มผู้บริโภคนักท่องเที่ยวต่างชาติกำลังซื้อสูงโดยใช้ข้าวพื้นเมืองภาคใต้ เช่น ข้าวเบายอดม่วง ข้าวสังหยด ข้าวเล็บนก เป็นต้น โดยทีมวิจัยได้พัฒนามอลต์และสูตรคราฟต์เบียร์  5 สูตร 10 ชนิด โจทย์สำคัญคือใช้ข้าวไทยและผลไม้ไทยในการผลิตเบียร์ ตอบสนองผู้ผลิตคราฟต์เบียร์ขนาดกลาง ขนาดเล็ก ปริมาณการผลิต 100 ลิตร 1000 ลิตร และออกแบบเครื่องต้นแบบผลิตเบียร์ขนาด 200 ลิตร ซึ่งมีผู้ประกอบการสนใจเป็นผู้ผลิตเครื่องผลิตเบียร์ขนาด 200 ลิตรดังกล่าวด้วย 

นอกจากความต้องการคราฟต์เบียร์สายพันธุ์ไทยจากข้าวพื้นเมืองแล้ว โจทย์สำคัญจากภาคเอกชนคือต้องการความแตกต่างจากเบียร์ทั่วไปและเพิ่มคุณค่าเบียร์ด้วยงานวิจัยและงานวิชาการ  เช่น เพิ่มปริมาณสารกาบาเป็นคราฟต์เบีย์กาบาสูง ซึ่งเป็นโจทย์สำคัญที่นักวิจัยต้องพัฒนาเพื่อตอบสนองความต้องการของภาคเอกชน ร่วมกับโจทย์สำคัญซึ่งดร.อิสระ และทีมวิจัยต้องทำให้สำเร็๗คือพัฒนามอลต์ข้าวไทยให้คุณภาพใกล้เคียงบาร์เล่ย์มอลต์ โดยใช้กระบวนการเพาะงอก วัดคุณภาพ คุณสมบัติ และทดสอบกลิ่นมอลต์จากข้าวพื้นเมืองให้มีกลิ่นที่ดีช่วยเสริมรสชาติเบียร์ ผลจากการชิมคราฟต์เบียร์จากข้าวพื้นเมืองปรากฎว่า ตัวแทนภาคเอกชนพึงพอใจเบียร์ข้าวสังหยดมากที่สุดเพราะกลิ่นหอม ส่วนเบียร์ข้าวเบายอดม่วงหอมละมุนเบาๆ ซึ่งดร.อิสระขยายความว่าการพัฒนาสูตรคราฟต์เบียร์ไม่ยาก ใช้ผลไม้หรือดอกไม้ท้องถิ่น เช่น ดอกดาหลาก็ทำเบียร์ได้ ผ่านกระบวนการบดข้าว ต้มข้าว เปลี่ยนแปลงเป็นน้ำตาล ต้ม ฆ่าเชื้อ เติมฮอพ 

ซึ่งล่าสุดทีมวิจัยรับโจทย์จากเอกชนด้วยแนวคิดการวิจัยและพัฒนาร่วมกัน โดยโครงการออกแบบเครื่องผลิตเบียร์นำร่องขนาด 200 ลิตรเสร็จแล้ว นอกจากนั้นโครงการนี้เปิดกว้างให้นักวิจัยคณะต่างๆของม.สงขลานครินทร์ที่สนใจสามารถเข้าร่วมการพัฒนาคราฟต์เบียร์จากวัตถุดิบและข้าวท้องถิ่น ช่วยลดปัญหาราคาพืชผลการเกษตรได้อีกทางหนึ่งด้วย

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *