SH&E ม.อ.มุ่งเน้นบริหารจัดการความปลอดภัย อาชีวอนามัย เเละสิ่งเเวดล้อมในองค์กร

ศูนย์บริหารความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน (SH&E PSU) ดำเนินการยกระดับมาตรฐานด้านความปลอดภัยในมหาวิทยาลัย คณะและส่วนงาน จัดทำแนวทางตรวจสุขภาพประจำปีของผู้ปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้อง มีการประเมินความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการด้วยระบบ ESPReL Checklist และรณรงค์เพื่อปลูกจิตสำนึกด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสิ่งแวดล้อมในองค์กร

ผศ.ดร.ชิตชไม  โอวาทฬารพร รักษาการแทนผู้อำนวยการศูนย์บริหารจัดการความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เล่าว่า แต่เดิมการบริหารจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสิ่งแวดล้อม เป็นการดำเนินการภายใต้กองกายภาพและสิ่งแวดล้อม ม.อ. แต่ยังไม่มีเจ้าหน้าที่ที่มีความชำนาญเฉพาะทางเข้ามาดูแลด้านนี้ จึงมีการจัดตั้งศูนย์บริหารความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน หรือ SH&E PSU (ชี พีเอสยู) โดยดำเนินการภายใต้กองทรัพยากรบุคคลและกองกายภาพและสิ่งแวดล้อม ม.อ. เช่นเดิม ทั้งนี้ได้มีการใช้ตัวบทกฎหมายที่เกี่ยวข้องเข้ามากำกับดูแลภายในองค์กร ว่าด้วยพระราชบัญญัติ ความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน

ศูนย์ SH&E PSU มีการกำหนดยุทธศาสตร์การยกระดับด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน ดังนี้

ยุทธศาสตร์ที่ 1 : กำหนดมาตรฐานในการบริหารจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสิ่งแวดล้อม

  • โครงสร้างหน่วยงานของมหวิทยาลัยสงขลานครินทร์ รับผิดชอบด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสิ่งแวดล้อม
  • กลไกการประสาน ติดตาม การประเมินผล และการดำเนินงานของส่วนงานทุกระดับ
  • จัดทำคู่มือแนวปฏิบัติเพื่อความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสิ่งแวดล้อม
  • จัดทำคู่มือการจัดการสารเคมี ของเสีย ชีวนิรภัยและรังสี
  • แนวทางการประเมินและบริหารความเสี่ยงในห้องปฏิบัติการ
  • แผนตอบโต้เหตุฉุกเฉินในห้องปฏิบัติการ

ยุทธศาสตร์ที่ 2 : เสริมสร้างความรู้ด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสิ่งแวดล้อม

  • สร้างหลักสูตรด้านความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการทางเคมีและชีวภาพ รังสี อาชีวอนามัย และสิ่งแวดล้อม
  • จัดโครงการอบรมให้กับบุคลากรและนักศึกษาในส่วนงาน, Training for the trainer และบุคคลภายนอก
  • จัดการอบรมและทดสอบความรู้ผ่านระบบ e-learning
  • รณรงค์เพื่อปลูกจิตสำนึกด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสิ่งแวดล้อม เช่น การมีหลักสูตรกลาง ระบบทดสอบความปลอดภัยของส่วนงาน และการอบรมเป็นประจำทุกปี

ยุทธศาสตร์ที่ 3 : กำหนดมาตรฐานในการประเมินและการยกระดับการจัดการความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสิ่งแวดล้อม

  • มีการแต่งตั้งคณะกรรมความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสิ่งแวดล้อม ระดับคณะ ห้องปฏิบัติการ และส่วนงานที่เกี่ยวข้อง
  • ตรวจเยี่ยมห้องปฏิบัติการเพื่อแลกเปลี่ยนความรู้
  • วิเคราะห์สถานการณ์ความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสิ่งแวดล้อมในระดับมหาวิทยาลัย คณะ และส่วนงาน
  • จัดทำแนวทางตรวจสุขภาพประจำปีของผู้ปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้อง
  • จัดให้มีการประเมินความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการด้วยระบบ ESPReL Checklist
  • พัฒนาระบบสารสนเทศ และระบบฐานข้อมูลรองรับ (Server) รายการประเมินความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสิ่งแวดล้อม

ยุทธศาสตร์ที่ 4 : พัฒนาโครงสร้างสารสนเทศเทศการ จัดการความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสิ่งแวดล้อม

  • ระบบจัดการสารเคมี PSU-Chemlnvert
  • ระบบการจัดการของเสียอันตราย PSU-WASTETRACK
  • ระบบบริหารจัดการความเสี่ยงในห้องปฏิบัติการ
  • ระบบอบรมและทดสอบความรู้ด้วยตนเองผ่านระบบ e-learning
  • ระบบศูนย์กลางจัดการข้อมูลและเอกสารความปลอดภัยทางเคมี, ทางชีวิภาพ และรังสี อาชีวอนามัย และสิ่งแวดล้อม
  • ระบบศูนย์กลางข้อมูลด้านมาตรฐานความปลอดภัยของห้องปฏิบัติการ PSU-SHE

รับฟัง Podcast รายการรู้กฎหมายง่ายนิดเดียวได้ที่ ||

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *