ข่าวปลอม-ข่าวลวง (Fake News) แม้จะไม่ใช่ปัญหาใหม่ เพราะมีมาตั้งแต่มนุษย์เริ่มอยู่กันเป็นสังคมและสื่อสารระหว่างกัน แต่ด้วยเทคโนโลยีที่ก้าวหน้า อินเทอร์เน็ต-สื่อสังคมออนไลน์ ทำให้ปัญหาดังกล่าวทวีความรุนแรงขึ้นและส่งผลกระทบในหลายด้าน โดยเฉพาะประเด็นสุขภาพ เช่น การโฆษณาชวนเชื่อหลอกขายเครื่องสำอาง ยาและอาหารเสริม อวดอ้างสรรพคุณวิเสษสารพัดอย่าง ยิ่งปัจจุบันที่โลกเผชิญวิกฤต “โควิด-19″ข่าวปลอมก็ยิ่งเพิ่มจำนวนและทวีความซับซ้อนมากขึ้น ตั้งแต่เรื่องของสารพัดวิธีรักษาโควิด ไปจนถึงคำแนะนำไม่ให้ฉีดวัคซีนด้วยเหตุผลต่างๆ นานา ซึ่งเป็นอุปสรรคต่อความพยายามในการควบคุมโรค
นายแพทย์สุวรรณชัย วัฒนายิ่งเจริญชัย อธิบดีกรมอนามัย กล่าวว่า ในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดโรคโควิด-19 ประชาชนยังคงต้องปฏิบัติตามคำแนะนำของกระทรวงสาธารณสุขอย่างเคร่งครัด โดยเฉพาะผู้เกษียณอายุที่ก้าวสู่วัยผู้สูงอายุ ควรมีการปรับตัวตามแนวทางวิถีชีวิตใหม่ (New Normal) ภายใต้การป้องกันตนเองขั้นสูงสุดแบบครอบจักรวาล (Universal Prevention) ป้องกันโควิด-19 ตามหลัก 10 ข้อปฏิบัติ
นพ.ทวีศิลป์ วิษณุโยธิน โฆษกศูนย์อำนวยการสถานการณ์การแพร่ระบาดโควิด-19 (ศบค.) แถลงสถานการณ์การแพร่ระบาดโรคติดเชื้อโควิด-19 กล่าวถึงแผนงานและแนวทางการเปิดพื้นที่นำร่องการท่องเที่ยว (พื้นที่สีฟ้า) ตามมาตรการป้องกันควบคุมโรคโควิด19 สำหรับพื้นที่นำร่องการท่องเที่ยว (พื้นที่สีฟ้า) เพื่อสร้างแรงจูงใจสำหรับนักท่องเที่ยว และผู้ประกอบการในพื้นที่นำร่องการท่องเที่ยว (พื้นที่สีฟ้า) และควรมีมาตรการป้องกันควบคุมโรคต่างจากมาตรการตามระดับของพื้นที่สถานการณ์ย่อยในพื้นที่ทั่วราชอาณาจักรที่ถูกกำหนดไว้
ศบค.ประกาศต่อเวลาใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน เพิ่มอีก 2 เดือน ถึง 30 พฤศจิกายน 2564 พร้อมขยับเวลาเคอร์ฟิวใหม่ และผ่อนปรนกิจกรรม ให้เปิดฟิตเนสได้ และร้านอาหารให้เล่นดนตรีสดได้แต่ต้องใส่แมสก์.มีการปรับเวลาเคอร์ฟิว ห้ามประชาชนออกนอกเคหสถานในเวลากลางคืน จากเดิม 21.00 – 04.00 น. ขยับไปเป็นเวลา 22.00 – 04.00 น. อย่างน้อย 15 วัน พร้อมผ่อนปรนให้สถานประกอบการกลับมาเปิดให้บริการได้ อาทิ ฟิตเนส รวมถึงอนุญาตให้สามารถเล่นดนตรีสดในร้านอาหารได้
กองพัฒนานักศึกษาและศิษย์เก่าสัมพันธ์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ จัดกิจกรรม เนื่องในวันมหิดลและวันประโยชน์เพื่อนมนุษย์เป็นกิจที่หนึ่ง ในวันที่ 23 กันยายน 2564 ที่ลานกิจกรรม อาคารกิจกรรมนักศึกษา โดยมีการจัดนิทรรศการพระราชประวัติและเชิดชูพระเกียรติคุณ ของสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก และประวัติ ศาสตราจารย์ ดร.สตางค์ มงคลสุข หนึ่งในผู้ร่วมก่อตั้งมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และการร่วมบริจาคโลหิตต่อชีวิตเพื่อมนุษย์จากนักศึกษา บุคลากรและประชาชนทั่วไป
เมื่อพูดถึง “เทศกาลไหว้พระจันทร์” เชื่อว่าหลายคนต้องนึกถึง “ขนมไหว้พระจันทร์” เป็นอันดับแรกๆ ซึ่งวันไหว้พระจันทร์ ปี 2564 ตรงกับวันที่ 21 กันยายน 2564 แต่เดิมนั้นคนจีนถือว่าเป็นเทศกาลยิ่งใหญ่อันดับสองรองจากตรุษจีน ความสำคัญของเทศกาลนี้แต่เดิมมีความเกี่ยวข้องกับการทำการเกษตร เพราะนี่เป็นช่วงของการเก็บเกี่ยวผลผลิตแรก ซึ่งต้องนำไปบูชาบรรพบุรุษเสียก่อนที่จะเก็บไว้กินหรือขาย ชาวจีนยังเชื่อว่าคืน “จงชิว” หรือคืนวันเพ็ญกลางเดือนแปดเป็นคืนที่พระจันทร์ส่องสว่างที่สุดในรอบปีอีกด้วย ขอบคุณสวรรค์ รวมถึงดวงจันทร์ เพราะมีความเชื่อว่าทำให้เกิดน้ำขึ้นน้ำลง จึงเกิดเป็น “พิธีไหว้พระจันทร์”
วันนี้ (16 ก.ย.2564) เป็นวันแรกที่สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) แจกชุดตรวจ Antigen Test Kit (ATK) ฟรี กระจาย 8.5 ล้านชิ้น ให้ประชาชนกลุ่มเสี่ยงทุกสิทธิการรักษา (สิทธิบัตรทอง ประกันสังคม สวัสดิการข้าราชการ) ตรวจโควิดด้วยตนเอง เพื่อป้องกันควบคุมโรค รู้เร็ว รักษาเร็ว ลดการระบาด COVID-19 โดยแจกคนละ 2 ชุด ห่างกัน 5 วัน
วันนี้ (15 กันยายน 2564) ศูนย์อาสาสมัคร มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ร่วมกับกองพัฒนานักศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ มอบถุงยังชีพ ข้าวสาร ชุดทำความสะอาดฟัน เจลแอลกอฮอล์ ซึ่งได้รับความร่วมมือจากผู้มีจิตศรัทธา ให้แก่ครอบครัวผู้ประสบความเดือดร้อนจากสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ในพื้นที่ชุมชนสถานี 2 และ ชุมชนรัชมังคลาภิเษก อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา
16 ก.ย.นี้ แอปฯ เป๋าตัง เปิดให้ประชาชนกลุ่มเสี่ยงรับชุด ATK ฟรี! ตรวจโควิดด้วยตนเอง ตามที่รัฐบาลมอบให้ สปสช.เร่งกระจายชุดตรวจแอนติเจน เทสต์ คิท หรือ ATK (Antigen Test Kit) จำนวน 8.5 ล้านชุด ให้กับประชาชนกลุ่มเสี่ยง เพื่อใช้ในการตรวจโควิด-19 โดย สปสช. ขณะนี้ได้เร่งประสานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กรุงเทพมหานคร (กทม.) สภาเภสัชกรรม เพื่อแจกที่ร้านยา รวมถึงหน่วยงานและแกนนำในชุมชน เพื่อกระจายให้กับประชาชนที่เป็นกลุ่มเปราะบาง
การปลดล็อกให้พืชกระท่อมไม่เป็นยาเสพติดให้โทษ หลังเริ่มมีผลบังคับใช้พระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษฉบับที่ 8 พ.ศ.2564 เมื่อวันที่ 24 สิงหาคม ที่ผ่านมา โดยมีมาตรการควบคุมและกำกับดูแล มีทั้งการกำหนดให้การปลูกพืชกระท่อม การขาย การนำเข้าหรือส่งออกใบกระท่อม โดยประชาชนสามารถปลูก หรือบริโภคกระท่อมตามวิถีชาวบ้านโดยไม่ผสมสารเสพติดอื่นใด และห้ามการนำไปปรุงอาหารหรือเป็นส่วนผสมในอาหารเพื่อจำหน่ายเนื่องจาก พ.ร.บ.อาหาร พ.ศ. 2522 ยังไม่ปลดล็อกให้สามารถนำพืชกระท่อมไปทำอาหารหรือผสมในอาหารเพื่อจำหน่ายได้