มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ โดยศูนย์พัฒนาอุตสาหกรรมเกษตรเพื่อการส่งออก คณะอุตสาหกรรมเกษตร ร่วมกับ กรมทรัพย์สินทางปัญญา กระทรวงพาณิชย์ จัดประชุมชี้แจงโครงการจัดทําระบบควบคุมคุณภาพและมาตรฐานสินค้าสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ไทย (Internal Control) สินค้า “ปลากะพงสามน้ำทะเลสาบสงขลา” ภายใต้โครงการส่งเสริมและคุ้มครองสินค้าสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ไทย เพื่อให้สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ที่ขึ้นทะเบียนแล้วมีระบบควบคุมตรวจสอบคุณภาพ ทั้งกระบวนการผลิต และแหล่งที่มาของสินค้า รวมทั้งผู้ผลิตและผู้ประกอบการที่ผ่านการตรวจสอบจะได้รับอนุญาตให้ใช้ตราสัญลักษณ์ สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ไทย โดยมี นายกองเอกพุทธ กฤชคงพันธุ์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา เป็นประธาน ผศ. ดร.เสาวคนธ์ วัฒนจันทร์ คณบดีคณะอุตสาหกรรมเกษตร ม.อ. กล่าวรายงาน
ม.สงขลานครินทร์ และไปรษณีย์ไทย ชวนร่วมแคมเปญไปรษณีย์ reBOX ต่อเนื่องเป็นปีที่ 4 ภายใต้แนวคิด “กล่องรักที่สัมผัสได้” กล่องเก่าเป็นกล่องใหม่ สร้างประโยชน์ต่อไปไม่รู้จบ มาร่วมรีไซเคิล กล่อง/ซอง ที่ไม่ใช้แล้ว เป็นกล่อง BOX บุญ ส่งมอบให้หน่วยงานคนพิการ นำไปสร้างประโยชน์ให้คนพิการต่อไปเพียงรวบรวม กล่อง/ซองกระดาษที่ไม่ใช้แล้ว ทุกประเภทมาไว้ที่บริเวณหน้าอาคารศูนย์ไปรษณีย์ได้ทั่วประเทศ หรือ ในพื้นที่อำเภอหาดใหญ่ ณ บริเวณที่ทำการไปรษณีย์ สาขา ม.สงขลานครินทร์ ตั้งอยู่บริเวณชั้น 1 อาคารกีฬาและนันทนาการ ศูนย์กีฬาและสุขภาพ วิทยาเขตหาดใหญ่ ระยะเวลาแคมเปญ 20 กุมภาพันธ์ – 31 ตุลาคม 2566
เมื่อวันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2566 ที่ห้องประชุม อุทยานวิทยาศาสตร์ภาคเหนือ จ.เชียงใหม่ 8 มหาวิทยาลัยร่วมพิธีลงนามบันทึกความเข้าใจเครือข่ายพันธมิตรมหาวิทยาลัยเพื่อการวิจัย (Research University Network : RUN) ประกอบด้วย มหาวิทยาลัยมหิดล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยนเรศวร และมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
หลักสูตรวิศวกรรมและการจัดการนวัตกรรม (หลักสูตรนานาชาติ) คณะวิศวกรรมศาสตร์ ม.สงขลานครินทร์ ลงนามความร่วมมือกับมหาวิทยาลัย Robert Morris University (RMU), United States ในวันพฤหัสบดีที่ 19 มกราคม 2566 โดยมี ผศ.ดร.นิวัติ แก้วประดับ อธิการบดี พร้อมด้วย ผศ.ดร.นิคม สุวรรณวร คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ ผศ.ดร.กุสุมาลย์ เฉลิมยานนท์ ผอ.หลักสูตร innoEM และคณะผู้บริหารของคณะฯ ร่วมลงนามกับ Dr. Michelle Patrick President, RMU และคณะผู้บริหารของมหาวิทยาลัย RMU
รศ. ดร.พิมพ์ชนก บัวเพชร หลักสูตรชีววิทยาศาสตร์ สาขาวิทยาศาสตร์ชีวภาพ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ได้รับทุนในสาขาชีวภาพ ในงานวิจัย “การบูรณาการคุณลักษณะทางนิเวศสรีรวิทยาของหญ้าทะเลเพื่อส่งเสริมการฟื้นฟูระบบนิเวศและความสามารถในการกักเก็บคาร์บอน” จากการแถลงข่าว โครงการทุนวิจัย ลอรีอัล ประเทศไทย “เพื่อสตรีในงานวิทยาศาสตร์” (For Women in Science) ประจำปี 2565 โดยมีคุณอรอนงค์ ประทักษ์พิริยะ ผู้อำนวยการฝ่ายกิจการองค์กรและสื่อสารสัมพันธ์ บริษัท ลอรีอัล (ประเทศไทย) จำกัด เป็นประธาน ณ ห้องแกรนด์ฮอลล์ ดิ แอทธินี โฮเต็ล กรุงเทพมหานคร เมื่อวันที่ 21 พ.ย. 65
อาจารย์สุพัทธ์รดา เปล่งแสง อาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ได้เขียนบทความเรื่อง ซื้อขายออนไลน์คือการซื้อขายในตลาดแบบตรง ผ่าน bangkokbiznews และได้ให้ความรู้เรื่องดังกล่าวผ่านรายการรู้กฎหมายง่ายนิดเดียว ทางคลื่น FM 88 MHz ว่า “หลายคนหันมาหาช่องทางเพิ่มรายได้ด้วยการขายของออนไลน์กันมากขึ้น แม้การแข่งขันจะสูง แต่ก็ถือว่าขายง่าย ลูกค้าเยอะ และเป็นอาชีพที่เหมาะกับสถานการณ์ในช่วงนี้มากที่สุด ปัจจุบันการซื้อขายสินค้าและบริการผ่านระบบออนไลน์ได้รับความนิยมแบบก้าวกระโดด แต่ปฏิเสธไม่ได้ว่าปัญหาที่เกิดจากการซื้อขายสินค้าออนไลน์ก็มีมากขึ้นเช่นกัน เช่น ผู้ซื้อไม่ได้รับสินค้า ได้รับสินค้าล่าช้า หรือได้รับสินค้าไม่ตรงตามที่ทำสัญญา ซึ่งผู้บริโภคน้อยรายที่จะทราบว่าการซื้อขายสินค้ารูปแบบดังกล่าวอยู่ภายใต้การควบคุมของ “พระราชบัญญัติขายตรงและตลาดแบบตรง พ.ศ. 2545” และ “พระราชบัญญัติขายตรงและตลาดแบบตรง (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2560” “
เมื่อวันที่ 21 ตุลาคม 2565 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ลงนามบันทึกข้อตกลง กับสำนักงานอุตสาหกรรม และ สภาอุตสาหกรรมจังหวัดสงขลา โดยได้รับเกียรติจาก ผศ.ดร. นิวัติ แก้วประดับ รักษาการอธิการบดีมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ รศ.ดร.อัญชนา ประเทพ คณบดีคณะวิทยาศาสตร์ คุณอารีรัตน์ สิริศาสตร์กุล รักษาราชการแทนอุตสาหกรรมจังหวัดสงขลา และคุณสุวิทย์ ตันรัตนากร ประธานสภาอุตสาหกรรมจังหวัดสงขลา ลงนามข้อตกลงทางวิชาการในการร่วมมือกันในการบริการวิชาการ การให้คำปรึกษาการบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจกเพื่อภาคอุตสาหกรรม เพื่อขับเคลื่อนแผนแม่บทรองรับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ พ.ศ. 2558 – 2593
“คาร์บอนเครดิต” เทรนด์ใหม่ในช่วงนี้ ไม่ว่าจะในวงการกฎหมาย วงการธุรกิจ วงการอุตสาหกรรม หรือวงการท่องเที่ยว เราจะได้ยินการหยิบยกนิยามของคาร์บอนเครดิตเข้ามาพูด ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการรณรงค์ การอนุรักษ์ หรือการใช้เป็นสื่อโปรโมทความเป็น CSR การคำนึงถึงสังคมของแต่ละองค์กร แต่ละภาคส่วน ซึ่งคาร์บอนเครดิตให้ทำความเข้าใจง่ายๆ คือความเชื่อมโยงกันในการปล่อยก๊าซเรือนกระจก หรือว่าภาวะการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ หรือว่า climate change “คาร์บอนเครดิต” เป็นนิยามระดับใหม่ตัวนึง ก็คือระดับของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ รวมถึงก๊าซตัวอื่นๆที่มีการปล่อยออกสู่ชั้นบรรยากาศที่ส่งผลให้เกิดผลกระทบต่อภาวะเรือนกระจก และ climate change
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ โดย พิพิธภัณฑสถานธรรมชาติวิทยา ๕๐ พรรษา สยามบรมราชกุมารี และศูนย์แม่ข่ายประสานงาน อพ.สธ. ภาคใต้ จัดโครงการ Open House ปี 2565 ตอน “สัตว์ดึกดำบรรพ์ลึกลับจากยุคไทรแอสซิก ที่ถูกค้นพบจากจังหวัดพัทลุง สู่การตีความครั้งใหม่” เพื่อเผยแพร่องค์ความรู้เรื่องสัตว์ดึกดำบรรพ์ลึกลับจากยุคไทรแอสซิกให้แก่เยาวชนและบุคคลทั่วไป สนับสนุนให้เยาวชนได้แสดงความคิดเห็นสะท้อนแง่มุมของตนเองต่อการเรียนรู้ธรรมชาติวิทยา ตลอดจนเปิดโอกาสให้เยาวชนใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์และสนุกเพลิดเพลินจากการร่วมกิจกรรม ในวันที่ 3 ตุลาคม 2565 ณ พิพิธภัณฑสถานธรรมชาติวิทยา ๕๐ พรรษา สยามบรมราชกุมารี มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา
สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ NIA กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม (อว.) จับมือ 5 สถาบันการศึกษา ได้แก่ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา และสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา เปิด “ศูนย์สร้างนวัตกรรุ่นใหม่ – STEAM 4 INNOVATOR Center” พื้นที่ในการสร้างเยาวชนรุ่นใหม่ให้เป็นโค้ชนวัตกร รวมถึงการนำองค์ความรู้และกระบวนการสร้างนวัตกรรม STEAM4INNOVATOR ไปถ่ายทอดต่อให้เยาวชนได้พัฒนาฝึกฝนทักษะการสร้างนวัตกรรม โดยตั้งเป้าพัฒนาเยาวชนมากกว่า 15,000 คน ในปี 2566 และขยายเป็นทวีคูณในปีต่อไปผ่านการดำเนินกิจกรรมของศูนย์ฯ การบรรจุเป็นวิชาเรียน General Education และวิชาที่เกี่ยวข้องกับการสร้างนวัตกรรมและการเป็นผู้ประกอบการของมหาวิทยาลัยเครือข่ายซึ่งครอบคลุม 12 จังหวัด