วันนี้ (21 พฤษภาคม 2563) ที่สมาคมประมงสงขลา โดยบริษัท ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) และบริษัทร่วมทุน สนับสนุนข้าวสาร จำนวน 500 กิโลกรัม ให้แก่สมาคมประมงสงขลา เพื่อนำไปส่งต่อให้แก่ผู้ได้รับผลกระทบจากมาตรการป้องกันเชื้อไวรัส COVID-19 ในพื้นที่จังหวัดสงขลา ทั้งนี้บริษัท ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) ยังคงดำเนินการโครงการช่วยเหลือผู้ได้รับผลกระทบจากมาตรการป้องกันเชื้อไวรัส COVID-19 อย่างต่อเนื่อง
เดินห้าง สไตล์ New Normal ปลอดภัย ห่างไกลโควิด
หลังจากที่ประชุม ศบค. ประกาศผ่อนปรนมาตรการระยะ 2 คลายล็อกกลุ่มกิจกรรม/กิจการ และสามารถเปิดห้างสรรพสินค้าได้ โดยที่ต้องปฎิบัติตามมาตรการความปลอดภัย ในส่วนทางห้างสรรพสินค้าต่างๆ ก็เตรียมความพร้อมเพื่อสร้างความมั่นใจให้แก่ลูกค้า ไม่ว่าจะเป็นการ Big Cleaning, มาตรการเว้นระยะห่างทางสังคม (Social Distancing), พ่นฆ่าเชื้อโรค-อบโอโซน, ตั้งจุดคัดกรองก่อนเข้าห้างฯ รวมถึงการใช้แพลตฟอร์ม "ไทยชนะ"
ข้อมูลจากดาวเทียม NASA ช่วยทำนายการแพร่ระบาดของโรคมาลาเรีย !!
กลิ่นชื้นของดินจากฝนคลุ้งไปทั่วเมือง ฤดูฝนย่างกรายเข้ามาพร้อมความสดชื่น เพิ่มความชื้นให้ประเทศเมืองร้อน แต่แหล่งน้ำขังกำลังนำมาซึ่งยุง พาหะของโรคมาลาเรีย (Malaria) แม้หลายจังหวัดในประเทศไทยจะไม่มีการระบาดของโรคมาลาเรีย แต่ก็หาใช่ว่าจะปฎิเสธได้ว่าไม่มีการระบาดของมาลาเรียเลยในหลายจังหวัดของประเทศไทยเช่นกัน ยกตัวอย่างเช่น จังหวัดตาก กาญจนบุรี ตราด ราชบุรี แม่ฮ่องสอน ยะลา ศรีสะเกษ จันทบุรี เป็นต้น ที่พบผู้ติดเชื้อตามพื้นที่ป่าเขา
“ท้องผูก” อาการที่คุณไม่ควรมองข้าม
ท้องผูกเป็นอาการที่พบได้บ่อย หมายถึง การที่ลำไส้ไม่สามารถขับถ่ายอุจจาระได้ง่ายและสม่ำเสมอ โดยมีความถี่ของการขับถ่ายอุจจาระน้อยกว่า 3 ครั้งต่อสัปดาห์ร่วมกับก้อนอุจจาระมีลักษณะแข็งและยากต่อการขับถ่ายออกมา คนที่มีท้องผูกอาจรู้สึกเจ็บปวดเวลาถ่ายอุจจาระซึ่งมักต้องออกแรงเบ่ง ท้องอืดมีลมเยอะ แน่นท้องและรู้สึกว่าถ่ายไม่หมดรวมถึงถ่ายอุจจาระใช้เวลานาน
สมุนไพร “ไล่ยุง” ปลูกติดบ้าน ไร้ยุงกวนใจ
เข้าสู่ฤดูฝนอย่างเป็นทางการ!!! จากที่กรมอุตุนิยมวิทยา ประกาศ “การเข้าสู่ฤดูฝนของประเทศไทย พ.ศ.2563” ว่า ในปีนี้ประเทศไทยจะเข้าสู่ฤดูฝนอย่างเป็นทางการตามเกณฑ์ทางอุตุนิยมวิทยาตั้งแต่วันที่ 18 พ.ค.2563 เป็นต้นไป และจะสิ้นสุดลงในช่วงกลางเดือน ต.ค. ทำให้พื้นที่ต่างๆ ทั่วประเทศไทย มีการระบาดของโรคไข้เลือดออก ที่มียุงลายเป็นพาหะนำโรค โดยกรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก ได้ให้ข้อมูลเกี่ยวกับสมุนไพรพื้นบ้านที่หาง่าย สามารถใช้ไล่ยุงได้ ไร้สารเคมีอีกด้วย
“ดื่มสุรา” เพิ่มความเสี่ยงต่อการติดเชื้อแบคทีเรีย/ไวรัส 3 -7 เท่า !!
การดื่มสุราทำให้ภูมิคุ้มกันลดลง เพิ่มความเสี่ยงต่อการติดเชื้อแบคทีเรียและไวรัสกว่า 3 - 7 เท่า มีโอกาสเข้าไอซียู มากกว่าปกติ 60% หากป่วยเป็นโรคปอดบวม กลุ่มผู้สูงอายุ 60 ปีขั้นไป ยังเพิ่มความเสี่ยงในการติดเชื้อและป่วยเป็นหวัดได้ 30% ส่วนหญิงตั้งครรภ์ ที่ดื่มสุรา เพิ่มความเสี่ยงติดเชื้อในปอดของทารกแรกเกิดถึง 2.9 เท่า
หลังโควิด ชวนไปพิชิต “แสงเกเกินไชน์ (Gegenschein)”
การถ่ายภาพแสงเกเกินไชน์ (Gegenschein) ซึ่งน้อยคนที่จะรู้จัก สำหรับนักดาราศาสตร์นั้น ก็ควรต้องมีโอกาสได้เห็นสักครั้ง เพราะเป็นแสงที่มองเห็นได้ค่อนข้างยาก ต้องใช้เทคนิคพิเศษในการสังเกตการณ์ และยังต้องสังเกตในสถานที่มืดสนิทและปราศจากแสงใดๆ มารบกวนเท่านั้น
“การแพทย์วิถีใหม่” เน้นความปลอดภัย-ลดความแออัด
ดร.สาธิต ปิตุเตชะ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข กล่าวถึงสถานการณ์โรคโควิด-19 ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในหลายๆด้าน ในส่วนของด้านการแพทย์ก็มีปรับเปลี่ยนรูปแบบการให้บริการด้านการแพทย์และสาธารณสุข เพื่อลดความแออัดในโรงพยาบาล และเว้นระยะห่างทางสังคม เพื่อความปลอดภัยทั้งบุคลากรทางการแพทย์และประชาชน รวมถึง ลดความเหลื่อมล้ำ เพิ่มการเข้าถึงบริการและยกระดับคุณภาพบริการ ก็จะทำให้มีคุณภาพและประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
“โรคยอดฮิต ที่มากับฝน” รู้ทันป้องกันได้
วันที่ 14 พฤษภาคม 2563 นาวาอากาศเอก สมศักดิ์ ขาวสุวรรณ์ กล่าวว่า “ในปีนี้ประเทศไทยจะเข้าสู่ฤดูฝนอย่างเป็นทางการตามเกณฑ์ทางอุตุนิยมวิทยาตั้งแต่วันที่ 18 พ.ค. 2563 เป็นต้นไป และจะสิ้นสุดลงในช่วงกลางเดือน ต.ค. ในระยะแรกของฤดูปริมาณและการกระจายตัวของฝนจะยังไม่สม่ำเสมอ แต่จะมีปริมาณฝนเพิ่มมากขึ้นในช่วงปลายเดือนนี้ และมีโอกาสสูงที่จะมีพายุหมุนเขตร้อนเคลื่อนผ่านประเทศไทยตอนบน ประมาณ 1-2 ลูก ส่วนบริเวณภาคใต้นั้นจะมีฝนตกต่อไปอีกจนถึงกลางเดือนมกราคม 2564”
“สงขลานครินทร์” ทำแผนนำวิทยาศาสตร์ดิจิทัลสร้างนวัตกรรมเพื่อพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ เกษตร การท่องเที่ยว และสาธารณสุข
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ จัดทำแผนงาน “วิทยาศาสตร์ดิจิทัลเพื่อสร้างนวัตกรรม สําหรับการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม และทรัพยากรมนุษย์” เพื่อใช้องค์ความรู้ในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ การพัฒนาทรัพยากรทะเลและชายฝั่ง การท่องเที่ยว และสาธารณสุข เพื่อรับกระแสการเปลี่ยนแปลงสู่โลกดิจิทัล ที่ต้องการทรัพยากรมนุษย์ที่เป็นผู้ที่มีความรู้และมีทักษะที่จําเป็นสำหรับอนาคต เพื่อให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ ยุทธศาสตร์เชิงพื้นที่และการพัฒนาประเทศตามแนว BCG Economy ที่เน้นการพัฒนาโดยอาศัยเศรษฐกิจชีวภาพ การใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่าและยั่งยืน โดยความร่วมมือด้านวิชาการกับ Stanford University ประเทศสหรัฐอเมริกา และงบประมาณสนับสนุนจาก กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)