ในวันที่ 26 สิงหาคม 2566 ท่าอากาศยานหาดใหญ่ (ทหญ.) ภายใต้การกำกับดูแลของ บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) (ทอท.) ครบรอบการดำเนินงาน 35 ปี ปัจจุบันบริหารงานโดยนาวาอากาศโท รณกร เฉลิมแสนยากร ผู้อำนวยการท่าอากาศยานหาดใหญ่ (ผหญ.) นายชูวิทย์ พันธุ์เณร รองผู้อำนวยการท่าอากาศยานหาดใหญ่ (ด้านสนับสนุนธุรกิจ) รหญ.(สธ.)) และนายนพพร พยัพไพร รองผู้อำนวยการท่าอากาศยานหาดใหญ่ (ด้านปฏิบัติการและบำรุงรักษา) (รหญ.(ปร.)) เป็นผู้ดำเนินการสนามบินสาธารณะที่ได้รับการรับรองจากสำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย (กพท.) ซึ่ง ทอท. ได้กำหนดบทบาททางยุทธศาสตร์ (Strategic Positioning) ให้ ทหญ.เป็นประตูสู่ ภาคใต้สุดของไทย Gateway to Southern-most Thailand ทำหน้าที่เป็นส่วนหนึ่งของการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของภาคใต้ โดยเป็นจุดเชื่อมการเดินทางทางอากาศเส้นทางบินภายในประเทศสู่ 5 จังหวัดในพื้นที่ภาคใต้ของไทย ได้แก่ สงขลา สตูล นราธิวาส ยะลา และปัตตานี รวมถึงเส้นทางบินระหว่างประเทศ ได้แก่ ประเทศมาเลเซีย และสิงคโปร์ มีสายการบินที่ให้บริการเส้นทางบินภายในประเทศ ณ ปัจจุบัน จำนวน 7 สายการบิน ได้แก่ สายการบินไทยสมายล์, สายการบินนกแอร์, สายการบินบางกอกแอร์, สายการบินไทยไลอ้อนแอร์, สายการบินไทยแอร์เอเชีย, สายการบินนกสกู๊ต และสายการบินไทยเวียตเจ็ตแอร์ นำผู้โดยสารเดินทางสู่ดอนเมือง, สุวรรณภูมิ, เชียงใหม่, เชียงราย, ภูเก็ต, อุดรธานี, กัวลาลัมเปอร์ และสิงคโปร์
นายแพทย์สวัสดิ์ อภิวัจนีวงศ์ ผู้ตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุข เขตสุขภาพที่ 12เป็นประธาน
เปิดการประชุมความร่วมมือชายแดนไทย – มาเลเซีย ครั้งที่ 33 (The 33rd Thailand – Malaysia Border Health Goodwill Committee Meeting 2023) เมื่อเช้าวันที่ 23 ส.ค. 2566 ณ โรงแรมลากูน่า แกรนด์ แอนด์ สปา สงขลา อำเภอเมืองสงขลา จังหวัดสงขลา และได้กล่าวว่า ความร่วมมือด้านสาธารณสุขระหว่างไทย และมาเลเซีย เริ่มต้น ในปี พ.ศ. 2502 ณ กรุงกัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย เพื่อร่วมมือแก้ไขปัญหาสาธารณสุขตามแนวชายแดนที่มีผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชนทั้งสองประเทศ ได้แก่ การแพร่ระบาดของโรคติดต่อ การส่งต่อผู้ป่วยข้ามแดน และการคุ้มครองผู้บริโภคด้านอาหารและยา โดยมีการจัดประชุมความร่วมมือสาธารณสุขชายแดนไทย – มาเลเซีย เพื่อร่วมหารือการแก้ไขปัญหา พร้อมทั้งแลกเปลี่ยนเรียนรู้กระบวนการแก้ไขปัญหาสาธารณสุขชายแดน และเพื่อกระชับความสัมพันธ์ของหน่วยงานสาธารณสุขในพื้นที่ชายแดนของทั้งสองประเทศ จึงได้ดำเนินการจัดประชุม ฯ มาอย่างต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน มีบุคลากรจาก 4 รัฐของประเทศมาเลเซียและ 4 จังหวัดของประเทศไทย (คู่จังหวัด-รัฐ) ได้แก่ จังหวัดสงขลา – รัฐเคดาห์ จังหวัดยะลา – รัฐเปรัค จังหวัดสตูล – รัฐเปอร์ลิส และจังหวัดนราธิวาส – รัฐกลันตัน ร่วมประชุม ฯ ซึ่งได้มีการประชุม ฯ เพื่อร่วมแก้ไขปัญหาสาธารณสุขชายแดนไทย – มาเลเซียมาแล้ว จำนวน 32 ครั้ง โดยทั้งสองประเทศมีคู่จังหวัดและรัฐ ผลัดกันเป็นเจ้าภาพหลักและเจ้าภาพร่วมในการจัดประชุม ฯ ทั้งนี้ การประชุมครั้งที่ 33 มีจังหวัดสงขลาเป็นเจ้าภาพหลักและรัฐเคดาห์เป็นเจ้าภาพร่วม ฯ ซึ่งมีการประชุมเตรียมการ (Sub committee Mitting) มาแล้วที่ประเทศมาเลเซีย
สปสช.จับมือ คลินิกกายภาพบำบัด ร่วมดูแลผู้ป่วย 4 กลุ่มโรคสิทธิบัตรทอง 30 บาท ทางเลือกในการรับบริการฟื้นฟูสมรรถภาพ ช่วยเพิ่มการเข้าถึงบริการ สะดวก และลดความแออัดในโรงพยาบาล พร้อมชวน “คลินิกกายภาพบำบัด” ทั่วประเทศกว่า 800 แห่ง เข้าร่วมเป็นหน่วยบริการในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติกับ สปสช. และแนะโรงพยาบาลทั่วประเทศ ดึงคลินิกกายภาพบำบัดในพื้นที่ร่วมเป็นเครือข่ายบริการ ร่วมดำเนินงานบริการผู้ป่วย
ธนาคารแห่งประเทศไทย สำนักงานภาคใต้ (ธปท.) ได้จัดงานสัมมนาทางวิชาการ ประจำปี 2566 “ขับเคลื่อนเศรษฐกิจใต้ ด้วยพลังคนรุ่นใหม่” ในวันพุธที่ 16 สิงหาคม 2566 เวลา 08.30-12.00 น. ณ ศูนย์ประชุมนานาชาติฉลองสิริราชสมบัติครบ ๖๐ ปี อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา เพื่อให้ภาคธุรกิจและประชาชนในภาคใต้ได้รับทราบทิศทาง เศรษฐกิจการเงิน นโยบาย ธปท. รวมถึงประมาณการเศรษฐกิจภาคใต้ในอีก 2 ปีข้างหน้า เพื่อการวางแผนของภาคธุรกิจและครัวเรือน นอกจากนี้ ยังได้กลุ่มคนคิดใหม่มาแลกเปลี่ยนมุมมอง แนวคิด และประสบการณ์ รวมถึงยังได้ชี้ให้เห็นความเป็นไปได้ในการขับเคลื่อนและยกระดับเศรษฐกิจภาคใต้ โดยมีผู้เข้าร่วมสัมมนาและรับชมผ่านช่องทางออนไลน์ จากภาคธุรกิจ การเงิน การศึกษา ภาครัฐ และประชาชนทั่วไป โดยงานสัมมนาแบ่งเป็น 3 ช่วง
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ โดย ศูนย์กิจการนานาชาติและสื่อสารองค์กร ร่วมกับ สำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม และเครือข่ายมหาวิทยาลัย เปิดงานนิทรรศการตลาดนัดหลักสูตรอุดมศึกษา ครั้งที่ 25 เพื่อประชาสัมพันธ์เผยแพร่หลักสูตรระดับอุดมศึกษาทั้งหลักสูตรไทยและนานาชาติ ข้อมูลทางการศึกษา แก่นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย ครู ผู้ปกครอง รวมทั้งผู้สนใจทั่วไป สร้างความเข้าใจและการตัดสินใจของนักเรียนในการเลือกเข้าศึกษาในสาขาที่ถนัด โดยมี ผศ. ดร.เถกิง วงศ์ศิริโชติ รองอธิการบดีฝ่ายวิชาการและวิเทศสัมพันธ์ เป็นประธานเปิดงาน ซึ่งมีนักเรียนจากโรงเรียนระดับมัธยมศึกษาใน 14 จังหวัดภาคใต้เข้าร่วมอย่างคึกคัก ณ ศูนย์ประชุมนานาชาติฉลองสิริราชสมบัติครบ ๖๐ ปี มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ ร่วมกับ ชุมชนมัสยิด ซาฮิ ปากีสถาน จัดกิจกรรมภายใต้งาน “ชวนกันมาจิบชาปากีฯ” ในวันที่ 16 สิงหาคม 2566 ณ มัสยิดปากีสถาน อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา โดยถือเป็นกิจกรรมหนึ่งในงานเทศกาลออกแบบปักษ์ใต้ครั้งแรกของภาคใต้ Pakk Taii Design Week ร่วมกับเครือข่ายนักสร้างสรรค์รุ่นใหม่ มุ่งเป้าหมายเพื่อนำเสนอคุณค่าของทุนวัฒนธรรมผ่านเรื่องราวความเป็นมา วิถีชีวิตของชาวมุสลิมปากีสถานในอำเภอหาดใหญ่ ซึ่งเป็นหนึ่งในพื้นที่ศึกษาของโครงการวิจัย “วิถีมงคลของนครหาดใหญ่บนฐานทุนวัฒนธรรมสู่การพัฒนาเศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์”
จังหวัดสงขลา มีพื้นที่ปลูกทุเรียน ทั้งหมด 22,900 ไร่ ใน 12 อำเภอ ของจังหวัดสงขลา พื้นที่ที่ให้ผลผลิตแล้ว จำนวน 18,229 ไร่ โดยอำเภอที่มีพื้นที่ให้ผลผลิตทุเรียนมากที่สุด ได้แก่ อำเภอนาทวี 6,231 ไร่ อำเภอสะบ้าย้อย 4,442 ไร่ อำเภอรัตภูมิ 2,158 ไร่ อำเภอสะเดา 1,405 ไร่ และอำเภอจะนะ 1,360 ไร่ รวมเป็น 15,596 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 85.56 จังหวัดสงขลามีการพัฒนาทุเรียน ดังนี้ 1. ส่งเสริมการเกษตรแปลงใหญ่ทุเรียน 2. ยกระดับคุณภาพมาตรฐาน GAP ครอบคลุมทุกแปลง (ทุเรียน) ในปี 2569 3. ควบคุมการซื้อขายทุเรียนป้องกันทุเรียนอ่อน ตามมาตรการ จังหวัดสงขลา ปี 2566 4. จัดการความรู้การผลิตทุเรียนคุณภาพเชิงพื้นที่ และ 5. จัดตั้งเป็นสมาคมหรือสมาพันธ์ เพื่อให้การบริหารจัดการด้านการผลิตและการตลาดมีความคล่องตัวขึ้น
เมื่อวันที่ (4 ส.ค. 66) ที่ห้องแกรนด์ คอนเวนชั่น ฮอลล์ บี โรงแรมลี การ์เดนส์ พลาซ่า หาดใหญ่ จังหวัดสงขลา องค์การบริหารส่วนจังหวัดสงขลา ร่วมกับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี และสถาบันวิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จัดงานแถลงข่าวและประชุมรับฟังความคิดเห็นภาคเอกชน (Market Sounding) โครงการจ้างที่ปรึกษาเพื่อศึกษาความเหมาะสมการพัฒนาพื้นที่โดยรอบสถานีรถไฟฟ้าโมโนเรล (Transit Oriented Development : TOD) สถานีคอหงส์ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา โดยมีท้องถิ่นจังหวัดสงขลา ผู้ที่สนใจลงทุนในการพัฒนาพื้นที่เชิงพาณิชย์ ทั้งภาครัฐ และภาคเอกชน ตลอดจนสื่อมวลชนทุกแขนงสนใจเข้าร่วมงานเป็นจำนวนมาก