อาการง่วงนอนหลังกินอิ่ม ทางการแพทย์เรียกอาการนี้ว่า ฟู้ดโคม่า (Food Coma) ในขณะที่เรารับประทานอาหารในแต่ละมื้อที่มักประกอบไปด้วยคาร์โบไฮเดรต โปรตีน และไขมัน เมื่อผ่านระบบการย่อยอาหารแล้วร่างกายจะกลั่นกรองน้ำตาลหรือกลูโคส ที่สามารถซึมเข้าสู่กระแสเลือดนำไปใช้เป็นพลังงานในการใช้ชีวิตประจำ แต่ก็ยังมีกรดอะมิโนชนิดหนึ่งมาจากอาหารที่เราทานเข้าไปเช่นเดียวกัน เรียกว่า ทริปโตเฟน (Tryptophan) ซึ่งสารนี้จะเข้าสู่สมองและระบบประสาททำให้ลดความตึงเครียด และทำให้คุณเกิดอาการง่วงนอนได้
สมองกับการนอน (REM Sleep)
การนอนเป็นปรากฏการณ์ตามธรรมชาติ เป็นส่วนสำคัญของชีวิตที่มักจะถูกละเลย ไม่ได้รับความสนใจ ตั้งแต่อยู่ในครรภ์มารดา เด็กทารกจะใช้เวลาส่วนใหญ่ทั้งกลางวันและกลางคืนในการนอน ช่วงเวลาของการนอนจะค่อยๆ ลดลงเรื่อยๆ เมื่อเข้าสู่วัยผู้ใหญ่และวัยชรา การนอนหลับช่วยให้ร่างกายและสมองได้พักผ่อนหลังจากการทำงานมาอย่างต่อเนื่องในช่วงกลางวัน ไม่เคยมีมนุษย์คนไหนสามารถอดนอนได้เกินกว่า 7 วัน เนื่องจากสมองของคนๆ นั้นจะไม่สามารถทนสภาพเหนื่อยล้าเช่นนั้นได้ มนุษย์เราใช้เวลาในการนอนประมาณ 3,000 ชั่วโมงใน 1 ปี ซึ่งเท่ากับประมาณ 1/3 ของชีวิต ดังนั้นหากการนอนหลับไม่เพียงพอหรือมีปัญหา จะทำให้เกิดผลเสียต่างๆ ตามมาได้
คุณภาพการนอนหลับกับการทำงานของสมอง ย้ำถึงสุขภาพอนามัยและโรคภัยไข้เจ็บ
การนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอนั้นเป็นปัจจัยสำคัญอย่างหนึ่งในการใช้ชีวิต ซึ่งความต้องการในการนอนหลับของคนมีไม่เท่ากันเนื่องจากขึ้นอยู่กับอายุ ทารกต้องนอนละวันละ 16 ชั่วโมง วัยรุ่นต้องการวันละ 9 ชั่วโมง ผู้ใหญ่ต้องการวันละ 7-8 ชั่วโมง แต่วงจรการใช้ชีวิตในปัจจุบันนั้นเปลี่ยนไปอย่างรวดเร็ว ผู้คนมีวิถีชีวิตที่แตกต่างจากอดีต จนนำมาสู่การเกิด “โรคนอนไม่หลับ” หรือ Insomnia ซึ่งมีรูปแบบของอาการมากมาย