สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 12 จังหวัดสงขลา ร่วมรณรงค์ เนื่องในวันงดสูบบุหรี่โลก 31 พฤษภาคม 2566 โดยองค์การอนามัยโลกได้กำหนดประเด็นของการรณรงค์ไว้ว่า “Grow food, not tobacco” เพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์ปัญหาในปัจจุบันที่ประเทศไทยเกิดการแพร่ระบาดของบุหรี่ไฟฟ้า โดยเฉพาะในกลุ่มเด็กและเยาวชน ดังนั้น มูลนิธิรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่ และภาคีเครือข่ายควบคุมการบริโภคยาสูบ จึงกำหนดคำขวัญรณรงค์วันงดสูบบุหรี่โลก ประจำปี 2566 คือ “บุหรี่ไฟฟ้ามีสารพิษ เสพติด อันตราย” ข้อมูลจากสำนักงานสถิติแห่งชาติ ปี 2564 ที่สำรวจพบคนไทยอายุ 15 ปีขึ้นไป สูบบุหรี่ไฟฟ้าเกือบ 80,000 คน และในจำนวนนี้มากกว่าครึ่งเป็นเยาวชนอายุ 15-24 ปี จะเห็นได้ว่าบุหรี่ไฟฟ้าจะกลายเป็นที่นิยมเพิ่มขึ้น ประเทศไทยจำเป็นต้องคงมาตรการห้ามนำเข้าและขายบุหรี่ไฟฟ้าที่เข้มแข็งต่อไป เนื่องจากเหตุผลสำคัญ 9 เหตุผล ดังนี้ 1.เป้าหมายของผู้ผลิตบุหรี่ไฟฟ้า คือ เด็กและเยาวชน 2.บุหรี่ไฟฟ้าเป็นต้นทางของการสูบบุหรี่ธรรมดาของเด็กและเยาวชน 3.บุหรี่ไฟฟ้าเป็นอันตราย ทำลายสุขภาพ 4.นิโคติน ทำให้เสพติด อันตรายเกินคาด 5.บุหรี่ไฟฟ้าไม่ได้ช่วยให้เลิกบุหรี่ได้จริง 6.บุหรี่ไฟฟ้าส่งผลเสียต่อสังคมมากกว่าผลดี 7.บุหรี่ไฟฟ้าจะทำให้ไทยถอยหลังในการควบคุมยาสูบ 8.การห้ามจำหน่ายบุหรี่ไฟฟ้า คือ มาตรการสำคัญ ในการปกป้องเด็กจากการตกเป็นเหยื่อ 9.ควรยึดนโยบาย "ปลอดภัยไว้ก่อน" เพราะชีวิตคนไทยมีค่าเกินกว่าจะเอาไปเสี่ยง
รวมพลังภาคีเครือข่ายควบคุมยาสูบ 14 จังหวัดภาคใต้ ร่วมประกาศเจตนารมณ์ “คนใต้ไม่เอาบุหรี่ไฟฟ้า”
มูลนิธิรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่ ร่วมกับ กองงานคณะกรรมการควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ กรมควบคุมโรคและภาคีเครือข่ายควบคุมยาสูบระดับจังหวัดทั้ง 14 จังหวัดภาคใต้ ไม่ว่าจะเป็นเครือข่ายสื่อมวลชนศูนย์ข่าวปลอดควัน เครือข่ายครู, เยาวชน Gen Z Gen Strong ,องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และสมาพันธ์เครือข่ายแห่งชาติเพื่อสังคมไทยปลอดบุหรี่ จำนวน 150 คน เข้าร่วมประกาศเจตนารมณ์ “คนใต้ไม่เอาบุหรี่ไฟฟ้า” โดยมี นายเอกชัย เลิศวิบูลย์ลักษณ์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลาเป็นประธานในการกล่าวนำ พร้อมด้วย ศ.นพ.ประกิต วาทีสาธกกิจ ประธานมูลนิธิรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่ รวมทั้งนายจูรี นุ่มแก้ว ดาวติ๊กต๊อก( Influencer จูรี แหลงเล่า ) และ น.ส.นรารัตน์ ศรีเปารยะ เทพีแม่หม้าย นครหาดใหญ่ ประจำปี 2566 ซึ่งเป็นสื่อมวลชนอาสาศูนย์ข่าวปลอดควันจังหวัดสงขลา
โฆษกคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค ไขข้อข้องใจ ‘บุหรี่ไฟฟ้า’ ผิดกฎหมาย ผู้ครอบครองมีความผิดโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี หรือปรับเป็นเงิน 4 เท่าของราคาสินค้า หรือทั้งจำทั้งปรับ ลักลอบนำเข้าโทษจำคุกไม่เกิน10 ปี หรือ ปรับไม่เกิน 500,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
พ.ต.อ.ประทีป เจริญกัลป์ รองเลขาธิการคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) ในฐานะโฆษก สคบ. ชี้แจงข้อเท็จจริงกรณีที่ปรากฏเป็นข่าวในสื่อต่างๆ และการแสดงความคิดเห็นที่หลากหลายเกี่ยวกับบุหรี่ไฟฟ้า การสูบ ครอบครอง นำเข้า ผลิต ขาย ผิดกฎหมายหรือไม่ เพื่อให้เกิดความเข้าใจที่ถูกต้องตรงกัน ดังนี้
“บุหรี่ไฟฟ้า” กับอนาคตประเทศไทย
ศูนย์วิจัยและจัดการความรู้เพื่อการควบคุมยาสูบ (ศจย.) ภาคใต้ โดยสาขาวิชาระบาดวิทยา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ จัดประชุมวิชาการบุหรี่กับสุขภาพภาคใต้ ปี 2564 "บุหรี่ไฟฟ้า...กับอนาคตประเทศไทย" เพื่อเน้นย้ำสร้างความตระหนักถึงอันตรายภัยของบุหรี่ไฟฟ้าเนื่องจากมีส่วนผสมของยาเสพติดชนิดที่ร้ายแรงกว่าก่อให้เกิดอันตรายต่อผลกระทบต่อร่างกาย จิตใจ สังคม เศรษฐกิจ ผลกระทบในระยะสั้นและระยะยาวโดยเฉพาะในกลุ่มเด็กและเยาวชน