จังหวัดสงขลา มีพื้นที่ปลูกทุเรียน ทั้งหมด 22,900 ไร่ ใน 12 อำเภอ ของจังหวัดสงขลา พื้นที่ที่ให้ผลผลิตแล้ว จำนวน 18,229 ไร่ โดยอำเภอที่มีพื้นที่ให้ผลผลิตทุเรียนมากที่สุด ได้แก่ อำเภอนาทวี 6,231 ไร่ อำเภอสะบ้าย้อย 4,442 ไร่ อำเภอรัตภูมิ 2,158 ไร่ อำเภอสะเดา 1,405 ไร่ และอำเภอจะนะ 1,360 ไร่ รวมเป็น 15,596 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 85.56 จังหวัดสงขลามีการพัฒนาทุเรียน ดังนี้ 1. ส่งเสริมการเกษตรแปลงใหญ่ทุเรียน 2. ยกระดับคุณภาพมาตรฐาน GAP ครอบคลุมทุกแปลง (ทุเรียน) ในปี 2569 3. ควบคุมการซื้อขายทุเรียนป้องกันทุเรียนอ่อน ตามมาตรการ จังหวัดสงขลา ปี 2566 4. จัดการความรู้การผลิตทุเรียนคุณภาพเชิงพื้นที่ และ 5. จัดตั้งเป็นสมาคมหรือสมาพันธ์ เพื่อให้การบริหารจัดการด้านการผลิตและการตลาดมีความคล่องตัวขึ้น
ผอ.สวพ.6 จันทบุรี ย้ำปัญหาทุเรียนอ่อนแก้ไขได้ หลังปีนี้ประสบความสำเร็จแก้ปัญหาทุเรียนอ่อนส่งออกตปท.
สถิติเมื่อวันที่่ 25 มิถุนายน 2565 โรงคัดบรรจุของภาคตะวันออกส่งออกทุเรียนไทยไปต่างประเทศแล้วมากกว่า 500,000 ตัว มูลค่ามากกว่า 5 หมื่นล้านบาท นับว่าทุเรียนเป็นผลไม้ส่งออกสำคัญของประเทศและจีนคือประเทศส่งออกหลักของทุเรียนไทย นอกจากนั้นปีนี้มีข่าวดีว่าปัญหาทุเรียนอ่อนที่เคยเป็นปัญหาเรื้อรังมากกว่า 30 ปี ได้รับการแก้ไขจนเป็นที่น่าพอใจซึ่งเกิดขึ้นเพราะมีความร่วมมือจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องในวงจรทุเรียนไทย
ทุเรียน ให้พลังงานสูง ไม่ควรกินเกิน 2 เม็ดต่อวัน
กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข เผยกินทุเรียนมาก จะทำให้ได้รับพลังงานสูง ย้ำควรกินในปริมาณที่พอเหมาะ ไม่ควรกินทุเรียนเกินวันละ 2 เม็ด ไม่กินถี่ทุกวัน และกินผลไม้ให้หลากหลายชนิดในแต่ละวัน รวมทั้งออกกำลังกายเป็นประจำทุกวัน เพื่อช่วยเผาพลาญพลังงานส่วนเกิน
เตือนเกษตรกรผู้ปลูกทุเรียนระวังโรครากเน่าโคนเน่าช่วงฝนตกชุกความชื้นสูง
คุณสุพิต จิตรภักดี ให้ความรู้เรื่องโรคนี้ว่าสาเหตุของโรครากเน่าโคนเน่าเกิดจากเชื้อราไฟทอปเทอรา ฟาล์มิรา ที่เข้าทำลายพืชตั้งแต่ ราก กิ่ง ลำต้น และใบ โดยมีอาการใบจะทยอยเหลืองจากยอดลงมา กิ่งเริ่มตาย รากเน่า โคนเน่าถึงขนาดอาจมีน้ำเยิ้มออกมา นั่นคือเชื้อเข้าทำลายท่อน้ำท่ออาหารของต้นทุเรียน ทุเรียนที่อ่อนแอต่อเชื้อและมีปัญหาเกิดโรคนี้บ่อยที่สุดคือทุเรียนหมอนทอง ซึ่งเป็นทุเรียนพันธุ์การค้าหลักของไทย ผอ.สุพิตย้ำข้อแนะนำกับเกษตรกรผู้ปลูกทุเรียนว่าการป้องกันไม่ให้เกิดโรคนี้คือการจัดการสวนไม่ให้เสี่ยงต่อการระบาดของเชื้อโรค