นายแพทย์สวัสดิ์ อภิวัจนีวงศ์ ผู้ตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุข เขตสุขภาพที่ 12เป็นประธาน เปิดการประชุมความร่วมมือชายแดนไทย – มาเลเซีย ครั้งที่ 33 (The 33rd Thailand - Malaysia Border Health Goodwill Committee Meeting 2023) เมื่อเช้าวันที่ 23 ส.ค. 2566 ณ โรงแรมลากูน่า แกรนด์ แอนด์ สปา สงขลา อำเภอเมืองสงขลา จังหวัดสงขลา และได้กล่าวว่า ความร่วมมือด้านสาธารณสุขระหว่างไทย และมาเลเซีย เริ่มต้น ในปี พ.ศ. 2502 ณ กรุงกัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย เพื่อร่วมมือแก้ไขปัญหาสาธารณสุขตามแนวชายแดนที่มีผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชนทั้งสองประเทศ ได้แก่ การแพร่ระบาดของโรคติดต่อ การส่งต่อผู้ป่วยข้ามแดน และการคุ้มครองผู้บริโภคด้านอาหารและยา โดยมีการจัดประชุมความร่วมมือสาธารณสุขชายแดนไทย - มาเลเซีย เพื่อร่วมหารือการแก้ไขปัญหา พร้อมทั้งแลกเปลี่ยนเรียนรู้กระบวนการแก้ไขปัญหาสาธารณสุขชายแดน และเพื่อกระชับความสัมพันธ์ของหน่วยงานสาธารณสุขในพื้นที่ชายแดนของทั้งสองประเทศ จึงได้ดำเนินการจัดประชุม ฯ มาอย่างต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน มีบุคลากรจาก 4 รัฐของประเทศมาเลเซียและ 4 จังหวัดของประเทศไทย (คู่จังหวัด-รัฐ) ได้แก่ จังหวัดสงขลา - รัฐเคดาห์ จังหวัดยะลา – รัฐเปรัค จังหวัดสตูล - รัฐเปอร์ลิส และจังหวัดนราธิวาส – รัฐกลันตัน ร่วมประชุม ฯ ซึ่งได้มีการประชุม ฯ เพื่อร่วมแก้ไขปัญหาสาธารณสุขชายแดนไทย - มาเลเซียมาแล้ว จำนวน 32 ครั้ง โดยทั้งสองประเทศมีคู่จังหวัดและรัฐ ผลัดกันเป็นเจ้าภาพหลักและเจ้าภาพร่วมในการจัดประชุม ฯ ทั้งนี้ การประชุมครั้งที่ 33 มีจังหวัดสงขลาเป็นเจ้าภาพหลักและรัฐเคดาห์เป็นเจ้าภาพร่วม ฯ ซึ่งมีการประชุมเตรียมการ (Sub committee Mitting) มาแล้วที่ประเทศมาเลเซีย
คณะแพทย์ ม.อ. จับมือภาคีเครือข่ายในจังหวัดสงขลา ร่วมลงนามจัดทำระบบอัจฉริยะแลกเปลี่ยนข้อมูลด้านสุขภาพ ยกระดับการรักษาพยาบาลในจังหวัดสงขลา พร้อมเป็นต้นแบบการพัฒนาและเชื่อมโยงระบบสุขภาพระดับประเทศ
“โครงการพัฒนาระบบอัจฉริยะสำหรับแลกเปลี่ยนและประยุกต์ใช้ข้อมูลทางด้านสุขภาพ เพื่อยกระดับบริการทางสาธารณสุข สำหรับสถานพยาบาลขนาดต่างในจังหวัดสงขลา เป็นโครงการที่จัดทำขึ้นเพื่อเชื่อมโยงข้อมูลสุขภาพในจังหวัดสงขลา ร่วมกับ สสจ.ในการศึกษา ออกแบบ พัฒนา และให้บริการระบบสารสนเทศเกี่ยวกับการเชื่อมโยงและแลกเปลี่ยนข้อมูลประวัติสุขภาพของผู้ป่วย เพื่อให้โรงพยาบาลต่าง ๆ ที่ร่วมโครงการส่งข้อมูลพื้นฐานและข้อมูลประวัติการรักษาพยาบาลของผู้ป่วยมายังศูนย์รวบรวมข้อมูลหรืออาจเรียกว่าเป็น “สมุดสุขภาพอิเล็กทรอนิกส์”ที่แพทย์แต่ละโรงพยาบาลที่เข้าร่วมโครงการสามารถย้อนดูประวัติการรักษาของผู้ป่วย ไม่ว่าจะไปรักษาที่ใด โดยที่ผู้ป่วยไม่ต้องถือประวัติหรือข้อมูลการรักษา และที่สำคัญคือผู้ป่วยไม่ต้องเดินทางไปมาหลายครั้งเพื่อขอข้อมูลการรักษาเก่า ซึ่งการนำระบบ HIE มาใช้เป็นอีกขั้นหนึ่งของการพัฒนาระบบสุขภาพ ให้ก้าวไปสู่การรักษาพยาบาลสำหรับผู้ป่วยอย่างเป็นระบบและมีประสิทธิภาพต่อไป
สาธารณสุขจังหวัดสงขลา เตือนโรคฉี่หนูระบาด พบผู้ป่วย 38 ราย เสียชีวิต 2 ราย ภายใน 1 เดือน
นายแพทย์อิฐถผล เอี้ยววงษ์เจริญ นายแพทย์ชำนาญการ ฝ่ายควบคุมโรคติดต่อ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสงขลา เปิดเผยว่า จ.สงขลา เข้าสู่หน้าฝน และมีน้ำท่วมขังในที่ลุ่ม เสี่ยงอันตรายจากโรคฉี่หนู ซึ่งตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม ถึงวันที่ 9 ตุลาคม พบผู้ป่วยโรคฉี่หนูแล้ว 142 ราย และเสียชีวิต 4 ราย แต่ภายในเดือนตุลาคม 2565 ที่ผ่านมา พบผู้ป่วยจำนวน 38 ราย เสียชีวิต 2 ราย โดยพื้นที่ที่พบผู้ป่วยมากที่สุดคือ อ.สะบ้าย้อย รองลงมาคือ อ.สะเดา อ.หาดใหญ่ อ.จะนะ อ.เทพา จ.สงขลา โดยมากจะพบในกลุ่มอาชีพรับจ้าง เกษตรกร และวัยเรียน มีอายุระหว่าง 10-14 ปี รองลงมา อายุระหว่าง 55-60 ปี โดยในปีนี้มีผู้ป่วยเสียชีวิตจากโรคฉี่หนูแล้ว 6 ราย และล่าสุดมีเสียชีวิตไปเมื่อเดือนตุลาคม 2 ราย