Category: News

Home / News

“ดื่มสุรา” เพิ่มความเสี่ยงต่อการติดเชื้อแบคทีเรีย/ไวรัส 3 -7 เท่า !!

การดื่มสุราทำให้ภูมิคุ้มกันลดลง เพิ่มความเสี่ยงต่อการติดเชื้อแบคทีเรียและไวรัสกว่า 3 - 7 เท่า มีโอกาสเข้าไอซียู มากกว่าปกติ 60% หากป่วยเป็นโรคปอดบวม กลุ่มผู้สูงอายุ 60 ปีขั้นไป ยังเพิ่มความเสี่ยงในการติดเชื้อและป่วยเป็นหวัดได้ 30% ส่วนหญิงตั้งครรภ์ ที่ดื่มสุรา เพิ่มความเสี่ยงติดเชื้อในปอดของทารกแรกเกิดถึง 2.9 เท่า

หลังโควิด ชวนไปพิชิต “แสงเกเกินไชน์ (Gegenschein)”

การถ่ายภาพแสงเกเกินไชน์ (Gegenschein) ซึ่งน้อยคนที่จะรู้จัก สำหรับนักดาราศาสตร์นั้น ก็ควรต้องมีโอกาสได้เห็นสักครั้ง เพราะเป็นแสงที่มองเห็นได้ค่อนข้างยาก ต้องใช้เทคนิคพิเศษในการสังเกตการณ์ และยังต้องสังเกตในสถานที่มืดสนิทและปราศจากแสงใดๆ มารบกวนเท่านั้น

“การแพทย์วิถีใหม่” เน้นความปลอดภัย-ลดความแออัด

ดร.สาธิต ปิตุเตชะ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข กล่าวถึงสถานการณ์โรคโควิด-19 ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในหลายๆด้าน ในส่วนของด้านการแพทย์ก็มีปรับเปลี่ยนรูปแบบการให้บริการด้านการแพทย์และสาธารณสุข เพื่อลดความแออัดในโรงพยาบาล และเว้นระยะห่างทางสังคม เพื่อความปลอดภัยทั้งบุคลากรทางการแพทย์และประชาชน รวมถึง ลดความเหลื่อมล้ำ เพิ่มการเข้าถึงบริการและยกระดับคุณภาพบริการ ก็จะทำให้มีคุณภาพและประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

“โรคยอดฮิต ที่มากับฝน” รู้ทันป้องกันได้

วันที่ 14 พฤษภาคม 2563 นาวาอากาศเอก สมศักดิ์ ขาวสุวรรณ์ กล่าวว่า “ในปีนี้ประเทศไทยจะเข้าสู่ฤดูฝนอย่างเป็นทางการตามเกณฑ์ทางอุตุนิยมวิทยาตั้งแต่วันที่ 18 พ.ค. 2563 เป็นต้นไป และจะสิ้นสุดลงในช่วงกลางเดือน ต.ค. ในระยะแรกของฤดูปริมาณและการกระจายตัวของฝนจะยังไม่สม่ำเสมอ แต่จะมีปริมาณฝนเพิ่มมากขึ้นในช่วงปลายเดือนนี้ และมีโอกาสสูงที่จะมีพายุหมุนเขตร้อนเคลื่อนผ่านประเทศไทยตอนบน ประมาณ 1-2 ลูก ส่วนบริเวณภาคใต้นั้นจะมีฝนตกต่อไปอีกจนถึงกลางเดือนมกราคม 2564”

“สงขลานครินทร์” ทำแผนนำวิทยาศาสตร์ดิจิทัลสร้างนวัตกรรมเพื่อพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ เกษตร การท่องเที่ยว และสาธารณสุข

มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ จัดทำแผนงาน “วิทยาศาสตร์ดิจิทัลเพื่อสร้างนวัตกรรม สําหรับการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม และทรัพยากรมนุษย์” เพื่อใช้องค์ความรู้ในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ การพัฒนาทรัพยากรทะเลและชายฝั่ง การท่องเที่ยว และสาธารณสุข เพื่อรับกระแสการเปลี่ยนแปลงสู่โลกดิจิทัล ที่ต้องการทรัพยากรมนุษย์ที่เป็นผู้ที่มีความรู้และมีทักษะที่จําเป็นสำหรับอนาคต เพื่อให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ ยุทธศาสตร์เชิงพื้นที่และการพัฒนาประเทศตามแนว BCG Economy ที่เน้นการพัฒนาโดยอาศัยเศรษฐกิจชีวภาพ การใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่าและยั่งยืน โดยความร่วมมือด้านวิชาการกับ Stanford University ประเทศสหรัฐอเมริกา และงบประมาณสนับสนุนจาก กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)

“พลาสมา” จากผู้ป่วยที่หายจากโรค COVID-19 รักษาผู้ป่วยปอดอักเสบรุนแรง

เมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม 2563 โรงพยาบาลสงขลานครินทร์ มีรายงานการใช้พลาสมาจากผู้ป่วยที่หายจากโรค COVID-19 คนแรกของโรงพยาบาลสงขลานครินทร์ นำมาร่วมใช้ ในการรักษาผู้ป่วยปอดอักเสบรุนแรงจนผู้ป่วยอาการดีขึ้นและสามารถถอดท่อช่วยหายใจออกได้ “เพราะชีวิตนั้นมหัศจรรย์ ยิ่งเราได้ช่วยเหลือกันยิ่งเพิ่มคุณค่าของชีวิตอีกมากมาย”

มองวิกฤตเป็นโอกาส อยู่บ้านปิดเทอมใหญ่ช่วงโควิด

จากสถานการณ์โควิด-19 ส่งผลให้เด็กๆ ต้องหยุดอยู่บ้านตามนโยบายเว้นระยะห่างทางสังคม ในขณะที่พ่อแม่หลายท่านก็อาจจะต้องทำงานที่บ้านแทนการเดินทางไปที่ทำงาน เพราะฉะนั้นนี่ถือเป็นโอกาสที่ดี ที่พ่อแม่จะได้มีเวลาใกล้ชิดและหมั่นสังเกตพัฒนาการของเด็กๆ ว่าเหมาะสมกับช่วงวัยของพวกเขาหรือไม่

มาตรการช่วยเหลือ นศ. ในสถานการณ์วิกฤติ COVID-19 ของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

ผู้ช่วยศาสตราจารย์สุพจน์ โกวิทยา รองอธิการบดีฝ่ายพัฒนานักศึกษาและศิษย์เก่าสัมพันธ์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ กล่าวว่า มหาวิทยาลัยเปรียบเหมือนครอบครัวใหญ่ที่มีสมาชิกจำนวนมากและเป็นเรื่องธรรมดาที่ต้องมีการแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นตลอดเวลา ซึ่งปัญหาส่วนหนึ่งที่เกี่ยวกับชีวิตความเป็นอยู่ของนักศึกษา เป็นหน้าที่ของฝ่ายกิจการนักศึกษาที่ต้องดูแลเรื่องนี้

ศบค.ประกาศผ่อนคลายล็อกดาวน์ระยะที่ 2 ดีเดย์วันที่ 17 พ.ค. 63 นี้ !!

การประชุมศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) หรือ ศบค.ชุดใหญ่ ที่มี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธานในวันนี้ ได้มีผลสรุปการผ่อนคลายล็อกดาวน์ระยะที่ 2 โดยมีการประกาศเปลี่ยนแปลงมาตรการต่างๆ โดยที่ประชุมมองว่า ควรมีการผ่อนคลายมาตรการบางอย่าง เพื่อให้เศรษฐกิจเริ่มเดินหน้าต่อไปได้ แต่ก็ยังขอให้ประชาชนระมัดระวังการแพร่ระบาดระลอก 2 ที่อาจเกิดขึ้นได้

ทีมนักวิจัย ม.สงขลานครินทร์ ระบุชนิดโรคอุบัติใหม่ ใบร่วงยางพารา ได้สำเร็จเป็นรายงานแรกในโลก

จากสถานการณ์การระบาดของโรคใบร่วงยางพาราที่เริ่มสำรวจพบตั้งแต่เดือนตุลาคม 2562 ในไทยพบระบาดครั้งแรกในพื้นที่จังหวัดนราธิวาส และยังพบในพื้นที่จังหวัดอื่นๆ ได้แก่ ยะลา ตรัง พังงา ปัตตานี สุราษฎร์ธานี สงขลา กระบี่ และสตูล มีรายงานความเสียหายจากโรคใบร่วงยางพารามากกว่า 100,000 ไร่ โรคนี้สามารถพบได้ในยางพาราตั้งแต่ระยะต้นกล้าในแปลงเพาะชำจนถึงระยะในแปลงทุกช่วงอายุ สายพันธุ์ที่พบเป็นโรค ได้แก่ สายพันธุ์ RRIM 600, RRIT 251,PB 235 และ PB311 ซึ่งเข้าทำลายส่วนต่าง ๆ ของต้นยาง ได้แก่ ฝัก ใบ กิ่งก้าน และหน้ากรีดยาง ฝักที่ถูกทำลายจะเน่าดำ ค้างอยู่บนต้น ไม่แตก และร่วงหล่นตามธรรมชาติ กลายเป็นแหล่งพักตัวของเชื้อ และที่สำคัญ ผลผลิตยางจะเริ่มลดลง