วันตรุษจีน คือวันขึ้นปีใหม่ตามปฏิทินจันทรคติ และในปี พ.ศ. 2567 นี้ตรงกับวันเสาร์ที่ 10 กุมภาพันธ์ 2567 เทศกาลตรุษจีนถือเป็นการเฉลิมฉลอง พบปะญาติ-ครอบครัว และเซ่นไหว้เทพเจ้า บรรพบุรุษตามความเชื่อตามประเพณีของผู้มีเชื้อสายจีน ‘สถานีวิทยุ ม.อ.หาดใหญ่’ ลงพื้นที่ในช่วงเย็นของเมืองหาดใหญ่บริเวณตลาดกิมหยง วัดฉื่อฉาง และตลาดโก้งโค้ง
ทะเลสาบสงขลา-ไทยลากูน? มากกว่าเปลี่ยนชื่อคือองค์ความรู้ และชีวิตบนฐานทรัพยากร
สรุปประเด็นหลายข้อถกเถียงจากเรื่องชื่อทะเลสาบสงขลา ถึงองค์ความรู้และคำถามใหญ่อย่างวิถีชีวิตบนฐานทรัพยากร และอนาคตของภาคใต้ฝั่งตะวันออกของประเทศ
ม.อ. จับมือภาครัฐ-เอกชนแสดงเทคโนโลยี นวัตกรรมต่อยอดโอกาสเรียนรู้ ยกระดับเศรษฐกิจภาคใต้
บรรยากาศวันแรกของงาน SITE2024 - Southern Innovation and Technology Expo ที่รวบรวมเทคโนโลยีและนวัตกรรม พร้อมโครงงานวิจัยกว่า 200 โครงงาน พร้อมช่องทางเพิ่มโอกาสขยายธุรกิจ และพบกับผู้เชี่ยวชาญ นักวิจัย แลกเปลี่ยนเรียนรู้ การบรรยายในหัวข้อต่าง ๆ โดยมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (ม.อ.) ร่วมกับหน่วยงานภาครัฐและเอกชนกว่า 350 ราย ระหว่างวันที่ 1-4 กุมภาพันธ์ 2567 ณ ศูนย์ประชุมนานาชาติฉลองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
“น้ำมันไบโอดีเซลจากจุลินทรีย์ไขมันสูง” ผลพลอยได้จากสิ่งเหลือทิ้งโรงงานปาล์ม ผลงานชิ้นเยี่ยมของ”นักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ”คนล่าสุดของ ม.สงขลานครินทร์
ศ.ดร.เบญจมาส เชียรศิลป์ อาจารย์ประจำคณะอุตสาหกรรมเกษตร ม.สงขลานครินทร์ อดีตนักเรียนทุนวิทยาศาสตร์ที่ชอบเรียนฟิสิกส์ เคมี ชีววิทยา เลือกเรียนสาขาวิศวกรรมเคมีเพราะไม่ต้องการทิ้งศาสตร์ใดศาสตร์หนึ่งที่ชอบ และต่อปริญญาเอกเฉพาะทางด้านเทคโนโลยีชีวภาพสนใจการใช้จุลินทรีย์เพื่อจัดการของเสียหรือวัสดุเหลือทิ้งจากโรงงานปาล์มซึ่งเป็นพืชเศรษฐกิจของภาคใต้ ความสนใจและความเชี่ยวชาญของอาจารย์เบญจมาสกลายเป็นงานวิจัยการใช้ประโยชน์จากน้ำทิ้งจากโรงงานปาล์มซึ่งยังมีสารอาหารที่สามารถเลี้ยงจุลินทรีย์ได้ โดยแต่เดิมอาจใช้ประโยชน์เพียงแค่การทำไบโอแก๊ส อาจารย์เบญจมาสใช้น้ำทิ้งจากโรงงานเลี้ยงยีสต์ไขมันสูงแล้วนำยีสต์ไปสกัดน้ำมันไบโอดีเซล หลังจากนั้นได้เกิดการใช้ประโยชน์จากน้ำทิ้งเพื่อเลี้ยงยีสต์ไขมันกันอย่างแพร่หลาย
หลักสูตรการจัดการระบบกิจการฮาลาล ม.อ.(Non Degree) รับสมัครนักเรียน จบแล้วเพิ่มโอกาสทำงาน ยกระดับการเรียนรู้ระบบกิจการฮาลาลครบวงจร มุ่งสู่ผู้เชี่ยวชาญการจัดการระบบฮาลาล
สถาบันฮาลาล ม.สงขลานครินทร์ เปิดหลักสูตร Non Degree เรียนรู้การจัดการระบบกิจการฮาลาลโดยแบ่งการเรียนการสอนเป็น 2 รูปแบบได้แก่ ภาคทฤษฎีเรียน ณ ม.สงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ระยะเวลา 2 เดือน ณ อาคารศูนย์การเรียนรู้ภาคปฏิบัติสถาบันฮาลาล ม.อ. และภาคปฏิบัติ ณ สำนักงานคณะกรรมการอิสลาม จังหวัดสมุทรปราการอีก 1 เดือนรวมระยะเวลาทั้งสิ้น 3 เดือน
นวัตกรรมยางพารา ม.อ.ก้าวอย่างมั่นคงสู่อนาคต มุ่งจับมือภาคเอกชนร่วมพัฒนางานวิจัยต่อยอดเชิงพาณิชย์และสนับสนุนชุมชนแปรรูปผลิตภัณฑ์ยาง
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์จับมือบริษัท North East Rubber (NER) ลงนามความร่วมมือต่อยอดฐานงานวิจัยนวัตกรรมยางพาราเพื่อผลิตอุตสากรรมยางพาราเชิงพานิชย์ อาจารย์อัยยพร ขจรไชยกุล ที่ปรึกษารองอธิการบดีฝ่ายวิจัยและนวัตกรรม มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เล่าความเป็นมาของการจับมือร่วมกับภาคเอกชนอย่างเช่น NER ว่าเกิดจากมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ผลิตงานวิจัยยางพาราจำนวนมากและพร้อมจะพัฒนาร่วมกับภาคเอกชนโดยใช้ฐานงานวิจัยที่มีอยู่แล้ว โดยมีเป้าหมายสำคัญเพื่อยกระดับอุตสาหกรรมยางต้นน้ำที่ประสบปัญหากลไกราคาที่ไม่สามารถควบคุมได้ให้เป็นอุตสาหกรรมแปรรูป เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มกับยางพาราต้นน้ำให้ใช้ประโยชน์ได้อย่างเต็มศักยภาพ รวมทั้งมีเป้าหมายสนับสนุนให้กลุ่มวิสาหกิจ ชุมชน มีศักยภาพผลิตสินค้านวัตกรรมยางพาราโดยใช้งานวิจัยของมหาวิทยาลัย
ศูนย์วิจัยและพัฒนาการสัตวแพทย์ภาคใต้ตอนบนพบสุนัขและวัวติดโรคพิษสุนัขบ้า ในจ.สงขลาเตือนประชาชนเฝ้าระวัง พร้อมยึดหลัก 3 ป. ป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า
จากการรายงานโดยศูนย์วิจัยและพัฒนาการสัตวแพทย์ภาคใต้ตอนบน พบโรคพิษสุนัขบ้าในสุนัขพันธุ์ผสม เพศเมีย อายุประมาณ 1 ปี (66J18039) ซึ่งอาศัยอยู่ภายในสำนักสงฆ์ท่าช้าง หมู่ที่ 2 ตำบลบาโหย อำเภอสะบ้าย้อย จังหวัดสงขลา พื้นที่รัศมี 5 กม รอบจุดเกิดโรค ครอบคลุมพื้นที่จังหวัดสงขลาและจังหวัดยะลา ที่มีคลองเทพาเป็นเขตแดนธรรมชาติ มีสุนัขแสดงอาการดุร้าย ไล่กัดคนและสัตว์ระหว่างวันที่ 9-10 พย 2566 โดยพบผู้ถูกสุนัขตัวนี้กัดอย่างน้อย 4 ราย และมีสัตว์ถูกกัดอย่างน้อย 5 ตัว และเมื่อวันที่ 17 พ.ย. 66 รายงานพบโรคพิษสุนัขบ้าในโค พันธุ์ผสมชาโรเล่ส์ เพศเมีย อายุ 3 ปี ในพื้นที่หมู่ 1 ตำบลสะท้อน อำเภอนาทวี จังหวัดสงขลา โคแสดงอาการดุร้าย พุ่งชน วิ่งพล่าน และกลืนน้ำ/อาหารลำบาก และตายหลังแสดงอาการ 5 วัน ทั้งนี้ทางศูนย์ฯและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ลงพื้นที่เพื่อติดตามข้อมูลและเฝ้าระวังอย่างต่อเนื่อง
“ญิฮาดในรัฐอิสลาม” ปรุงงานวิจัยเป็นวรรณกรรมเยาวชนเพื่อความเข้าใจญิฮาดที่แท้จริง
ญิฮาดในรัฐอิสลาม ของสามารถ ทองเฝือเล่มนี้ เป็นผลงานวรรณกรรมเล่มที่สองของเขา (เล่มแรกคือญิฮาด) อาจกล่าวได้ว่าเล่มนี้คือความต่อเนื่องเชิงความคิดของเล่มญิฮาด ทั้งสองเล่มเป็นงานวรรณกรรมเชิงวิชาการ มากกว่าจะเป็นวิชาการเชิงวรรณกรรม แม้ผู้เขียนจะเป็นอาจารย์ด้านรัฐศาสตร์ แต่ก็ได้นำวิธีวิทยาวรรณกรรมมาใช้ครอบคลุมโครงสร้างการเล่าเรื่องตลอดทั้งเล่ม
ม.อ.เชิญ 5 ผู้รับรางวัลโนเบลด้านวิทยาศาสตร์ แพทยศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ ปาฐกถาในโอกาสครบรอบ 55 ปีการสถาปนา ระหว่าง พ.ย.66 – มี.ค.67
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ร่วมกับ คณะเทคนิคการแพทย์ International Peace Foundation (IPF) และการสนับสนุนของ บริษัท มิตซุย ฟูโดซัง จำกัด โรงแรมดุสิตธานี แอนด์รีสอร์ท ธนาคารกสิกรไทย และ บีเอ็มดับเบิลยู เปิดปาฐกถาพิเศษโดยผู้ได้รับรางวัลโนเบลสาขาการแพทย์ Dr. Sir Richard J. Roberts ในหัวข้อ “เผยแพร่สันติภาพผ่านวิทยาศาสตร์และการพาณิชย์ในประเทศเศรษฐกิจเกิดใหม่” (Spreading Peace through Science and Commerce in Emerging Economies) ภายใต้กิจกรรม JAPAN-ASEAN BRIDGES Event Series ในโอกาสฉลองครบรอบ 50 ปี ความสัมพันธ์ญี่ปุ่น-อาเซียน และในวาระครบรอบ 55 ปี แห่งการสถาปนามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ในปี 2566
คนไทยตายจากมะเร็งปากมดลูกเกือบ 5000 รายต่อปี รัฐควิกวินฉีดวัคซีนฯให้เด็ก 11-20 ปี 1 ล้านโดส หมอย้ำมะเร็งปากมดลูกป้องกันได้
รายงานสถิติจากสถาบันมะเร็งแห่งชาติ พบว่าเมื่อปี 2565 ประเทศไทยมีผู้ป่วยมะเร็งปากมดลูกรายใหม่ประมาณ 12,956 ราย และเสียชีวิตประมาณ 4700 ราย มะเร็งปากมดลูกเป็นมะเร็งที่เจอมากอันดับสองในผู้หญิงรองจากมะเร็งเต้านมและอันดับ 5 ของมะเร็งห้าอันดับที่คนไทยเป็นมากที่สุดคืออันดับหนึ่งมะเร็งตับและท่อน้ำดี อันดับสองมะเร็งปอด อันดับสามมะเร็งเต้านม อันดับสี่มะเร็งลำไส้ใหญ่และทวาร และอันดับห้ามะเร็งปากมดลูก ตามสถิติประเทศไทยเจอผู้ป่วยมะเร็งรายใหม่เฉลี่ย 140000 รายต่อปี มะเร็งปากมดลูกเป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ เกิดจากการติดเชื้อ HPV โดยเชื้อนี้มี 200 สายพันธุ์ 14 สายพันธุ์ก่อโรค สายพันธุ์ 16 และ 18 ก่อให้เกิดมะเร็งปากมดลูก การติดเชื้อส่วนใหญ่ไม่มีอาการ