เต่าทะเลเกยตื้น อ่าวไทยตอนล่าง จ.สงขลาพบสูงสุด ช่วง 3 ปี

จากกรณีที่ ศูนย์วิจัยทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งอ่าวไทยตอนล่าง (ศูนย์วิจัย ทช. อ่าวไทยตอนล่าง) แจงมีผู้แจ้งพบเต่าตนุ 2 ตัว เกยตื้น ในวันที่ 15 พฤษภาคม 2567 ที่ผ่านมา และทางศูนย์วิจัยฯ นำตรวจวินิจฉัยและรักษา รอพักฟื้นก่อนปล่อยกลับสู่ธรรมชาติ 

คุณราตรี สุขสุวรรณ์ ผู้อำนวยการศูนย์วิจัย ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง อ่าวไทยตอนล่าง พูดคุยถึงประเด็นการเกยตื้นของเต่าตนุในรายการ ‘แลบ้าน แลเมือง’ กล่าวถึงข้อมูลและลักษณะทั่วไปของเต่าตนุ ว่าเป็นชนิดของเต่าที่พบได้มากที่สุดในน่านน้ำทะเลไทย และมีแหล่งอาหารเป็นสาหร่ายและหญ้าทะเลเป็นอาหารหลัก และมีปลาและแมงกะพรุน เป็นแหล่งอาหารรอง 

พร้อมชี้แจงลักษณะการเกยตื้น แบ่งเป็น 2 ประเภทหลัก คือ การเกยตื้นแบบมีชีวิต จากการถูกพันรัดจากเอ็น เชือก หรือขยะทะเลทำให้อ่อนแรง ในกรณีนี้จะนำไปรักษาและอนุบาลให้แข็งแรงพอจะปล่อยกลับสู่ธรรมชาติ และ สอง การเกยตื้นแบบเสียชีวิต จากการป่วยอย่างรุนแรง ในกรณีนี้จะวินิจฉัยสาเหตุเพื่อเป็นข้อมูลต่อสาธารณะ

ผู้อำนวยการ ศูนย์วิจัย ทช. อ่าวไทยตอนล่างเผยสถิติข้อมูลพร้อมชีแจงว่า จากข้อมูลอ่าวไทยตอนล่าง ใน 4 จังหวัด ได้แก่ นครศรีธรรมราช สงขลา ปัตตานี นราธิวาส ในช่วง 3 ปี (พ.ศ. 2564-2567) พบการเกยตื้นของเต่าทะเลจำนวน 82 เคส และพบในจังหวัดสงขลา จำนวน 58 เคส มากที่สุดเพราะมีพื้นที่ชายฝั่งจำนวนมาก รองลงมาเป็นจังหวัดนครศรีธรรมราช (15) ปัตตานี (7) และนราธิวาส (2)

และจากจำนวน 82 เคส พบ เต่าทะเล 5 ตัวถูกพันรัดและสามารถปล่อยกลับสู่ธรรมชาติได้ทันที, อยู่ระหว่างการพักฟื้นจำนวน 16 ตัว และ ปล่อยคืนสู่ธรรมชาติแล้วจำนวน 30 ตัว 

คุณราตรีแจงว่า ตอนนี้ กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง สร้างเครือข่ายความร่วมมือเพื่อการรับแจ้งกรณีเต่าทะเลหรือสัตว์น้ำชนิดอื่นที่เกยตื้น เพื่อเข้าช่วยเหลือได้ทันทีต่อไป หากพบเห็นสัตว์ทะเลเกยตื่น สามารถแจ้งได้ที่ สายด่วนพิทักษ์ทะเล อ่าวไทยตอนล่าง 074-324-205 หรือ 096-553-6591 

เรื่อง: ทีมข่าวแลบ้าน แลเมือง
ภาพ: ศูนย์วิจัยทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งอ่าวไทยตอนล่าง

อ่านต่อ

วิกฤต ‘หญ้าทะเล’ หายผืนใหญ่ ขาดแหล่งอาหาร-อนุบาลสัตว์ กักคาร์บอน

“ปูไข่นอกกระดอง” 1 ตัวออกลูกได้นับแสน !!

Loading

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *