Telepharmacy คือ การบริบาลทางเภสัชกรรมและการส่งมอบเภสัชภัณฑ์จากเภสัชกรผ่านเทคโนโลยีการสื่อสารทางไกลไปยังผู้ป่วย ที่อยู่ในสถานที่ที่แตกต่างกัน ผู้ป่วยจะได้รับยาและการดูแลรักษาทางเภสัชกรรม ภายในสถานที่ที่ปลอดภัยและสะดวกต่อการเข้าถึง ซึ่งครอบคลุมไปถึง การให้คำปรึกษาด้านยา (patient counseling), การติดตามการรักษาและผลข้างเคียง (drug therapy monitoring ) การจ่ายยาตามใบสั่งแพทย์ (refill the prescribed drugs)
ในยุคปัจจุบันที่ข้อมูลข่าวสารและเทคโนโลยีการสื่อสารพัฒนาอย่างก้าวกระโดด ส่งอิทธิพลมายังด้านการส่งมอบการให้บริการทางสาธารณสุข Telepharmacy หรือ เภสัชกรรมทางไกล ถูกหยิบยกมาพูดถึงประโยชน์ในหลาย ๆ ด้าน ไม่ว่าจะเป็นการเพิ่มการเข้าถึง ประโยชน์ทางด้านเศรษฐศาสตร์ ความพอใจและประสิทธิภาพที่คนไข้ได้รับ
Telefarmacy หรือเภสัชกรรมทางไกล คือวิธีการที่เภสัชกรใช้เทคโนโลยีโทรคมนาคมเพื่อดูแลการดำเนินงานด้านเภสัชกรรมหรือให้บริการดูแลผู้ป่วย เป็นการให้บริการเภสัชกรรมใหม่ของไทยที่เพิ่งเกิดขึ้นในช่วงโควิด-19 เป็นการให้บริการเภสัชกรรมที่คนไข้กับเภสัชกรไม่ได้เจอหน้ากัน อยู่ไกลกัน สถานการณ์โควิด-19 เป็นสถานการณ์วิกฤตที่ทำให้คนไข้ไม่สามารถออกจากบ้านได้ โรงพยาบาลก็จะส่งยาให้กับคนไข้ทางไปรษณีย์ และใช้ทางโทรศัพท์เพื่อให้คำแนะนำวิธีการใช้ยาและเพื่อที่จะตรวจสอบว่ายาที่คนไข้ได้รับทางไปรษณีย์ครบถ้วนและถูกต้อง
รศ.ดร.ภญ.นุศราพร เกษสมบูรณ์
คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
เภสัชกรรมทางไกล (Telefarmacy) มีหลากหลายรูปแบบ เช่น
- ให้คนไข้ไปรับยาร้านยาใกล้บ้าน
- การร่วมมือกับบริษัทขนส่ง
- การรับยาที่รพ.สต.ใกล้บ้าน
- การติดตั้งเครื่องจ่ายยาอัตโนมัติ
ทั้งนี้ การจ่ายยาที่สำคัญยังเป็นหน้าที่ของเภสัชฯอยู่ เพราะการจ่ายยาเป็นหน้าที่ของเภสัชฯไม่เปลี่ยนแปลง แต่การส่งยาอาจจะเป็นของบุคคลที่สาม