การระบาดของโรคลำต้นเน่าในต้นปาล์ม ที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของเชื้อกาโนเดอร์มาร์ หรือโรคโคนเน่า ของชาวสวนปาล์มในเขตจังหวัดภาคใต้ตั้งแต่จังหวัดชุมพร นครศรีธรรมราช กระบี่ สุุราษฏร์ธานี ตรัง และสตูล ก่อความเสียหายแก่สวนปาล์ม ถึงจุดวิกฤต ศูนย์วิจัยควบคุมศัตรูพืชชีวินทรีย์แห่งชาติ ภาคใต้ คณะทรัพยากรธรรมชาติ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ จังหวัดสงขลา จึงได้ทำการศึกษาและคิดค้นชีวภัณฑ์ เพื่อแก้ปัญหาโรคลำต้นเน่า และชีวภัณฑ์สำหรับเสริมสร้างการเจริญเติบโตของรากปาล์ม และเผยแพร่แก่เกษตรกรภาคใต้ ทำให้สวนปาล์มสามารถกลับมาให้ผลผลิตได้ดังเดิม
สถาบันฮาลาล ม.อ. สร้างความร่วมมือยกระดับมาตรฐานฮาลาลของประเทศไทย พร้อมเปิดตัวชุดทดสอบการปนเปื้อน DNA สุกร (TEST KIT)
สถาบันฮาลาล มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และคณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทย บันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) เพื่อส่งเสริมการทำงานด้านฮาลาลในประเทศไทยให้มีความก้าวหน้าและน่าเชื่อถือพร้อมเปิดตัวนวัตกรรม TEST KIT ชุดทดสอบสารปนเปื้อน DNA สุกรในผลิตภัณฑ์ ใช้งานง่ายและรวดเร็ว
กรมการแพทย์แนะเตรียมความพร้อมผู้ดูแลผู้ป่วยสมองเสื่อม
นายแพทย์วีรวุฒิ อิ่มสำราญ รองอธิบดีกรมการแพทย์ เปิดเผยว่า ผู้ป่วยที่มีภาวะสมองเสื่อมต้องประสบกับปัญหาความจำ หลงลืม ไม่สามารถจำสิ่งใหม่ๆได้ มีปัญหาทางด้านอารมณ์ หงุดหงิดง่าย สิ้นหวัง ซึมเศร้า นอนไม่หลับ ไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ ทำพฤติกรรมบางอย่างที่ไม่เหมาะสม เช่น ตะโกน ก้าวร้าว มีอาการทางจิต หวาดระแวง หูแว่ว ภาพหลอน ตลอดจนไม่สามารถสื่อภาษาให้ผู้อื่นเข้าใจ และไม่เข้าใจการสื่อสารของผู้อื่นเช่นกัน ดังนั้นผู้ดูแลผู้ป่วยจึงต้องทำความเข้าใจกับภาวะของโรคสมองเสื่อม เพื่อจะได้ให้การดูแลและเข้าใจอาการของผู้ป่วยมากขึ้น
ถนอมอาหาร : เก็บได้นาน สารอาหารอยู่ครบ!!
การถนอมอาหาร เป็นกรรมวิธีที่มีมาตั้งแต่ครั้งโบราณนานมา เพราะสมัยก่อนตั้งแต่ยังไม่มีตู้เย็น การจะเก็บรักษาเนื้อสัตว์ก็ใช้วิธีตากแดดให้แห้ง การเก็บรักษาด้วยเกลือ หรือแม้แต่วิธีหมักดองแบบคนจีน คนไทยเราก็โตมากับวิธีการถนอมอาหารทั้งนั้น เพียงแต่หลายคนอาจจะไม่เข้าใจว่าอาหารที่กินไปนั้นมีที่มาอย่างไร อย่างเช่น ปลาร้า ปลาจ่อม ผักดอง ของคนอีสาน ถั่วเน่า จิ้นส้มหรือแหนม ของคนเหนือ น้ำปลา ข้าวหมาก ของภาคกลาง กะปิ น้ำบูดู และหนาง ของคนใต้ ในยุคปัจจุบันอาหารที่เป็นสากล พวก แฮม เบคอน ซอส กิมจิ เต้าเจี้ยว โชยุ มิโสะ ฯลฯ ก็ล้วนผ่านการถนอมอาหาร ก่อนที่จะมาเป็นอาหารด้วยกันทั้งนั้น
“ยิ่งเครียดก็ยิ่งกิน” อาหารมีอิทธิพลต่อความเครียดอย่างไร?
กรมสุขภาพจิตให้ความหมายว่า ความเครียด เป็นภาวะที่บุคคลรู้สึกถูกกดดัน ไม่สบายใจ วุ่นวายใจ กลัว วิตกกังวล ตลอดจนถูกบีบคั้น เกิดจากการที่บุคคลรับรู้ หรือประเมินสิ่งที่เข้ามาในประสบการณ์ของตนว่าเป็นสิ่งที่คุกคามจิตใจ หรือก่อให้เกิดอันตรายแก่ร่างกาย อันเป็นผลให้สภาวะสมดุลของร่างกายและจิตใจเสียไป ซึ่งมีปฏิกิริยาตอบสนองหลายอย่าง เป็นต้นว่า การใช้กลไกป้องกันตัวเอง การเปลี่ยนแปลงด้านสรีระ ด้านพฤติกรรม ด้านความนึกคิด และด้านอารมณ์ความรู้สึก โดยผลจากความเครียดอาจจะนำไปสู่ปัญหาสุขภาพกาย สุขภาพจิต และคุณภาพชีวิตที่แย่ลง