สงขลา ตั้งเป้า “เครือข่ายเมืองสร้างสรรค์โลกด้านอาหารของยูเนสโก” (UNESCO Creative Cities Network-UCCN) เตรียมยื่นพิจารณาปี68

สงขลา ตั้งเป้า “เครือข่ายเมืองสร้างสรรค์โลกด้านอาหารของยูเนสโก” (UNESCO Creative Cities Network-UCCN) เตรียมยื่นพิจารณาปี68

จังหวัดสงขลาเป้นจังหวัดที่มีศักยภาพด้านการท่องเที่ยวทั้งในระดับประเทศและระดับนานาชาติเนื่องจากเป็นเมืองที่มีความหลากหลายทางวัฒนธรรมและความหลากหลายทางธรรมชาติ ตลอดจนประเพณีวัฒนธรรมที่มีความโดดเด่นและเป็นเมืองท่องเที่ยวที่สำคัญระดับประเทศและระดับโลกด้านสินค้าบริการ มีจุดแข็งด้านสินค้าและบริการหลากหลายรูปแบบที่สามารถสะท้อนความเป็นเอกลักษณ์เชิงวัฒนธรรมและรองรับความต้องการของนักท่องเที่ยวอย่างเพียงพอ ดังนั้น เพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจ จึงได้จัดโครงการท่องเที่ยววิธีอาหารโดยใช้ชื่อ Songkhla Gastronomy Tourism สงขลาเมืองสร้างสรรค์ด้านอาหาร และได้รับความร่วมมือจากภาครัฐ ภาคเอกชนในการขับเคลื่อนโครงการเพื่อสร้างการรรับรู้ให้แก่ภาคประชาชน

เมื่อวันที่ 17 มี.ค. 66 ที่ผ่านมา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ร่วมกับ องค์การบริหารส่วนจังหวัดสงขลา องค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน) (อพท.) เครือข่ายมหาวิทยาลัยในจังหวัดสงขลา ภาคเอกชน และชุมชน เปิดเวทีนานาชาติโครงการ Songkhla Gastronomy Tourism เพื่อส่งเสริม พัฒนาความร่วมมือระหว่างเครือข่ายเมืองสร้างสรรค์ด้านอาหาร สร้างการรับรู้ และการมีส่วนร่วมในโครงการสงขลาเมืองสร้างสรรค์ด้านอาหารให้แก่ทุกภาคส่วนในจังหวัดสงขลา โดยมี นายวรณัฐ หนูรอด รองผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลาเป็นประธาน นายวันชัย ปริญญาศิริ นายกเทศมนตรีเทศบาลนครสงขลา กล่าวต้อนรับ ผศ. ดร.สุพัตรา เดวิสัน ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายกิจการอาเซียนและเศรษฐกิจสร้างสรรค์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ กล่าวรายงาน พร้อมด้วย วิทยากร หัวหน้าหน่วยงาน ตัวแทนภาคส่วนต่างๆ และผู้สนใจเข้าร่วมงาน ณ โรงสีแดง หับ โห้ หิ้น ตำบลบ่อยาง อำเภอเมืองสงขลา จังหวัดสงขลา

ในช่วงบ่ายได้มีการจัดเสวนาในหัวข้อ “เส้นทางสู่การเป็นเครือข่ายเมืองสร้างสรรค์ด้านอาหารของยูเนสโก้” โดยมี ผู้แทนเครือข่ายเมืองสร้างสรรค์ด้านอาหาร จ. เพชรบุรี นายสุขสันต์ เพ็งดิษฐ์ ผู้จัดการสำนักงานพื้นที่พิเศษเขต 8 อพท. และ ดร.ทัดทอง พราหมณี อาจารย์มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี, ผู้แทนเครือข่ายเมืองสร้างสรรค์ด้านอาหาร จ.ภูเก็ต นางศรีกิจ หยกมณีรัตนกร ผู้อำนวยการกองยุทธศาสตร์และงบประมาณ เทศบาลนครภูเก็ต, ผู้แทนเครือข่ายเมืองสร้างสรรค์ด้านอาหารเมือง Kuching ประเทศมาเลเซีย คุณ Karen Sheperd, อาจารย์เทพรัตน์ จันทพันธ์ สถาบันการเรียนรู้เพื่อปวงชน และ ผู้ช่วยศาสตร์จารย์ ดร.สุพัตรา เดวิสัน มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ร่วมพูดคุยในประเด็นดังกล่าวเพื่อสร้างการรับรู้ให้แก่ประชาชนได้ทราบถึงจุดประสงค์ดังกล่าว

ผศ. ดร.สุพัตรา เดวิสัน ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายกิจการอาเซียนและเศรษฐกิจสร้างสรรค์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ กล่าวว่า จากข้อมูลการศึกษาศักยภาพของจังหวัดสงขลาในการเป็นเครือข่ายเมืองสร้างสรรค์ของยูเนสโก โดย อพท. และจากการทำงานร่วมกันของเครือข่ายมหาวิทยาลัยทั้ง 5 แห่ง ร่วมกับภาคส่วนต่างๆ ได้เห็นถึงศักยภาพของสงขลาในด้านวิทยาการอาหาร หรือที่เรียกกันว่า Gastronomy City ซึ่งจะเป็นเครื่องมือในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจโดยรวมของจังหวัดสงขลา ในส่วนของวงจรระบบอาหาร (Food System) ซึ่งประกอบด้วย 4 ภาคส่วนใหญ่ๆ คือ ภาคการผลิต Production, การเก็บเกี่ยว เก็บรักษา Processing, การจำหน่าย ตลาด Distribution และ การบริโภค Consumption แต่ละส่วนยังมีรายละเอียดและครอบคลุมผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในทุกระดับและทุกบริบท จากเกษตรกร ถึงภาคอุตสาหกรรม การท่องเที่ยวและบริการ การศึกษา เป็นต้น นอกจากนี้ อาหารและวัฒนธรรมท้องถิ่นเป็นความสวยงามและน่าสนใจของคนต่างถิ่นที่ต้องการมีประสบการณ์ ถ้าชุมชนสามารถนำมาต่อยอดอย่างสร้างสรรค์ได้จะเป็น soft power ที่จะ ช่วยยกระดับเศรษฐกิจชุมชน และประเทศในภาพรวม ซึ่งการเป็นเมืองสร้างสรรค์ของยูเนสโกจะขยายการมองเห็นและยกระดับสู่นานาชาติ

นางศรีกิจ หยกมณีรัตนกร ผู้แทนเครือข่ายเมืองสร้างสรรค์ด้านอาหาร จ.ภูเก็ต กล่าวว่า จังหวัดภูเก็ตเป็นเมืองที่ขึ้นชื่อเรื่องอาหาร เป็นอาหารที่ได้รับการผสมผสานทางวัฒนธรรมของชาวพื้นเมืองและชาวจีน ดังนั้น อาหารภูเก็ต จึงมีรสจัดแบบอาหารใต้ทั่วไปแต่มีกลิ่นอายของความเป็นจีนผสมอยู่เพราะชาวจีน เป็นชนกลุ่มใหญ่ เนื่องจากชาวภูเก็ตให้ความสำคัญกับอาหารการกินเป็นอย่างมากประกอบกับภูเก็ต เป็นศูนย์รวมของความเจริญ และศูนย์กลางการติดต่อค้าขายมาตั้งแต่ในอดีตทำให้อาหารในภูเก็ตนั้นมีมากมายหลากหลายชนิด เช่น หมี่ภูเก็ต ขนมจีนภูเก็ต โอต้าว ฮูแช้ ข้าวยำพริก น้ำพริกกุ้งเสียบ โอ้เอ๋ว เป็นต้น จะเห็นว่าความหลากหลายทางอาหารของภูเก็ตนั้นมีมากมายเนื่องจากเป็นจังหวัดที่มีความเป็นพหุวัฒนธรรมสูง
ผู้คนหลากหลายเชื้อชาติ

เดิมทีเนื่องจากภูเก็ตเป็นเมืองท่องเที่ยวธุรกิจอาหารก็จะถูกผนวกเข้าไปในธุรกิจการท่องเที่ยวอยู่แล้ว เพราะว่าอาหารเป็นส่วนหนึ่ง แต่เมื่อได้รับการประกาศจากยูเนสโก้ จึงทำให้อาหารพื้นเมืองถูกยกระดับด้วยความคิดสร้างสรรค์ถูกเอามาปรับแต่งรูปลักษณะใหม่ ให้เข้ากับการใช้ชีวิตของคนภูเก็ตรุ่นใหม่ที่จะทานอารพื้นเมืองได้ ทำให้ตอนนี้ นักท่องเที่ยวที่เข้ามาในเที่ยวต้องทานอาหารภูเก็ตซึ่งมันเป็นสิ่งที่ดีที่จะทำให้อาหารพื้นเมืองยังคงอยู่ ตลอดไปเพราะมันถูกใช้อยู่ในชีวิตประจำวัน

ปัจจัยอาหารเพียงอย่างเดียวคงไม่ได้ทำให้ภูเก็ตได้รับการประกาศจากยูเนสโก้ เกณฑ์ที่ทำให้เราได้รับการประกาศภูเก็ตมีความร่วมมืออย่างแข็งขันเข้มแข็งจากทางภาคเอกชน ภาคราชการ และภาควิชาการ ที่ขับเคลื่อนเมืองสร้างสรรค์ ขับเคลื่อนธุรกิจด้านอาหารก่อนที่จะส่งเข้ารับสมัครก็เป็นส่วนหนึ่ง เกณฑ์หนึ่งที่ทำให้เราได้รับการประกาศ

ดร.ทัดทอง ทราณมณี อาจารย์มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี ผู้แทนเครือข่ายเมืองสร้างสรรค์ด้านอาหารจังหวัดเพชรบุรี กล่าวว่า จังหวัดเพชรบุรี มีสถานที่ท่องเที่ยวหลากหลาย และที่สำคัญเรื่องอาหารก็มีความโดเด่นไม่แพ้ที่อื่นเช่นกัน ทำให้หลายคนติดใจ ไม่ว่าจะเป็นอาหารพื้นถิ่นที่มีเอกลักษณ์ ก๋วยเตี๋ยวน้ำแดงเมืองเพชร รวมไปถึงขนมหวานสไตล์เพชรบุรี ด้วยความโดดเด่นองค์การศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ หรือ ยูเนสโก ได้ประกาศให้เพชรบุรีเป็นเครือข่ายเมืองสร้างสรรค์ด้านอาหาร ประจำปี 2564 (City of Gastronomy) ทำให้อาหารเมืองเพชรบุรีเป็นที่รู้จักไปทั่วโลก สำหรับเพชรบุรีเป็นเมืองที่ 5 ของไทยที่ขึ้นแท่นเมืองสร้างสรรค์ ก่อนหน้านี้ มีภูเก็ต เชียงใหม่  สุโขทัย และกรุงเทพฯ  และ นายสุขสันต์ เพ็งดิษฐ์ กล่าวเพิ่มเติมว่า อีกมุมมองของจังหวัดเพชรบุรี นอกจากเรื่องอาหารที่มีเอกลักษณเด่นแล้วเรามองถึงแหล่งท่องเที่ยวทางเพชรบุรีเช่น โบราณสถานสำคัญ ธรรมชาติที่สวยงามทั้ง ภูเขา และทะเล เพราะอย่างงั้นการที่เราได้รับการเป็นมารดกโลกทางเรื่องของธรรมชาติและการเป็นเมืองสร้างสรรค์ทางด้านอาหารก็จะทำให้คนรู้จักเพชรบุรีมากขึ้นและจะหนุนเสริมกัน โดยเฉพาะการพัฒนาที่เราเรียกกันว่า ไทยแลนด์ริเวียร่า เพื่อยกระดับแหล่งท่องเที่ยวทางด้านสุขภาพอาหารก็จะทำให้เพชรบุรีถูกพัฒนาทั้งในเรื่องของการจ้างงาน โครงสร้างพื้นฐานสิ่งหนึ่ง ตามความสะดวกต่างๆ การที่เราได้เป็นสมาชิกเครือข่ายนั้นหมายถึงว่าเราจะได้รับ การต้อนรับสมาชิกของเมืองสร้างสรรค์ การเปิดใจของเมืองสร้างสรรค์ก็ยังได้มีการแบ่งปันความรู้และสร้างการรรับรู้ระหว่างประชาชนเพื่อให้ได้ทราบถึงจุดประสงค์และเป้าหมายที่กำหนดไว้เช่นกัน

ทางด้าน คุณ Karen Shepherd ผู้แทนเครือข่ายเมืองสร้างสรรค์ด้านอาหารเมือง Kuching ประเทศมาเลเซีย กล่าวว่า เมืองกูชิง ประเทศมาเลเซียได้เป็นสมาชิกของ UCCN เนื่องจากจากเมืองกูชิง ได้นำเสนอความเป็นตัวเอง อย่างเช่น ความผสมผสานเปอรานรากันเช่นเดียวกับจังหวัดภูเก็ตของประเทศไทย ตลอดจนความหลากหลายทางชีวภาพ ดึงความเป็นตัวตนของเมืองกูชิง และมีความร่วมมือที่ชัดเจนเข้มแข็งซึ่งตรงนี้ ก็ตอบโจทย์ของ SDG 17 เป้าหมาย ในเรื่องของพาร์ทเนอร์ชิพ เครือข่ายมีแบบผู้มาส่วนได้ส่วนเสีย ทุกภาคส่วนมาร่วมมือกันอย่างชัดเจนและก็มาช่วยการเตรียมคำขอ ทางด้านปัจจัย มีแผนถึงการปฏิบัติการที่เห็นถึงโอกาสความจำเป็น มีการสร้างการรับรู้ การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ท้ายที่สุดเขาเห็นถึงการสร้างรายได้ คือการต่อยอดการเป็นเมืองสร้างสรรค์ประเด็นสุดท้าย อย่างไปมองว่าเป็นการได้รางวัล การที่เราได้เป็นสมาชิก มองถึงความมุ่งมั่น  ทุกๆเมืองมีความพิเศษเป็นของตัวเอง แต่ทุกๆเมืองมีความคล้ายๆกัน ในภาพของประเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จะเจอปัญหาที่คล้ายคลึงกันในเรื่องของวัฒนธรรม เรื่องของอิทธิพลต่างชาติ เรื่องของการส่งต่อระหว่างรุ่นสู่รุ่นช่องว่างระหว่างวัย เรื่องของสิ่งแวดล้อม เรื่องของวัตถุดิบบางอย่าง มันอาจสูญหายไป อย่างกุชิ่งเราจะมองว่าการเก็บรักษาการปกป้อง ซึ่งในแต่ละเรื่องมีความแตกต่างกันออกไปตามวัตถุประสงค์ การขับเคลื่อนเมือง โดยนโยบายโดยเป้าหมายของเขา การเป็นสมาชิกเราเองเราเป็นอย่างไร การที่เราเป็นเมืองยูเนสโก้ ไม่ได้หมายความว่าจะมีอะไร มันจะเป็นตัวช่วยให้เมืองของเรามองเห็นตัวตนของเรา มันจะขยายได้ง่ายขึ้นในระดับของโลก

ขณะเดียวกัน อาจารย์เทพรัตน์ จันทพันธ์ สถาบันการเรียนรู้เพื่อปวงชน กล่าวว่า การพัฒนาจุดสำคัญของเครือข่ายเมืองสร้างสรรค์ด้านอาหาร ในจังหวัดสงขลา ยังมีต้องเพิ่มการรับรู้ไปยังประชาชน ซึ่งในตอนนี้ได้มีความร่วมมือกับทางหน่วยงานรัฐและเอกชน รวมถึง สถาบันอุดมศึกษาเข้ามามีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนเรื่องนี้เช่นกัน จากทั้ง 2 จังหวัด ภูเก็ตและเพชรบุรี คิดว่าหลายๆเรื่องที่ได้รับฟังเราก็สามารถนำมาขับเคลื่อนของสงขลา ตอนนี้จริงๆของสงขลาแบ่งไว้ว่า เรื่องของฐานของวัฒนธรรม เรื่องความหลากหลายทางอาหาร ประกอบกับสงขลาเป้นเมืองใหญ่และมีประชากรหลากหลายเชื้อชาติอยู่อาศัยจนทำให้เกิดเป็นพหุวัฒนธรรม และสถานที่ท่องเที่ยวที่มีความโดดเด่นไม่แพ้ที่อื่น อย่างเช่น ย่านเมืองเก่า สถานที่ธรรมาชาติ เป็นต้น เรียกได้ว่าจังหวัดสงขลา เป็นเมืองที่มีสุดเหล่านี้ครบและจุดเด่นแต่ละอย่างมีความแตกต่างกันออกไป รวมถึงด้านอาหาร หลายๆคนได้ทราบกันดีว่าอาหารของสงขลามีความผสมสานที่ลงตัว อย่างเช่น อาหารพื้นบ้าน อาหารพื้นเมือง การขับเคลื่อนสงขลาเมืองสร้างสรรค์ทางด้านอาหาร เป็นเรื่องที่ค่อนข้างใหม่และเป็นการเปิดประสบการณ์ที่ดีของจังหวัดสงขลา ตลอดจนการต่อยอดกิจกรรมต่างๆ เราจึงได้เปิดโอกาสให้ภาครัฐและภาคเอกชนเข้ามามีส่วนร่วมในการขับเคลื่อน พร้อมทั้งสถานที่ศึกษา อุดมศึกษา มหาวิทยาลัยในจังหวัดสงขลาเข้ามามีส่วนขับเคลื่อนและพัฒนา ตลอดจนสร้างกับรับรู้ให้กับประชาชนในพื้นที่ได้ทราบถึงข้อมูลและจุดประสงค์ในเรื่องนี้อีกด้วย

ทั้งนี้ ภายในงานมีกิจกรรมต่างๆ อาทิ การบรรยายเพื่อสร้างการรับรู้ การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์ระหว่างสมาชิกเครือข่ายเมืองสร้างสรรค์ด้านอาหารของยูเนสโกทั้งในและต่างประเทศ การจำหน่ายสินค้าจากร้านอาหาร การสาธิตและฝึกอบรมการทำอาหารเมนูต่างๆ จากชุมชน ตลอดจนการจัดนิทรรศการ Gastronomy สงขลา

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *