อาหารเป็นพิษ รู้ทันป้องกันได้

โรคอาหารเป็นพิษ เกิดได้ในทุกกลุ่มอายุ ความรุนแรงของโรคขึ้นกับชนิดของเชื้อโรค สารพิษที่ได้รับบางชนิดอาจทำให้เสียชีวิตได้ การเกิดโรคอาหารเป็นพิษมักเกิดได้ง่ายและบ่อยครั้ง เมื่อเกิดการระบาดของโรคมักเกิดเป็นกลุ่มใหญ่มีผู้ป่วยเป็นจำนวนมาก เนื่องจากเป็นโรคที่เกิดจากการรับประทานอาหาร น้ำดื่มที่ปนเปื้อนเชื้อโรค (แบคทีเรีย ไวรัส และปรสิต) สารพิษหรือสารเคมี โดยการปนเปื้อนสามารถเกิดได้จากทุกขั้นตอนของอาหาร เช่น การปนเปื้อนเชื้อจากวัตถุดิบ การปรุง และการเก็บอาหาร ที่ไม่ถูกสุขลักษณะ

อาการและการดูแลเบื้องต้น

คลื่นไส้ อาเจียน ปวดบิด อุจจาระร่วง ถ่ายเป็นมูก หรือมูกเลือด การดูแลเบื้องต้นสามารถทำได้โดยการดื่มน้ำตาลเกลือแร่ (ORS) เพื่อป้องกันการขาดน้ำ หากอาการต่างๆข้างต้นไม่ดีขึ้น ควรรีบไปพบแพทย์ และหากเป็นไปได้ควรนำอาหารอาหารที่สงสัยที่เหลือจากการรับประทานไปด้วยเพื่อที่แพทย์จะได้ตรวจหาเชื้อและสารพิษได้

พฤติกรรมการกินอาหารที่ถูกสุขลักษณะ โดยการ “กินร้อน ช้อนกลาง ล้างมือ” และ “กินสุก ร้อน สะอาด”

สุก ปรุงอาหารต้องปรุงให้สุกทั่วถึง หลีกเลี่ยงอาหารสุกๆดิบๆ อาหารทะเลที่ใช้การลวก

ร้อน กินอาหารขณะที่อาหารยังร้อน ปรุงสุกใหม่ ไม่ควรเก็บไว้กินข้ามมื้อ อาหารที่ซื้อมาแล้วยังไม่กินต้องเก็บในตู้เย็น และน ามาอุ่นให้ร้อนทั่วถึงก่อนกิน

สะอาด

– เลือกร้านค้าที่มีที่ปรุง ที่นั่งกิน และบริเวณรอบๆสะอาด

– ล้างมือด้วยน้ำและสบู่ทุกครั้งก่อนกินอาหารและหลังจากเข้าห้องน้ำ

– น้ำดื่ม อาหารกระป๋อง อาหารสำเร็จรูปควรเลือกที่มีเลข อย.กำกับ ก่อนกินอาหารให้พิจารณา

สี กลิ่น รส เป็นปกติหรือไม่

หากมีอาการผิดปกติใด ๆ ที่รุนแรงควรรีบไปพบแพทย์ทันที หรือสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ สายด่วนกรมควบคุมโรค โทร. 1422

Loading