SH&E PSU: การทำงานที่อับอากาศ กับความปลอดภัยในสภาพพร้อมทำงาน

กฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานในที่อับอากาศ พ.ศ. ๒๕๔๗ เป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา ๒๙ ประกอบกับมาตรา ๓๑ มาตรา ๓๕ มาตรา ๔๘ และมาตรา ๕๐ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานออกกฎกระทรวงไว้ ดังต่อไปนี้

ข้อ ๑ กฎกระทรวงนี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดหนึ่งร้อยแปดสิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป

ข้อ ๒ ในกฎกระทรวงนี้ “ที่อับอากาศ” หมายความว่า ที่ซึ่งมีทางเข้าออกจำกัดและมีการระบายอากาศไม่เพียงพอที่จะทำให้อากาศภายในอยู่ในสภาพถูกสุขลักษณะและปลอดภัย เช่น อุโมงค์ ถ้ำ บ่อ หลุม ห้องใต้ดิน ห้องนิรภัย ถังน้ำมัน ถังหมัก ถัง ไซโล ท่อ เตา ภาชนะหรือสิ่งอื่นที่มีลักษณะคล้ายกัน

“บรรยากาศอันตราย” หมายความว่า สภาพอากาศที่อาจทำให้ลูกจ้างได้รับอันตรายจากสภาวะอย่างหนึ่งอย่างใด ดังต่อไปนี้

(๑) มีออกซิเจนต่ำกว่าร้อยละ ๑๙.๕ หรือมากกว่าร้อยละ ๒๓.๕ โดยปริมาตร

(๒) มีก๊าซ ไอ ละอองที่ติดไฟหรือระเบิดได้ เกินร้อยละ ๑๐ ของค่าความเข้มข้นขั้นต่ำของสารเคมีแต่ละชนิดในอากาศที่อาจติดไฟหรือระเบิดได้ (Lower Flammable Limit หรือ Lower Explosive Limit)

(๓) มีฝุ่นที่ติดไฟหรือระเบิดได้ ซึ่งมีค่าความเข้มข้นเท่ากับหรือมากกว่าค่าความเข้มข้นขั้นต่ำของสารเคมีแต่ละชนิดในอากาศที่อาจติดไฟหรือระเบิดได้ (Lower Flammable Limit หรือ Lower Explosive Limit)

(๔) มีค่าความเข้มข้นของสารเคมีแต่ละชนิดเกินมาตรฐานที่กำหนดตามกฎกระทรวงว่าด้วยการกำหนดมาตรฐานในการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับสารเคมีอันตราย

(๕) สภาวะอื่นใดที่อาจเป็นอันตรายต่อร่างกายหรือชีวิตตามที่รัฐมนตรีประกาศกำหนด

อันตรายจากการทำงานในสถานที่อับอากาศ

  1. การขาดออกซิเจน สาเหตุใหญ่ของการตายในสถานที่อับอากาศ คือ ขาดออกซิเจนในการหายใจ หมายถึง ปริมาณออกซิเจนในสถานที่อับอากาศนั้นน้อยกว่า 19.5 Vol.% หรือมากกว่า 23.5 Vol.% สาเหตุเกิดจากมีการติดไฟ หรือการระเบิดไฟจะใช้ออกซิเจนเพื่อการลุกไหม้ การแทนที่ออกซิเจนด้วยก๊าซอื่น เช่น มีเทน คาร์บอนไดออกไซด์ ไนโตรเจน เป็นต้น เกิดการกัดกร่อน หรือ การเกิดสนิม เหล็กใช้ออกซิเจนจากอากาศไปในการเกิดสนิม และการที่ออกซิเจนถูกใช้ไปในปฏิกิริยาหมัก
  2. ปฏิกิริยาการเผาไหม้ สาเหตุสำคัญของการตายในสถานที่อับอากาศอีกสาเหตุหนึ่งคือการเกิดไฟและการระเบิด โดยมีก๊าซ ไอ ละอองที่ติดไฟหรือระเบิดได้ เกินกว่าร้อยละ 10 ของค่าความเข้มข้นขั้นต่ำของสารเคมีแต่ละชนิดในอากาศที่อาจติดไฟหรือระเบิดได้ (Lower Flammable Limit หรือ Lower Explosive Limit) และมีฝุ่นที่ทำให้ติดไฟหรือระเบิดได้ ซึ่งมีค่าความเข้มข้นเท่ากับหรือมากกว่าค่าความเข้มข้มขั้นต่ำของสารเคมีแต่ละชนิดในอากาศที่อาจติดไฟหรือระเบิดได้ (LEL) สิ่งก่อเหตุคือ สารเคมี สี ผลิตภัณฑ์จากปิโตรเลียม สารทำละลาย หรือวัตถุจากธรรมชาติสามารถทำให้เกิดการระเบิดได้ ไอหรือก๊าซที่ทำให้เกิดเปลวไฟ ในสถานที่อับอากาศสามารถเกิดประกายไฟขึ้นได้จากการกระทำดังนี้ การเกิดไฟฟ้าช็อต การใช้อุปกรณ์ไฟฟ้าที่ไม่ได้ป้องกันการเกิดประกายไฟ การขัด การสูบบุหรี่ การเชื่อมโลหะ
  3. สารพิษ เป็นอันตรายเมื่อมีค่าความเข้มข้นของสารเคมีแต่ละชนิดเกินมาตรฐานในการบริหารและจัดการด้านความปลอดภัยอาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับสารเคมีอันตราย สารพิษหลายชนิดที่ไม่สามารถมองเห็นได้ หรือได้กลิ่น สามารถทำให้เกิดอันตรายใหญ่ๆ ได้ 2 แบบ ในสถานที่อับอากาศ คือ การระคายเคือง ถึงแม้จะมีสารพิษเพียงเล็กน้อยแต่ก็อาจมีผลกับระบบทางเดินหายใจหรือระบบประสาทและฆ่าคุณได้ การขาดออกซิเจนจากสารเคมี เมื่อสารเคมีเป็นสารพิษเข้าสู่ร่างกาย สามารถไปหยุดการนำออกซิเจนเข้าสู่ร่างกายหรือนำไปสู่ปอด และทำให้ร่างกายคุณขาดออกซิเจน เกิดอาการปวดศีรษะ มึนงง วิงเวียน คลื่นไส้ ก๊าซพิษที่ทำให้เกิดอันตรายในสถานที่อับอากาศบ่อยๆ คือคาร์บอนมอนนอกไซด์ เกิดจากการเผาไหม้ สามารถทำให้ตายได้ โดยการเข้าไปแทนที่ออกซิเจนในเลือด ซัลเฟอร์ไดออกไซด์ มีกลิ่นเหม็น และมีพิษแม้จะมีจำนวนเพียงเล็กน้อย ไฮโดรเจนซัลไฟด์ เกิดในขบวนการอุตสาหกรรมสามารถทำให้หยุดการหายใจถ้าเข้าไปในร่างกาย
  4. อันตรายทางกายภาพส่วนของเครื่องจักรที่เคลื่อนไหวถ้าอยู่ในสถานที่อับอากาศยิ่งจะมีอันตรายมากส่วนของเครื่องจักรที่เคลื่อนไหวจะต้องถูกล็อคใส่กุญแจและแขวนป้ายก่อนที่จะเข้าไปทำงานในบริเวณนั้น วาวล์หรือท่อทำให้เกิดอันตราย ถ้ามีก๊าซ หรือของเหลวไหลผ่านอาจทำให้เกิดการระเบิด จมน้ำ เกิดพิษ หรือ น้ำร้อนลวก ฯลฯ การถูกดูดจมจะเกิดที่ไซโลที่เก็บเมล็ดพืชผล การขึ้นไปเดินบนเมล็ดพืชผลนั้น อาจทำให้ล้มลงและดูดจมลงไปในเมล็ดพืชผลนั้น เกิดการขาดอากาศหายใจ เสียงดัง ทำให้เกิดการสูญเสียการได้ยินแบบถาวร หรือถึงแม้จะเป็นการชั่วคราวก็จะทำให้ไม่สามารถได้ยินเสียงที่จะบอกทิศทางที่สำคัญ หรือการระวังอันตราย ตกจากที่สูง ในสถานที่อับอากาศ เมื่อมีปริมาณออกซิเจน หรือก๊าซพิษ คนทำงานเกิดอาการขาดออกซิเจน เกิดพิษหรือการแกว่างไปมาของบันไดที่ใช้ปีนทำงานแล้วตกลงสู่เบื้องล่าง ไฟฟ้าดูดขณะทำงานอาจพลาดไปจับส่วนของอุปกรณ์ไฟฟ้า ที่มีกระแสไฟรั่วไหลเกิดการดูดช็อต ความร้อน สามารถเกิดได้รวดเร็วในสถานที่อับอากาศ ทำให้เกิดการเสียเหงื่อมากจนถึงขั้นวิงเวียนหน้ามืด (Heat Stroke) ได้ แสงจ้ามีการทำงานในสถานที่อับอากาศโดยมีการเชื่อมโลหะ ถ้ามองดูแสงจ้านั้นด้วยตาเปล่าจะเกิดอันตรายกับดวงตา

หลักปฏิบัติเมื่อทำงานในสถานที่อับอากาศ

  • เพื่อความปลอดภัยสำหรับการทำงานในสถานที่อับอากาศ นายจ้างจะต้องปฏิบัติตามรายละเอียดต่อไปนี้ ก่อนอนุญาตให้ลูกจ้างปฎิบัติงานในสถานที่อับอากาศ ต้องมีการตรวจสอบปริมาณออกซิเจน สารเคมีและสิ่งปนเปื้อนในสถานที่อับอากาศว่าจะทำให้เกิดการขาดออกซิเจน การระเบิดและการเป็นพิษหรือไม่ และเก็บบันทึกผลการตรวจไว้ให้เจ้าหน้าที่แรงงานสามารถตรวจสอบได้
  • ให้ทำการระบายอากาศให้อยู่ในสภาพที่ปลอดภัย ถ้าตรวจสอบพบว่ามีปริมาณออกซิเจน ต่ำกว่าร้อยละ 19.5 โดยปริมาตร หรือสารเคมีที่ติดไฟได้ในปริมาณเข้มข้นกว่าร้อยละ 20 ของความเข้มข้นต่ำสุด ที่จะติดไฟหรือระเบิดได้ หรือสารเคมีอื่นๆ ที่อยู่ในระดับเกินกว่าค่าความปลอดภัยที่กำหนดไว้ในประกาศกระทรวงมหาดไทย
  • นายจ้างต้องจัดหาอุปกรณ์ช่วยหายใจ เข็มขัดนิรภัย สายชูชีพ และอุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยอื่นๆ ที่เหมาะสมกับสภาพการทำงานตามมาตรฐานกรมแรงงานยอมรับให้ลูกจ้างใช้
  • ต้องจัดให้มีใบอนุญาต ให้ลูกจ้างเข้าทำงานในที่อับอากาศทุกครั้ง ตามแบบที่อธิบดีกำหนด

ข้อกำหนดที่นายจ้างต้องปฏิบัติระหว่างที่อนุญาตให้มีการทำงานในสถานที่อับอากาศ

  • ต้องตรวจสอบสภาพอากาศเป็นระยะๆ เพื่อไม่ให้เกินมาตรฐาน ต้องขจัดหรือระบายอากาศให้อยู่ในระดับที่ปลอดภัย
  • จัดให้มีคนช่วยเหลือ หรือผู้ที่ผ่านการอบรมช่วยเหลือผู้ที่ประสบภัย คอยดูแล และเฝ้าที่ปากทางเข้า – ออก สถานที่อับอากาศ ตลอดเวลาและสามารถติดต่อสื่อสารกับลูกจ้างที่ทำงานในสถานที่อับอากาศได้ พร้อมมีอุปกรณ์ช่วยชีวิตที่เหมาะสม ตามลักษณะของงาน และคอยให้ความช่วยเหลือลูกจ้างได้ทันทีตลอดเวลาการทำงาน
  • อุปกรณ์ไฟฟ้า และอุปกรณ์ประกอบที่ใช้ในสถานที่อับอากาศ ต้องเป็นชนิดที่สามารถป้องกัน ความร้อน ฝุ่น การระเบิด การลุกไหม้ และไฟฟ้าลัดวงจรอย่างมีประสิทธิภาพ รวมทั้งต้องจัดให้มีการเดินสายไฟฟ้าในสถานที่อับอากาศด้วยวิธีที่ปลอดภัย
  • นายจ้างต้องจัดให้มีผู้ควบคุมงานที่มีความรู้ความสามารถ เพื่อปฏิบัติหน้าที่ต่างๆ เช่น วางแผนปฏิบัติงาน และป้องกันอันตรายที่อาจเกิดขึ้น และอบรมสอนงาน ควบคุมดูแลให้ ลูกจ้างใช้ตรวจตรา เครื่องป้องกันและอุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัย ที่ให้อยู่ในสภาพพร้อมที่จะทำงาน
  • ให้นายจ้างกำหนดข้อห้าม และควบคุมต่างๆ เช่น ห้ามสูบบุหรี่ ห้ามก่อไฟ ห้ามคนไม่เกี่ยวข้องเข้าไป ถ้าเป็นช่องโพรง ต้องปิดกั้นไม่ให้คนตกลงไป และจัดให้มีป้ายแจ้งข้อความ “บริเวณอันตรายห้ามเข้าไปโดยไม่ได้รับอนุญาต” ปิดประกาศไว้ในบริเวณสถานที่อับอากาศซึ่งมองเห็นชัดอยู่ตลอดเวลา

Credit ข้อมูลภาพเพิ่มเติม : supakornsafety.com

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *