พรบ.โรคติดต่อ พ.ศ.2558 กับ COVID-19

จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ที่ได้รับผลกระทบกันทั่วโลก ซึ่งการแพร่กระจายนั้นมีปัจจัยจากการดำเนินชีวิตของทุกคนและระบบการจัดการทั้งจากภาครัฐ ภาคเอกชน และประชาชน ทั้งนี้ทุกภาคส่วนได้มีมาตรการต่างๆที่เป็นการควบคุมการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) โดยยึดหลัก พรบ.โรคติดต่อ พ.ศ.2558 เพื่อให้มีมาตรการทางกฎหมายมีความเหมาะสมในการแก้ไขปัญหาสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) และโรคติดต่ออื่นที่อาจเกิดขึ้นในอนาคตได้อย่างมีประสิทธิภาพ

โดยพระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ.2558 กำหนดคำนิยามไว้ตามมาตรา 4 ว่า

“โรคติดต่อ” หมายความว่า โรคที่เกิดจากเชื้อโรคหรือพิษของเชื้อโรคซึ่งสามารถแพร่โดยทางตรง
หรือทางอ้อมมาสู่คน

“โรคติดต่ออันตราย” หมายความว่า โรคติดต่อที่มีความรุนแรงสูงและสามารถแพร่ไปสู่ผู้อื่นได้
อย่างรวดเร็ว

“โรคติดต่อที่ต้องเฝ้าระวัง” หมายความว่า โรคติดต่อที่ต้องมีการติดตาม ตรวจสอบ หรือจัดเก็บ
ข้อมูลอย่างต่อเนื่อง

“โรคระบาด” หมายความว่า โรคติดต่อหรือโรคที่ยังไม่ทราบสาเหตุของการเกิดโรคแน่ชัด
ซึ่งอาจแพร่ไปสู่ผู้อื่นได้อย่างรวดเร็วและกว้างขวาง หรือมีภาวะของการเกิดโรคมากผิดปกติกว่าที่เคยเป็นมา

และเพื่อประโยชน์ในการป้องกันและควบคุมโรคติดต่อ ให้รัฐมนตรีโดยคําแนะนําของคณะกรรมการมีอํานาจประกาศกําหนด ดังต่อไปนี้

(1) ชื่อและอาการสําคัญของโรคติดต่ออันตรายและโรคติดต่อที่ต้องเฝ้าระวัง
(2) ช่องทางเข้าออกแห่งใดในราชอาณาจักรให้เป็นด่านควบคุมโรคติดต่อระหว่างประเทศ
และยกเลิกด่านควบคุมโรคติดต่อระหว่างประเทศ
(3) การสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค

โดยมาตรา 7 เพื่อประโยชน์ในการป้องกันและควบคุมโรคติดต่อ ให้รัฐมนตรีโดยความเห็นชอบ
ของคณะกรรมการมีอํานาจประกาศกําหนด ดังต่อไปนี้

(1) หลักเกณฑ์และวิธีการแจ้งในกรณีที่มีโรคติดต่ออันตราย โรคติดต่อที่ต้องเฝ้าระวัง
หรือโรคระบาดเกิดขึ้น
(2) หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการดําเนินการหรือออกคําสั่ง และการสอบสวนโรค
(3) หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเกี่ยวกับการกําหนดค่าใช้จ่ายสําหรับเจ้าของพาหนะ
หรือผู้ควบคุมพาหนะ
(4) หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่ผู้เดินทางต้องเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่าย

มาตรา 8 เพื่อประโยชน์ในการป้องกันและควบคุมโรคติดต่ออันตรายหรือโรคระบาด
ที่อาจจะเข้ามาภายในราชอาณาจักร ให้รัฐมนตรีโดยคําแนะนําของคณะกรรมการด้านวิชาการมีอํานาจประกาศ ให้ท้องที่หรือเมืองท่าใดนอกราชอาณาจักรเป็นเขตติดโรค และยกเลิกประกาศเมื่อสภาวการณ์ของโรคนั้นสงบลงหรือกรณีมีเหตุอันสมควร

มาตรา 9 เพื่อประโยชน์ในการป้องกันและควบคุมโรคระบาด ให้อธิบดีโดยคําแนะนําของ
คณะกรรมการด้านวิชาการมีอํานาจประกาศชื่อ อาการสําคัญ และสถานที่ที่มีโรคระบาด และแจ้งให้
เจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อตามมาตรา 34 ทราบ รวมทั้งประกาศยกเลิกเมื่อสภาวการณ์ของโรคนั้น
สงบลงหรือกรณีมีเหตุอันสมควร

มาตรา 10 ในกรณีที่ข้อมูลจากการเฝ้าระวัง การสอบสวนโรค หรือการแจ้งหรือรายงาน
ตามพระราชบัญญัตินี้ ซึ่งมีการพาดพิงถึงตัวบุคคลทั้งที่ระบุตัวได้หรือไม่สามารถระบุตัวได้ จะต้องเก็บ
เป็นความลับและประมวลผลโดยไม่เปิดเผยชื่อ ทั้งนี้ การประมวลผลดังกล่าวจะต้องเหมาะสมและตรงกับวัตถประสงค์ในการป้องกันและควบคุมโรค

เจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่ออาจเปิดเผยข้อมูลตามวรรคหนึ่งบางส่วนที่เกี่ยวกับการรักษา
การป้องกัน การควบคุมโรคติดต่ออันตราย หรือการเกิดโรคระบาด ซึ่งมีผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชนโดยได้รับคํายินยอมจากเจ้าของข้อมูลหรือตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่คณะกรรมการประกาศกําหนด

อ่าน พรบ.โรคติดต่อ พ.ศ.2558 เพิ่มเติม คลิกที่นี่

รับฟัง Podcast รายการรู้กฎหมายง่ายนิดเดียว ตอน พรบ.โรคติดต่อ พ.ศ.2558 โดยคุณสุวรรณ วงศ์อิสรภาพ ทนายความและที่ปรึกษากฎหมาย ศิษย์เก่าคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ตามลิงค์ที่แนบไว้ด้านล่าง

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *