าคใต้มีข้าวพันธุ์พื้นเมืองหลายสายพันธุ์ ซึ่งบางสายพันธุ์มีศักยภาพเป็นวัตถุดิบผลิตคราฟต์เบียร์คุณภาพร่วมกับการใช้ข้าวบาร์เล่ย์ โดยดร.อิสระ แก้วชนสมบูรณ์ ผู้อำนวยการศูนย์นวัตกรรมอย่างยั่งยืน ม.สงขลานครินทร์เล่าว่า คณะนักวิจัยได้หารือกับกลุ่มผู้ประกอบการท่องเที่ยวภูเก็ตซึ่งสนใจอยากผลิตคราฟท์เบียร์เพื่อกลุ่มผู้บริโภคนักท่องเที่ยวต่างชาติกำลังซื้อสูงโดยใช้ข้าวพื้นเมืองภาคใต้ เช่น ข้าวเบายอดม่วง ข้าวสังหยด ข้าวเล็บนก เป็นต้น โดยทีมวิจัยได้พัฒนามอลต์และสูตรคราฟต์เบียร์ 5 สูตร 10 ชนิด โจทย์สำคัญคือใช้ข้าวไทยและผลไม้ไทยในการผลิตเบียร์ ตอบสนองผู้ผลิตคราฟต์เบียร์ขนาดกลาง ขนาดเล็ก ปริมาณการผลิต 100 ลิตร 1000 ลิตร และออกแบบเครื่องต้นแบบผลิตเบียร์ขนาด 200 ลิตร ซึ่งมีผู้ประกอบการสนใจเป็นผู้ผลิตเครื่องผลิตเบียร์ขนาด 200 ลิตรดังกล่าวด้วย
สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม โดย ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการ สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ นำคณะผู้ทรงคุณวุฒิ วช. และสื่อมวลชน ลงพื้นที่เยี่ยมชมโครงการ “การพัฒนาวัสดุยางธรรมชาติเทอร์โมพลาสติกตามแนวทางเศรษฐกิจใหม่ BCG” เพื่อติดตามความก้าวหน้าการดำเนินงานการประยุกต์ใช้องค์ความรู้งานวิจัยเป็นฐาน เพื่อผลิตเป็นวัสดุจักรสานสำหรับเฟอร์นิเจอร์จากยางธรรมชาติเทอร์โมพลาสติก ตอบโจทย์ BCG Economy ภายใต้แนวคิด นวัตกรรมเพื่อสิ่งแวดล้อม “ยางธรรมชาติเทอร์โมพลาสติก” ที่ วช. ให้การสนับสนุนทุนวิจัย แก่ ดร.ณัฐพนธ์ อุทัยพันธุ์ รักษาการแทนรองผู้อำนวยการ โครงการจัดตั้งวิทยาลัยนานาชาติยางพาราไทย-จีน ซึ่งเป็นหัวหน้าโครงการฯ
รศ.ดร.ระชา เดชชาญชัยวงศ์ อาจารย์ประจำคณะวิศวกรรมการศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เล่าในรายการแลบ้านแลเมืองว่า “สภาพอากาศในตอนนี้ มีฝุ่น pm 2.5 ประเทศไทยอยู่ในช่วงของลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ เพราะฉะนั้นลมส่วนใหญ่จะมาจากทางเหนือ ค่า pm 2.5 ในพื้นที่ตอนนี้อยู่ที่ 30-50 µg/m3 ซึ่งช่วงนี้ร้อนอบอ้าวมาก ลมระดับผิวพื้นค่อนข้างต่ำมาก พอลมต่ำอัตราการระบายอากาศไม่ดี เพราะฉะนั้นไม่ว่าจะฝุ่นหรือควันอะไรก็ตามที่เกิดขึ้นในพื้นที่มันจะถูกระบายไปข้างนอกได้ไม่ดี ลักษณะจะถูกครอบฝุ่นควันเอาไว้ ทำให้เกิดการสะสมอยู่ในบริเวณภาคใต้ ทั้งควันรถ การเผา ควันจากอุตสาหกรรม ฯลฯ ประกอบกับลมตะวันออกเฉียงเหนือพัดผ่านกลุ่มเผาไหม้ที่เกิดขึ้นในประเทศลาว กัมพูชา เวียดนาม บางส่วนเข้ามาในพื้นที่ภาคใต้ และมีลมตะวันตกเฉียงเหนือพัดมาจากมหาสมุทรอินเดียที่พัดเพิ่มเข้ามา ทั้งนี้หากมีลมในพื้นที่เพียงพอ ปริมาณค่าฝุ่น pm 2.5 ก็จะไม่เกินมาตรฐาน
นายแพทย์สงกรานต์ ไหมชุม นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดสงขลา กล่าวว่า เทศกาลสงกรานต์เป็นช่วงที่ประชาชนมีการเดินทางกลับภูมิลำเนาและท่องเที่ยวในสถานที่ต่าง ๆ และเนื่องจากเป็นช่วงที่มีวันหยุดติดต่อกันหลายวัน ทำให้ปัจจัยเสี่ยงการเกิดอุบัติเหตุทางถนนเพิ่มสูงขึ้นกว่าช่วงปกติ ทั้งปัจจัยด้านคน และยานพาหนะ จากข้อมูลการเกิดอุบัติเหตุจังหวัดสงขลาใน ปี 2565 พบว่าสาเหตุการเกิดอุบัติเหตุส่วนใหญ่เกิดจากขับรถเร็วกว่ากฎหมายกำหนด ดื่มแล้วขับ ตัดหน้ากระชั้นชิด และทัศนวิสัย สำหรับช่วงเวลาเกิดอุบัติเหตุสูงสุดคือช่วงเวลา 18.01-21.00 น.ยานพาหนะที่เกิดอุบัติเหตุส่วนใหญ่เป็นรถจักรยานยนต์ (77.78) และการบาดเจ็บรุนแรงส่วนใหญ่เกิดจากผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์ไม่สวมหมวกนิรภัย (66.67) และพบว่าถนนในเขตองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเกิดอุบัติเหตุสูงสุด รองลงมาคือถนนทางหลวงและทางหลวงชนบท อำเภอที่เกิดอุบัติเหตุสูงสุด คืออำเภอหาดใหญ่ จะนะ และเมืองสงขลาตามลำดับ
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ร่วมกับ จังหวัดตรัง การยางแห่งประเทศไทยจังหวัดตรัง และหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนในจังหวัดตรัง จัดงานยางพาราแห่งชาติ ครั้งที่ 1 Rubber Expo 2023 เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตสร้างความเข้มแข็งและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของอุตสาหกรรมยางพารา รวมทั้งเป็นการสร้างการรับรู้ให้แก่เกษตรกรชาวสวนยางพาราในศาสตร์ต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง นายขจรศักดิ์ เจริญโสภา ผู้ว่าราชการจังหวัดตรัง เป็นประธานเปิดงาน ผศ. ดร.จุมพล ชื่นจิตต์ศิริ รักษาการแทนรองอธิการบดีฝ่ายกฎหมายและบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ กล่าวต้อนรับ นายณกรณ์ ตรรกวิรพัท ผู้ว่าการการยางแห่งประเทศไทย กล่าวรายงาน พร้อมด้วย ผู้แทนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และผู้สนใจเข้าร่วมงานอย่างคับคั่ง ณ ศูนย์ประชุมเฉลิมพระเกียรติ 7 รอบ พระชนมพรรษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตตรัง เมื่อวันที่ 8 เม.ย. 66
สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 12 จังหวัดสงขลา เตือนพี่น้องประชาชนในพื้นที่ 7 จังหวัดภาคใต้ตอนล่าง ช่วงนี้อากาศร้อน อาจทำให้อาหารบูดเสียได้ง่าย เสี่ยงป่วยด้วยโรคอาหารเป็นพิษ เน้นย้ำ ประชาชนระมัดระวังเรื่องการรับประทานอาหาร ยึดหลัก “กินร้อน ช้อนกลาง ล้างมือ” และ “กินสุก ร้อน สะอาด” รับประทานอาหารปรุงสุกใหม่ด้วยความร้อน หลีกเลี่ยงอาหารสุก ๆ ดิบ ๆ ไม่ควรรับประทานอาหารที่มีกลิ่นผิดปกติ ป้องกันโรคอาหารเป็นพิษ