คุณภาพการนอนหลับกับการทำงานของสมอง ย้ำถึงสุขภาพอนามัยและโรคภัยไข้เจ็บ

การนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอนั้นเป็นปัจจัยสำคัญอย่างหนึ่งในการใช้ชีวิต ซึ่งความต้องการในการนอนหลับของคนมีไม่เท่ากันเนื่องจากขึ้นอยู่กับอายุ ทารกต้องนอนละวันละ 16 ชั่วโมง วัยรุ่นต้องการวันละ 9 ชั่วโมง ผู้ใหญ่ต้องการวันละ 7-8 ชั่วโมง แต่วงจรการใช้ชีวิตในปัจจุบันนั้นเปลี่ยนไปอย่างรวดเร็ว ผู้คนมีวิถีชีวิตที่แตกต่างจากอดีต จนนำมาสู่การเกิด “โรคนอนไม่หลับ” หรือ Insomnia ซึ่งมีรูปแบบของอาการมากมาย เช่น การนอนไม่หลับ การนอนหลับไม่สนิท การหลับๆ ตื่นๆตลอดทั้งคืน การตื่นขึ้นมากลางดึก การตื่นเช้าผิดปกติ และการตื่นมาแล้วไม่สดชื่น เป็นต้น

องค์ประกอบของการนอนหลับที่ดีมี 2 อย่าง ก็คือ 1.ปริมาณการนอนต้องพอเหมาะตามช่วงวัยต่างๆ 2.คุณภาพการนอน คือการหลับตื้นหลับลึกที่เหมาะสม

ผู้ช่วยศาสตราจารย์.พญ.กรองทอง ถาวรานุรักษ์
ศูนย์บริการตรวจรักษาและวิจัยปัญหาการนอน โรงพยาบาลสงขลานครินทร์

สมุนไพรที่มีรสขม สามารถช่วยในการหลั่งสื่อประสาทที่เกี่ยวข้องกับการนอน อย่างเช่น ขี้เหล็ก มะระ สะเดา ฯลฯ

คุณเบญจวรรณ ทองเคลื่อน
เจ้าหน้าที่ศูนย์บริการตรวจรักษาและวิจัยปัญหาการนอน
โรงพยาบาลสงขลานครินทร์

ทั้งนี้หากเราอดนอน หรือพักผ่อนไม่เพียงพอ จะส่งผลเสียกับร่างกายทำให้ระบบร่างกายทำงานติดขัด จะเพิ่มความเสี่ยงของการเกิดความดันโลหิตสูง และปัญหาด้านระบบหลอดเลือดหัวใจ ระบบภูมิคุ้มกันทำงานโดยมีประสิทธิภาพลดลง หายจากโรคต่างๆ ได้ช้าลง มีผลต่อการเจริญเติบโต มีการซ่อมแซมเนื้อเยื่อส่วนที่สึกหรอได้ลดลง ฟื้นตัวจากโรคได้ช้า ร่างกายมีภาวะอ่อนเพลีย ส่งผลต่อระบบเผาผลาญ ร่างกายต้องการอาหารมากขึ้น

อาการป่วย เช่น คลื่นใส้ ปวดศีรษะ ท้องผูกหรือท้องเสีย กล้ามเนื้อทำงานได้ไม่เต็มที่ กล้ามเนื้อทำงานได้ลดลง หรืออ่อนแรง อ่อนเพลีย

มีผลทางด้านจิตใจและอารมณ์ เช่น โกรธง่าย มีอารมณ์แปรปรวน ไม่คงที่ ซึมเศร้า และมีอาการเฉื่อยชา ไม่อยากทำอะไรเลย เพราะฉะนั้นจึงต้องดูแลร่างกายให้ดี การพักผ่อนนอนหลับนั้นก็เป็นสิ่งสำคัญ ไม่แพ้เรื่องการบริโภคหรือการออกกำลังกายเลย