องค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน) หรือ อพท. ร่วมกับภาคีเครือข่ายจัดกิจกรรมสร้างการรับรู้และความเข้าใจต่อแนวคิดและแนวทางการขับเคลื่อนเครือข่ายเมืองสร้างสรรค์ของยูเนสโก Thailand Creative Cities Network:TCCN 2023 ภายใต้แนวคิด “Sustainable City Revival” ขับเคลื่อนเมืองสร้างสรรค์ของยูเนสโก โดยมีนาวาอากาศเอก อธิคุณ คงมี ผู้อำนวยการองค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่เพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน นายวันชัย ปริญญาศิริ นายกเทศมนตรีนครสงขลา นายไพเจน มากสุวรรณ นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดสงขลา นายณัฏฐชัย นำพูลสุขสันติ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดเพชรบุรี พร้อมด้วยผู้แทนหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน ภาควิชาการ และภาคีเครือข่ายเข้าร่วมกิจกรรม ณ ห้องมรดกโลก โรงสีแดง หับ โห้ หิ้น ย่านเมืองเก่าสงขลา จังหวัดสงขลา
นาวาอากาศเอก อธิคุณ คงมี ผู้อำนวยการองค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่เพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน กล่าวว่า อพท. มีภารกิจสำคัญในการบริหารและพัฒนาพื้นที่เพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน ประสาน ส่งเสริม และสนับสนุนการบริหารจัดการเพื่อบูรณาการการพัฒนาการท่องเที่ยว อย่างยั่งยืนของประเทศ และยกระดับเมืองในพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนที่มีคุณภาพ พร้อมขับเคลื่อนและพัฒนาเมืองที่มีศักยภาพเข้าสู่การเป็นสมาชิกเครือข่ายเมืองสร้างสรรค์ขององค์การยูเนสโก (The UNESCO Creative Cities Network) โดยมีเป้าหมายเพื่อการ สร้างความร่วมมือระหว่างท้องถิ่น ส่งเสริมการพัฒนาไปสู่ระดับนานาชาติ สร้างวัฒนธรรม และการพัฒนาอย่างยั่งยืน โดยความร่วมมือจาก ภาครัฐ ภาคเอกชน สถาบันการศึกษา และ ภาคประชาสังคม ทำให้เห็นคุณค่าของวัฒนธรรมและอุตสาหกรรมเชิงสร้างสรรค์ที่มีต่อการ พัฒนานโยบายในระดับท้องถิ่นผ่าน เพื่อบรรลุเป้าหมายด้วยกระบวนการร่วมคิด ร่วม วางแผน ร่วมปฏิบัติ ร่วมรับผิดชอบ และร่วมรับผลประโยชน์ ที่ ใช้เป็นเครื่องมือต่อการพัฒนาให้เกิดการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนสู่ชุมชนโดยตรง
อพท. เริ่มขับเคลื่อนและเตรียมความพร้อมของเมืองในพื้นที่พิเศษ ได้แก่ สุโขทัย น่าน เพชรบุรี และสุพรรณบุรี เพื่อก้าวสู่การเป็นสมาชิกเครือข่ายเมืองสร้างสรรค์ของ องค์การยูเนสโก / ในปี ๒๕๖๒ จังหวัดสุโขทัย ได้รับเลือกเป็นสมาชิกเครือข่ายเมือง สร้างสรรค์ฯ ด้านหัตถกรรมและศิลปะพื้นบ้าน / และในปี ๒๕๖๔ จังหวัดเพชรบุรี ได้รับเลือก เป็นสมาชิกเครือข่ายเมืองสร้างสรรค์ฯ ด้านอาหาร ซึ่งล่าสุด ในปี ๒๕๖๖ มี ๒ เมือง ที่ได้รับการพิจารณาเป็นตัวแทนประเทศไทยเสนอชื่อ ไปยังยูเนสโก เพื่อพิจารณาเป็นเครือข่ายเมืองสร้างสรรค์ ได้แก่ จังหวัดเชียงราย เครือข่าย เมืองสร้างสรรค์ของยูเนสโกด้านการออกแบบ และ จังหวัดสุพรรณบุรี เครือข่ายเมือง สร้างสรรค์ของยูเนสโกด้านดนตรี สำหรับกิจกรรมขับเคลื่อนเมืองสร้างสรรค์เพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (Thailand Creative Cities Network : TCCN) มีจุดมุ่งหมายเพื่อสร้างการรับรู้และตระหนักถึง ประโยชน์ต่อการขับเคลื่อนเมืองสร้างสรรค์ขององค์การยูเนสโก แก่เมืองเป้าหมายในประเทศไทย
นายวันชัย ปริญญาศิริ นายกเทศมนตรีนครสงขลา กล่าวว่า จังหวัดสงขลา เป็นเมืองใหญ่และมีประชากรหลากหลายเชื้อชาติอยู่อาศัยจนกลายเป็นพหุ วัฒนธรรม อีกทั้งมีสถานที่ท่องเที่ยวที่มีความโดดเด่น รวมถึงอาหารพื้นถิ่นที่มีการผสมสานอย่างลงตัว จนนำไปสู่การขับเคลื่อนสงขลาสู่การเป็นเครือข่ายเมืองสร้างสรรค์ของยูเนสโกทางด้านอาหาร มีศักยภาพและความโดดเด่นที่หลากหลาย และมีต้นทุนในการพัฒนาเมือง เพื่อขับเคลื่อนเมืองไปสู่การเป็นสมาชิกเครือข่ายเมืองสร้างสรรค์ยูเนสโก
นอกจากนี้สงขลายังเป็นเมืองที่มีความโดดเด่นหนึ่งเดียวในประเทศ คือเป็นเมือง 2 ทะเล มีทั้ง ทะเลสาบสงขลา 3 น้ำ คือ น้ำจืด น้ำกร่อย น้ำเค็ม และทะเลฝั่งอ่าวไทย มีระบบนิเวศแบบโหนด-นา- เล คือ ต้นตาล ท้องนา และทะเล เป็นเมืองอู่ข้าวอู่น้ำ ก่อให้เกิดวัตถุดิบในการทำอาหารที่หลากหลาย ทั้งทางบกและทางน้ำ ซึ่งวัตถุดิบหลายชนิดพบได้เฉพาะที่ลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลาเท่านั้น จนนำมาสู่ วัฒนธรรมการปรุงอาหาร ให้กลายเป็นอัตลักษณ์เฉพาะของเมืองสงขลาจนถึงปัจจุบัน โดยกิจกรรมในวันนี้เป็นการเปิดประสบการณ์ที่ดีในการนำไปสู่การต่อยอดกิจกรรมต่างๆ ซึ่งจะต้องอาศัยความร่วมมือทุกภาคส่วน ตั้งแต่ระดับภาคีเครือข่ายภาครัฐ ภาคเอกชน ภาควิชาการ และภาคประชาชนของเมืองสงขลา ให้เกิดการรับรู้และเข้ามามีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนการพัฒนาเมืองสู่ความอย่าง ยั่งยืนในอนาคต
ทั้งนี้ศูนย์กิจการนานาชาติและสื่อสารองค์กร มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ได้ร่วมกิจกรรม Ignite Pitch กรณีศึกษาโครงการสร้างสรรค์โดดเด่น นำเสนอผลงานโครงการ PSU Bazaar On Ground : “Music Food fest @PSU in the garden” โดยผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ธีรศักดิ์ จินดาบถ ผู้อำนวยการศูนย์กิจการนานาชาติและสื่อสารองค์กร พร้อมคว้ารางวัล Best initiative 2023: Creative Public Space Transformation โครงการริเริ่มสร้างสรรค์โด่ดเด่น ด้านการฟื้นสร้างพื้นที่สาธารณะสู่พื้นที่สร้างสรรค์อีกด้วย
กิจกรรมขับเคลื่อนเมืองสร้างสรรค์ของยูเนสโก เป็นอีกหนึ่งโอกาสสำคัญที่เมือง และภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้องได้มีเวทีในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ แลกเปลี่ยนมุมมอง กับเมือง สร้างสรรค์ที่ได้รับประกาศให้เป็นสมาชิกเครือข่ายเมืองสร้างสรรค์ของยูเนสโก ซึ่งจะนำประสบการณ์การเรียนรู้ของเมืองต้นแบบ ทั้ง 5 เมือง ได้แก่ ภูเก็ต เชียงใหม่ สุโขทัย กรุงเทพมหานคร และเพชรบุรี เป็นกรณีศึกษา เพื่อมาร่วมคิด ร่วมวางแผน และร่วมกันหา แนวทางขับเคลื่อนเครือข่ายเมืองสร้างสรรค์ยูเนสโกในประเทศไทยให้มีความเข้มแข็งและ ต่อเนื่อง เพื่อเตรียมความพร้อมขับเคลื่อนและพัฒนาเมืองก้าวสู่การเป็นสมาชิกเครือข่ายเมือง สร้างสรรค์ขององค์การยูเนสโกอย่างมีประสิทธิภาพ พร้อมต่อยอดทุนวัฒนธรรม หรือ แนวคิดสร้างสรรค์ เพื่อนำไปสู่การบรรลุเป้าหมายภายใต้บริบทการเป็นสมาชิกเครือข่ายเมือง สร้างสรรค์ขององค์การยูเนสโก สู่การพัฒนาที่ยั่งยืนต่อไป