“บุหรี่ไฟฟ้า” กับอนาคตประเทศไทย

ศูนย์วิจัยและจัดการความรู้เพื่อการควบคุมยาสูบ (ศจย.) ภาคใต้ โดยสาขาวิชาระบาดวิทยา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ จัดประชุมวิชาการบุหรี่กับสุขภาพภาคใต้ ปี 2564 “บุหรี่ไฟฟ้า…กับอนาคตประเทศไทย” เพื่อเน้นย้ำสร้างความตระหนักถึงอันตรายภัยของบุหรี่ไฟฟ้าเนื่องจากมีส่วนผสมของยาเสพติดชนิดที่ร้ายแรงกว่าก่อให้เกิดอันตรายต่อผลกระทบต่อร่างกาย จิตใจ สังคม เศรษฐกิจ ผลกระทบในระยะสั้นและระยะยาวโดยเฉพาะในกลุ่มเด็กและเยาวชน

รศ.ดร.พญ.รัศมี โชติพันธุ์วิทยากุล ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนาสุขภาพภาคใต้ ม.สงขลานครินทร์ กล่าวว่า บุหรี่ไฟฟ้าเป็นปัญหาระดับโลกเป็นอันตรายต่อร่างกาย จิตใจ สังคมทั้งเด็กและเยาวชน รวมทั้งทุกคนที่อยู่ในสังคม เป็นเรื่องที่ต้องช่วยกันไม่ให้เกิดค่านิยมหรือความสามารถในการเข้าถึงโดยเฉพาะเด็กและเยาวชน เนื่องจากอุสาหกรรมยาสูบบางรายพยายามบิดเบือนหรือไม่เปิดเผยความจริงทั้งหมดให้ต่อสังคม อีกทั้งมีการเติมกลิ่นเพื่อให้เกิดความดึงดูดกับเด็กและเยาวชน จากการสำรวจในเซฟตี้ของมหาวิทยาลัยอยู่ประมาณ 1-3% มีอัตราการใช้บุหรี่ไฟฟ้าเยอะพอสมควร โดยผู้ใช้บุหรี่ไฟฟ้าส่วนใหญ่คิดว่าไม่ได้มีอันตราย ช่วยลดในการใช้บุหรี่มวนและอีกส่วนหนึ่งที่อยากลองเพราะมีกลิ่นและรูปลักษณ์ที่โมเดิร์น บวกกับการดึดดูดกลุ่มวัยเด็กและเยาวชนเป็นส่วนใหญ่ด้วยการออกแบบและการแต่งกลิ่น

จากตัวอย่างของสหรัฐอเมริกามีการศึกษาการจัดการบุหรี่ไฟฟ้า ก่อนหน้านี้สหรัฐอเมริกาได้เปิดเสรีและมีการใช้บุหรี่ไฟฟ้าได้ ทำให้มีคนเสียชีวิตและป่วยเป็นหลักพันกว่าคน เรียกว่า“อีวารี่ซินโดรม” หรือปอดอักเสบขั้นรุนแรงจากบุหรี่ไฟฟ้า และมีการสืบสวนทำให้มีการปรับสารอันตรายที่ใส่เข้าไปเอาตัวนั้นออก แต่อย่างไรก็ตามยังคงมีสารอันตรายอื่นๆ อีกที่ยังรอการทำให้เกิดความเจ็บปวดอยู่ ซึ่งกลุ่มเด็กและเยาวชนเริ่มใช้บุหรี่เพิ่มขึ้นเกินทั้งบุหรี่ไฟฟ้าและบุหรี่มวนควบคู่กัน ทำให้ไม่สามารถควบคุมสถานการณ์เหล่านี้ได้ กลุ่มเด็กที่ใช้บุหรี่ไฟฟ้าไม่มีสมาธิในการเรียนหนังสือเนื่องจากติดสารนิโคติน ซึ่งปริมาณนิโคตินในบุหรี่ไฟฟ้าคือสูบในปริมาณที่เท่ากับบุหรี่มวนอาจจะได้ไปประมาณ 10-20%  

รศ.ดร.พญ.รัศมี โชติพันธุ์วิทยากุล กล่าวเพิ่มเติมว่า จากการระดมความเห็นในการประชุมวิชาการบุหรี่กับสุขภาพภาคใต้ ปี 2564 “บุหรี่ไฟฟ้า…กับอนาคตประเทศไทย” คิดว่ากลุ่มเด็กและเยาวชนคือเป้าหมายของอุตสาหกรรมยาสูบ ในกลุ่มดังกล่าวบางส่วนเข้าใจว่าบุหรี่ไฟฟ้าไม่เป็นอันตรายและดีกว่าการสูบบุหรี่มวน ในขณะที่บางส่วนทราบว่ามีอันตรายร้ายแรงยิ่งกว่าการรสูบบุหรี่มวน ดังนั้นทุกฝ่ายจึงต้องพยายามลดการเข้าถึงในกลุ่มเด็กและเยาวชนนั่นคือต้องเป็นระดับนโยบายทำให้การซื้อขายไม่ง่ายเข้าถึงสินค้าได้ยาก เป็นที่ทราบกันอยู่แล้วว่ากฎหมายไม่สามารถบังคับใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ อีกประเด็นที่ต้องเฝ้าระวังคือการจำหน่ายตามช่องทางออนไลน์ ต้องเร่งสร้างความตระหนักให้ข้อมูลที่ถูกต้องที่แท้จริงแก่ทุกคน โดยเฉพาะสื่อสมัยใหม่ เช่น Tiktok Instagram ที่เป็นการสื่อสารเนื้อหาอย่างสั้น กระชับและได้ใจความสามารถเข้าถึงกลุ่มเด็กและเยาวชนได้เป็นอย่างดี

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *