Tag: สุรา

Home / สุรา

สสส. ร่วมกับ ศวส.และภาคีเครือข่าย เปิดตัวหนังสือ “สุราไม่ใช่สินค้าธรรมดา” ชี้ ประเด็นคุมเข้มห้ามโฆษณา สกัดการตลาดน้ำเมา ควบคุมราคาซื้อ-ขาย เป็นนโยบายที่มีประสิทธิภาพสูง

สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ร่วมกับศูนย์วิจัยปัญหาสุรา (ศวส.) และภาคีเครือข่าย จัดเวทีสัมมนาวิชาการ เปิดตัวหนังสือ “สุราไม่ใช่สินค้าธรรมดา” นพ.สุรเชษฐ์ สถิตนิรามัย ประธานคณะกรรมการบริหารแผนคณะที่ 1 สสส. กล่าวว่า เครื่องดื่มแอลกอฮอล์เป็นปัญหาอันดับต้นๆ ที่ทำให้เกิดปัจจัยเสี่ยงทางสุขภาพ สังคม และสิ่งแวดล้อม ไทยและทั่วโลกจึงให้ความสำคัญกับการขับเคลื่อนป้องกันผลกระทบเชิงลบ ที่อาจเกิดขึ้นในสังคม หลังพบความพยายามเผยแพร่ข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ที่ไม่ถูกต้องเกี่ยวกับเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ โดยมีเจตนาสร้างค่านิยมส่งเสริมการดื่ม และทำให้มองว่าการดื่มเป็นเรื่องปกติ ขณะที่การศึกษาต้นทุนผลกระทบทางสังคมจากการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในประเทศไทย ปี 2564 พบว่าเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทำให้เกิดความสูญเสียทางเศรษฐกิจ 165,450 ล้านบาท และเป็นปัจจัยส่วนหนึ่งที่ทำให้ประชาชนเสียชีวิตก่อนวัยอันควร สร้างความสูญเสียกับประเทศในวงกว้าง

ศูนย์วิจัยปัญหาสุรา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ประกาศเจตนารมณ์ ปกป้องสังคมไทยให้ปลอดจากภัยของเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เผยแนวรุกใหม่ในการควบคุมสุรา

เมื่อวันที่ 20 ต.ค. 2565 ศูนย์วิจัยปัญหาสุรา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ร่วมกับภาคี ร่วมกันประกาศเจตนารมณ์เพื่อปกป้องสังคมไทยให้ปลอดจากภัยของเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในการใช้ความรู้และหลักฐานวิชาการ เพื่อปกป้องประชาชน โดยเฉพาะเด็กและเยาวชน ให้อยู่รอด เติบโต และดำรงชีวิตอยู่ในสังคมไทยที่ปลอดจากภัยของเครื่องดื่มแอลกอฮอล์อันเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานของประชาชน ซึ่งการประชุมวิชาการสุราระดับชาติ ครั้งที่ 12 ภายใต้หัวข้อ “ภัยแอลกอฮอล์ : ความเสมอภาค และการเปลี่ยนแปลงในสังคมปัจจุบัน” ที่ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

ศูนย์วิจัยปัญหาสุรา ม.อ. สำรวจพบนักดื่มน้อยลงในช่วงมีมาตรการงดขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พร้อมแนะหยุดดื่ม ลดเสี่ยงโควิด-19

ศูนย์วิจัยปัญหาสุรา หน่วยระบาดวิทยา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ร่วมกับศูนย์วิจัยเพื่อการพัฒนาสังคมและธุรกิจ ได้ทำการสำรวจประชาชนใน 15 จังหวัดทั่วประเทศ โดยการสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ จากกลุ่มตัวอย่าง 1,566 คน ทั้งเพศหญิงและเพศชาย ทุกกลุ่มอายุ อาชีพ ระดับการศึกษา และที่อยู่ทั้งในเขตและนอกเขตเทศบาล ที่เป็นตัวแทนของประชากรไทย เก็บข้อมูลในวันที่ 18 - 19 เมษายน 2563 พบว่า ในช่วง 30 วันที่ผ่านมา นักดื่มสุราเกือบครึ่ง (ร้อยละ 48.5) ไม่ได้ดื่มเลย ร้อยละ 33.0 ดื่มน้อยลง ขณะที่ร้อยละ 18.2 ดื่มเท่าเดิม และมีเพียงร้อยละ 0.3 ที่ดื่มบ่อยขึ้น

“ดื่มสุรา” เพิ่มความเสี่ยงต่อการติดเชื้อแบคทีเรีย/ไวรัส 3 -7 เท่า !!

การดื่มสุราทำให้ภูมิคุ้มกันลดลง เพิ่มความเสี่ยงต่อการติดเชื้อแบคทีเรียและไวรัสกว่า 3 - 7 เท่า มีโอกาสเข้าไอซียู มากกว่าปกติ 60% หากป่วยเป็นโรคปอดบวม กลุ่มผู้สูงอายุ 60 ปีขั้นไป ยังเพิ่มความเสี่ยงในการติดเชื้อและป่วยเป็นหวัดได้ 30% ส่วนหญิงตั้งครรภ์ ที่ดื่มสุรา เพิ่มความเสี่ยงติดเชื้อในปอดของทารกแรกเกิดถึง 2.9 เท่า