คุณสมบัติบริจาคเกล็ดเลือด

คุณสมบัติบริจาคเกล็ดเลือด

เกล็ดโลหิต (Platelets หรือ Thrombocyte) คือ เซลล์หรือแผ่นเซลล์บางๆที่มีรูปร่างไม่แน่นอน ส่วนมากมีรูปร่างคล้ายดาว ไม่มีนิวเคลียส มีขนาดเล็กประมาณ 2-3 ไมครอน (1 ไมครอน = 1 ในล้านของเมตร) สามารถพบได้ทั่วไปในเลือดของคน แต่จะพบได้มากที่ม้าม โดยที่ในเลือด 1 ซีซี จะพบเกล็ดเลือดราว 350 ล้านแผ่น เกล็ดเลือดจึงเป็นเซลล์เม็ดโลหิตชนิดหนึ่งมีขนาดเล็กมากถูกสร้างจากไขกระดูกเช่นเดียวกับเม็ดเลือดแดง แต่จะถูกสร้างแบบไม่มีพัฒนาการต่อจนเป็นเม็ดเลือดแดง ซึ่งเกล็ดเลือดจะถูกปล่อยเข้าสู่ระบบหมุนเวียนเลือด โดยมีอายุราว 10 วันในร่างกายก่อนจะถูกส่งไปทำลายที่ม้าม

คุณดวงฤทัย หมวดเอียด พยาบาลชำนาญการหน่วยคลังเลือดและเวชศาสตร์บริการโลหิต โรงพยาบาลสงขลานครินทร์ ให้สัมภาษณ์ในรายการสภากาแฟ เมื่อวันที่ 22 ธันวาคม 2565 ว่าผู้ที่ต้องการบริจาคเกล็ดเลือดต้องเป็นผู้ที่เคยบริจาคมาก่อน การบริจาคเป็นเรื่องที่เราทำได้ทุกคนแต่ในบางครั้งมันก็อดที่จะตื่นเต้นที่พบเจอกับเจอผู้บริจาครายใหม่ๆ อาการตื่นเต้นจะทำให้ก็มีโอกาสหน้ามืดเป็นลมได้ง่ายจึงทำให้ไม่สามารถบริจาคเกล็ดเลือดทันทีได้เลย เพราะว่าการบริจาคเกล็ดเลือดบริจาคครั้งนึง นอน 1 ชม ครึ่ง – 2 ชม คุณสมบัติสำหรับผู้บริจาคเกล็ดโลหิตต้องมีอายุ 17-50 ปี น้ำหนัก 60 กิโลกรัมขึ้นไปและควรเป็นผู้ที่บริจาคโลหิตสม่ำเสมอโดยที่หมู่โลหิตของผู้บริจาคจะต้องตรงกับผู้ป่วยที่ต้องการเกล็ดโลหิต และมีเส้นโลหิตตรงข้อพับแขนชัดเจน ไม่รับประทานยาแก้ปวดแอสไพรินในระยะเวลา 5 วันก่อนบริจาค รวมถึงมีจำนวนเกล็ดโลหิต 2 แสนตัว/ลูกบาศก์มิลิลิตร เพื่อความปลอดภัยในขณะบริจาค ตัวกำหนดเกล็ดเลือดจะค่อยๆ เอาเลือดออกมาปั่น ส่วนหนึ่งพอเสียก็จะคาไว้ในเครื่อง กรณีผู้บริจาคน้ำหนักตัวไม่เยอะ การที่เขาเสียเลือดอยู่นอกตัวในปริมาณที่มากเกินเขาจะมีอาการวิงเวียนศรีษะ อัตราส่วนในเลือดที่มีอยู่ในร่างกาย คนทั่วไปเราจะเสียเลือดมากไปจะทำให้ความดันตก เลือดนอกตัวต่อให้เป็นการหมุนเวียน และส่งผลทำให้มีอาการผิดปกติกับร่างกายได้ค่อนข้างมาก ได้เช่นกัน

ประโยชน์ของเกล็ดโลหิต 

เป็นตัวช่วยทำให้โลหิตแข็งเป็นลิ่มและอุดรอยฉีกขาดของเส้นโลหิตมีหน้าที่ช่วยในการแข็งตัวของเลือดในขณะเกิดบาดแผล ช่วยให้ร่างกายสูญเสียเลือดน้อยลง  โดยที่จะมีอายุในการทำงานเพียง 5-10 วันเท่านั้น  หลังจากได้รับการบริจาคแล้ว ขณะที่ในร่างกายมนุษย์ปกตินั้นจะมีเกล็ดโลหิตประมาณ 1-5 แสนตัว/ลูกบาศก์มิลลิลิตร อย่างไรก็ตามเกล็ดโลหิตจะมีหลักการทำงานในการช่วยให้เลือดแข็งตัว 3 ขั้นตอนคือ การหลั่งเอนไซม์เพื่อช่วยให้เลือดแข็งตัว ต่อมาเกล็ดเลือดจะจับตัวเป็นก้อน เพื่อขวางทางไหลของเลือดและอุดบาดแผล ทำให้เลือดหยุดไหลและลดการสูญเสียเลือด และช่วยลดขนาดของก้อนเลือดหรือลิ่มเลือดที่อุดอยู่บริเวณปากแผล ภายหลังเมื่อเลือดหยุดไหลแล้วดังนั้นถ้าผู้ป่วยเกิดภาวะเกล็ดโลหิตต่ำมากย่อมจะทำให้เกิดโลหิตออกง่าย นอกจากนี้ยังมีอีกหลายโรคที่มีสาเหตุทำให้เกล็ดโลหิตต่ำ ได้แก่ โรคมะเร็งเม็ดโลหิตขาว ,โรคที่เกี่ยวกับไขกระดูกไม่ทำงาน รวมถึงโรคติดเชื้อที่กำลังได้รับความสนใจก่อให้เกิดกระแสการตื่นตัวในการรักษาได้ทันด้วยผู้ป่วยที่มีภาวะเกล็ดโลหิตต่ำและมีปัญหาเลือดออกไม่หยุดเช่นโรคไข้เลือดออก รวมถึงเกล็ดโลหิตยังมีความจำเป็นต้องใช้ในการ รักษาโรคในมะเร็งเม็ดโลหิตขาวและโรคมะเร็งต่อมน้ำเหลืองอีกด้วย

คุณดวงฤทัยฯ กล่าวทิ้งท้ายว่า ท่านใดที่ต้องการบริจาคเกล็ดเลือดสามารถบริจาคได้ที่ โรงพยาบาลสงขลานรินทร์ อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา การบริจาคเกล็ดเลือดเวลาในการบริจาค 1 ชั่วโมง – 2 ชั่วโมง รับเกล็ดเลือดในวันและเวลาราชการ 08.30- 14.30 น เป็นต้นไป ทุกวันราชการ โทร 074-451-574 และเน้นย้ำสำหรับผู้บริจาคที่ทานยาโรคประจำตัว ยากลุ่มของแก้ปวดข้อ คลายกล้ามเนื้อ หรือยากลุ่มแอสไพลิน ขอให้หยุดอย่างน้อย 72 ชั่วโมง ก่อนบริจาค รวมทั้งอาหารเสริมขมิ้นชันและน้ำมันปลา อีกด้วย

ขอบคุณข้อมูลเพิ่มเติม : งานธนาคารเลือด โรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *